องค์การสหประชาชาติ UN ได้มีรายงานออกมาว่า ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน แม้แต่ละประเทศจะพยายามช่วยกันลดการสร้างมลพิษ แต่ดูเหมือนอาจจะไม่สามารถหยุดวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ เนื่องจากรัฐบาลทั่วโลกล้มเหลว ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วพอ
ในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนก่อนหน้านี้ ได้มีการถกเถียงประเด็นเรื่องการงดใช้น้ำมันไปหลายครั้งแล้ว ในงานประชุมเรื่องภูมิอากาศต่าง ๆ และการใช้คำว่า “งดใช้” หรือว่าจะใช้คำว่า “ลดใช้” เชื้อเพลิงฟอสซิลก็เป็นที่ถูกเถียงกันมากมายในการประชุมประจำปี
การที่จะไปถึงเป้าหมายได้ทั่วโลกต้องเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอซซิลจำนวนมากซึ่งนั่นอาจเป็นปัญหาสำหรับประเทศผลิตน้ำมัน รายงานระบุว่ามี "กรอบเวลาที่แคบลงเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว" สำหรับที่รัฐบาลจะใช้ในการดำเนินการให้เร็วขึ้น
การการเก็บข้อมูลของนักวิจัย มีการคำนวณว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะขึ้นไปพีคสูงที่สุดภายในปี 2025 และหลังจากนั้น เราต้องพยายามจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม แม้การปล่อยก๊าซยังคงเพิ่มขึ้น ก็ยังมีช่องว่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เราควรจะลดอยู่ 20-23 กิกะตันภายในปี 2030 นี้ เพื่อที่จะสามารถจำกัดอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส (แต่เราก็ต้องเร่งนะ!)
รายงานดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะปล่อยออกมาสัปดาห์หน้า ได้รับการตีพิมพ์อย่างเร่งด่วน ร่างโดยสหประชาชาติเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จะเป็นรายงานที่มีเป็นเหมือน "การตรวจนับสต๊อกทั่วโลก" ครั้งแรกภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2015 เพื่อติดตามว่าแต่ละประเทศมีความพยายามในการบรรลุเป้าหมายของสนธิสัญญาแค่ไหน รายงานนี้ก็ไม่ได้บอกว่าประเทศไหนสำเร็จถึงไหนแล้วและประเทศไหนตามไม่ทัน แล้วก็ไม่ได้มีการแนะนำว่าประเทศไหน ภูมิภาคไหนควรแก้ไขอย่างไรเพิ่ม แต่ก็จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในงาน COP 28 ที่จะเกิดขึ้นที่ดูไบ เดือนพฤศจิกายนนี้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : theguardian.com , FB : Environman