สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA มอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติปี 2566 ให้กับหม้อแปลง BCG & Low Carbon เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด โดย คุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด นำหม้อแปลง BCG & Low Carbon คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้านเศรษฐกิจ จาก รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ
นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว การได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2566 เป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุด ในฐานะตัวแทนบริษัทฯ รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในครั้งนี้ รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุด และเป็นรางวัลที่สร้างขัวญกำลังใจ แก่ทุกคนในองค์กร เพื่อที่องค์กรของเราจะพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา อีกที่รางวัลนี้ เป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้กับผลิตภัณฑ์คนไทย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม ที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรม ขึ้นในทุกภาคส่วนของไทย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม และโดยในส่วนหม้อแปลง BCG & Low Carbon ที่บริษัทฯ ได้รับรางวัลหม้อแปลงดังกล่าวเป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงาน ที่บริหารจัดการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถลดค่าไฟฟ้า 5-12% (Energy Singing) และลดคาร์บอน 5-12% (Low Carbon) ลดมลพิษ (Low Emission) พร้อมเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่ายั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ทั้งด้านการบริโภคภายในและการส่งออก รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในปีนี้แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศแบ่งประเภทตามขนาดขององค์กร ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลาง และวิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย 2) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แบ่งประเภทตามลักษณะขององค์กร ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน 3) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นผลงานนวัตกรรมที่นำการออกแบบมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ แบ่งประเภทตามลักษณะผลงาน ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบริการ 4) ด้านสื่อและการสื่อสาร เป็นผลงานนวัตกรรมและบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เนื้อหาและการสื่อสารรูปแบบใหม่ แบ่งประเภทตามลักษณะผลงาน ได้แก่ ผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร และผู้สื่อสารนวัตกรรม และ 5) ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กรอย่างโดดเด่น ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ ระดับกระบวนการ ไปจนถึงระดับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร แบ่งประเภทตามลักษณะองค์กร ได้แก่ หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
สุดท้ายนี้บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ต้องขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรที่ให้การสนับสนุนและให้องค์ความรู้แก่บริษัทฯ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ มหาวิทยาลัยพะเยา