xs
xsm
sm
md
lg

ครั้งแรกที่ได้เห็น! นักดาราศาสตร์เผยภาพดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล กำลังรวมตัวกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่นั้น การกำเนิดของดวงดาวถือได้ว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าอัศจรรย์ และเหล่านักดาราศาสตร์ต่างรอคอยที่จะให้เกิดปรากฏการณ์นี้ และในที่สุดนักดาราศาสตร์ได้จับภาพดาวเคราะห์ดวงใหม่ขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ที่กำลังรวมตัวกัน ในระบบดาวฤกษ์ V960 Monm ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสงในทิศกลุ่มดาวยูนิคอร์น และนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นภาพอันน่าทึ่งนี้

ปรากฏการณ์วัตถุเกิดใหม่ในห้วงอวกาศนี้ ได้เกิดขึ้นในระบบดาวฤกษ์ V960 Monm ดาวดวงนี้ได้รับความสนใจครั้งแรก เมื่อปี 2014 เนื่องจากได้มีความสว่างขึ้นกระทันหันกว่าปกติ 20 เท่า จากนั้นก็จางหายไปในไม่กี่เดือน ทำให้นักดาราศาสตร์งงกันว่าเกิดอะไรขึ้น งานวิจัยหลายชิ้นเชื่อว่ามันอาจดาวฤกษ์อีกดวงที่มองไม่เห็นอยู่


ล่าสุด กล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป กับระบบสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ Atacama Large Millimeter/submillimeter Array (ALMA) ได้ทำการสำรวจ และได้พบภาพที่แสดงให้เห็นว่ามันไม่ได้มีแค่ดาวฤกษ์คู่หู่เท่านั้น แต่กลับกำลังให้กำเนิดดาวเคราะห์ดวงใหม่ ที่มีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ใหญ่สุดในระบบสุริยะของเรา ก๊าซและฝุ่นที่ยื่นออกมาคล้ายแขนกังหันมีขนาดมหึมาใหญ่กว่าทั้งระบบสุริยะกำลังรวมตัวกัน

“การค้นพบภาพนี้ เป็นภาพที่น่าหลงใหลอย่างที่สุดในห้วงอวกาศ เนื่องจากเป็นการตรวจพบกระจุกดาวน้อยที่มีศักยภาพในการก่อกำเนิดดาวเคราะห์ยักษ์เป็นครั้งแรก” ..... รองศาสตราจารย์ Alice Zurlo จากมหาวิทยาลัยดิเอโกพอร์ทัลส์ ในประเทศชิลีกล่าว


ข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์ ALMA ทำให้ทีมนักดาราศาสตร์เห็นว่าเกลียวฝุ่นค่อยๆ แตกออกโดยมีทิศทางจับกันเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ พวกเขาเชื่อว่าฝุ่นเหล่านี้จะกลายเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์การกระทำของแรงโน้มถ่วงในระดับดาวเคราะห์อย่างชัดเจน

การค้นพบการกำเนิดดวงดาวนี้ทำให้นักวิจัยรู้ขั้นตอนอย่างละเอียดในการเกิดของดาวเคราะห์ที่เป็นก๊าซยักษ์ ว่ามันดำเนินไปตามแบบจำลองความไม่เสถียรของแรงโน้มถ่วง และชี้ว่าดาวเคราะห์ใหม่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีสสารจำนวนมากในวงโคจรของดาวฤกษ์อายุน้อย


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.eurekalert.or , www.livescience.com / FB : Environman


กำลังโหลดความคิดเห็น