เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (US National Oceanic and Atmospheric Administration หรือ NOAA) ได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า อุณหภูมิของน้ำทะเลที่บริเวณผิวมหาสมุทรทั่วโลกได้พุ่งสูง จนทำลายสถิติเดิมๆ และได้คงสภาพสูงเช่นนั้นมาเป็นเวลานานร่วมเดือน การมีอุณหภูมิสูงเช่นนี้ ได้ทำให้ปริมาณของภูเขาน้ำแข็งที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรทั้ง Arctic และ Antarctic มีปริมาตรน้อยลง เพราะน้ำแข็งส่วนหนึ่งของภูเขาน้ำแข็งได้ละลายกลายเป็นน้ำไป
ผลกระทบที่เกิดตามมา คือ ในทุกภาคส่วนของโลกมีคลื่นความร้อนควบคุม และกดดัน ทำให้วิถีชีวิตของสัตว์บกและสัตว์ป่าทั่วโลกเปลี่ยนแปลง
เหตุการณ์การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเล และบรรยากาศของโลกในลักษณะนี้ เป็นเรื่องที่ชาวโลกทุกคนคาดหวังว่าจะเกิด เพราะโครงการ Coupled Model Intercomparison Project Phase 6 (CMIP6) ซึ่งได้สร้างแบบจำลองของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ได้พยากรณ์ว่า ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2017-2040 อุณหภูมิของน้ำทะเลที่ผิวจะเพิ่มประมาณ 0.7 องศาเซลเซียส และสถิติที่ NOAA ได้เก็บรวบรวมมาจนถึงปีปัจจุบันก็แสดงให้เห็นว่า คำพยากรณ์ของ NOAA มีแนวโน้มว่าจะเป็นจริง
เพราะข้อมูลอุณหูมิของน้ำทะเลที่บริเวณผิวในทะเลที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 60 องศาใต้ ถึง 60 องศาเหนือ ณ วันที่ 23 เมษายน ปี 2023 นี้ มีค่าสูงสุดที่ 21.04 องศาเซลเซียส และมีอุณหูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 20.34 องศาเซลเซียส
สถิติอุณหภูมิสูงสุดของน้ำทะเลได้เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นเวลาที่โลกต้องเผชิญปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อย ในอนาคตอุณหภูมิของน้ำทะเลก็จะเพิ่มอีกมาก คือ อาจจะตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.25 องศาเซลเซียส
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ตลอดระยะเวลาที่นับตั้งแต่ได้เริ่มมีการเก็บข้อมูล บางทะเลมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรก
ตามปกติมหาสมุทรของโลก นอกจากจะทำหน้าที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำแล้ว ก็ยังมีบทบาทในการเป็นแหล่งดูดซับพลังงานความร้อนที่โลกได้รับส่วนหนึ่งด้วย และหลังจากที่เวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง มหาสมุทรก็จะมิสามารถรับพลังงานความร้อนได้อีก และเมื่อเวลานั้นมาถึง โลกก็จะต้องมีการคายและกระจายพลังงานความร้อนออกไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลกใหม่ และจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่ใครๆ ก็คาดไม่ถึง
แนวโน้มของคำพยากรณ์ในอนาคตที่ NOAA ได้ทำนายไว้ คือ คือ ในอีก 77 ปี โลกจะมีอุณหภูมิสูงเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 3 องศาเซลเซียส
แม้เราทุกคนจะรู้ว่า สภาพภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เราก็ไม่รู้สึกกังวลมาก เพราะเรามักสนใจอุณหภูมิของอากาศมากกว่าที่จะสนใจอุณหภูมิของน้ำทะเล แต่หากเรารู้ว่า สถิติอุณหภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทร Pacific เมื่อ 70 ปีก่อน มีค่าสูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลในอดีตเมื่อ 10,000 ปีก่อน ประมาณ 15 เท่า และจะเพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต นั่นหมายความว่า ชีวิตของสัตว์น้ำในทะเลอาจจะเป็นอันตราย ซึ่งถ้าเหตุการณ์ดังว่านี้เกิดขึ้นจริง ความมั่นคงทางอาหารทะเลของมนุษยชาติก็จะถูกกระทบกระเทือน
นอกจากจะมีผลกระทบทางชีววิทยา ซึ่งเกิดจากการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลมีค่าสูงแล้ว ผลกระทบทางด้านภัยพิบัติตามธรรมชาติก็ยังอาจจะเกิดตามมาได้ด้วย เพราะถ้าน้ำในมหาสมุทรมีอุณภูมิยิ่งสูง พายุไต้ฝุ่นและพายุไซโคลนที่เกิดตามมาก็จะยิ่งรุนแรง และเมื่อน้ำทะเลมีอุณหูมิสูง การระเหยของน้ำเป็นไอก็ยิ่งเกิดขึ้นในปริมาณมาก นั่นหมายความว่า อากาศเหนือทะเลจะต้องโอบอุ้มความชื้นมากขึ้น และฝนก็จะตกหนักขึ้นมากขึ้น
ผลกระทบอีกประการหนึ่งของการที่น้ำทะเลมีอุณหูมิสูง คือ เมื่อทะเลร้อน น้ำทะเลจะขยายตัว ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง จนเกาะและเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ที่ชายทะเล อาจจะถูกน้ำทะเลท่วมได้ และเมื่อใดที่น้ำทะเลไหลเข้าทดแทนน้ำจืดในแม่น้ำ ก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำเค็มทำลายผลิตผลทางการเกษตร ความมั่นคงทางอาหารของประเทศก็อาจจะทรุดคลอนได้เช่นกันด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหนือส่วนที่เป็นทะเลและมหาสมุทร จึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรสนใจ และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ได้มีคนสนใจศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อ 164 ปีก่อน โดยบุคคลคนนั้นมีชื่อว่า John Tyndall (1820–1893) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาวไอริช ที่ได้พบเป็นคนแรกว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ สามารถดูดซับความร้อนได้ จากนั้นผลงานของ John Tyndall ก็ได้รับการพัฒนาโดยนักเคมี-ฟิสิกส์ชาวสวีเดนชื่อ Svante Arrhenius (1859–1927) จนทำให้ทุกคนประจักษ์ว่า การปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก จะทำให้โลกร้อน
ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหนือส่วนที่เป็นทะเลและมหาสมุทรจึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรสนใจ และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ได้มีคนสนใจศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อ 164 ปีก่อน โดยบุคคลคนนั้นมีชื่อว่าJohn Tyndall (1820–1893) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาวไอริช ที่ได้พบเป็นคนแรกว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ สามารถดูดซับความร้อนได้ จากนั้นผลงานของJohn Tyndall ก็ได้รับการพัฒนาโดยนักเคมี-ฟิสิกส์ชาวสวีเดนชื่อSvante Arrhenius (1859–1927) จนทำให้ทุกคนประจักษ์ว่า การปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศในปริมาณมากจะทำให้โลกร้อน
คนที่เรียนวิชาเคมีทุกคนจะรู้จักสมการArrhenius
k = Ae-Ea/RT
ที่มี k บอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
(rate of reaction) ที่ใช้กันมากใน สาขาเคมีจลนศาสตร์
ซึ่งช่วยให้เรารู้อิทธิพลของอุณภูมิที่มีต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี
A คือ ค่าคงตัว
Ea คือ พลังงานกระตุ้น
ซึ่งเป็นพลังงานน้อยที่สุดที่จะทำให้ เกิดปฏิกิริยาเคมี
R คือ ค่าคงตัวสากลของแก๊ส
และ T คือ อุณหภูมิที่วัดเป็นKelvin
บางคนอาจจะรู้อีกด้วยว่า Arrhenius คือ บิดาคนหนึ่งของวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์ (physical chemistry) ผู้มีความสามารถมากมายหลายเรื่อง เช่น ในเรื่องelectrolytic dissociation, ทฤษฎีionic, บุกเบิกวิทยาการimmunochemistry และที่สำคัญคือเสนอทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่ผลงานที่ทำให้Arrhenius ได้รับรางวัลโนเบลเคมี ปี1903 คือ การเสนอทฤษฎีการแยกตัวเป็นion ของสารประกอบในของเหลว โดยได้อธิบายว่า เวลากรด ด่าง หรือเกลืออยู่ในน้ำ โมเลกุลของสารประกอบเหล่านี้จะแตกตัวเป็น ion ที่มีประจุบวก กับอนุมูลที่มีประจุลบ แล้วion ต่าง ๆ จะจับคู่กัน เกิดเป็นสารประกอบชนิดใหม่ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหนือส่วนที่เป็นทะเลและมหาสมุทร จึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรสนใจ และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ได้มีคนสนใจศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อ 164 ปีก่อน โดยบุคคลคนนั้นมีชื่อว่าJohn Tyndall (1820–1893) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาวไอริช ที่ได้พบเป็นคนแรกว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ สามารถดูดซับความร้อนได้ จากนั้นผลงานของJohn Tyndall
ก็ได้รับการพัฒนาโดยนักเคมี-ฟิสิกส์ชาวสวีเดนชื่อSvante Arrhenius (1859–1927) จนทำให้ทุกคนประจักษ์ว่า การปลfปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก จะทำให้โลกร้อน
ในหนังสือ Arrhenius: From Ionic Theory to the Greenhouse Effect ที่ Elisabeth Crawford เรียบเรียง และจัดพิมพ์โดยScience History Publications/USA เมื่อปี1996 ได้มีการกล่าวถึงแรงดลใจที่ผลักดันArrhenius ให้ได้พบปรากฏการณ์เรือนกระจกว่า ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี1894 ซึ่งเป็นวันที่ชีวิตสมรสของArrhenius กับภรรยาSofia ได้สิ้นสุดลง ความเสียใจและความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นจากสภาพชีวิตสมรสที่ล้มเหลว อาจจะทำให้คนธรรมดาทั่วไปรู้สึกแบด (bad) มีอาการซึมเศร้า และพยายามหาทางออกเพื่อเยียวยาจิตใจด้วยการออกไปเที่ยวเตร่ หรือหาเพื่อนใหม่ แต่นักเคมีอัจฉริยะ เช่น
Arrhenius กลับมุ่งมั่นทำงานหนักอย่างหามรุ่งหามค่ำ เพราะต้องการจะลืมเลือนความขมขื่น และความผิดหวังต่างๆ โดยทำงานวันละ 14 ชั่วโมง เพื่อเสนอทฤษฎีปรากฏการณ์โลกร้อนว่า เกิดจากการที่บรรยากาศของโลกมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นมากตลอดเวลา
เป็นที่น่าสังเกตว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่Arrheniusใช้ในการพยากรณ์ปรากฏการณ์โลกร้อนนี้ มีรูปแบบและวิธีคิดเหมือนๆ กับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่องค์การIntergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ใช้ในวันนี้ทุกประการ
แต่ประเด็นที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้น นั่นก็คือ ในปี1895 ที่Arrhenius เสนอทฤษฎีโลกร้อนนี้ ไม่มีใครให้ความสนใจมากเลย
Svante Arrhenius เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี 1859 ที่เมือง Vik ในสวีเดน บิดาเป็นวิศวกรสำรวจในสังกัดมหาวิทยาลัย Uppsala ในวัยเด็ก Arrhenius ชอบดูบิดาบวก ลบ เลข เวลาทำบัญชี และรู้สึกชอบคณิตศาสตร์มาก เมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าเรียนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Uppsala แล้วไปศึกษาต่อที่สถาบันฟิสิกส์ของ Swedish Academy of Sciences ที่กรุง Stockholm โดยทำวิจัยเรื่อง การนำไฟฟ้าในสารละลาย electrolyte เป็นวิทยานิพนธ์ เพื่อรับปริญญาเอก และได้คะแนนเกรด D ซึ่งไม่ดีเลยสำหรับคนที่ต้องการจะเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย แต่ในการสอบปากเปล่า เพื่อสำเร็จการศึกษา Arrhenius สามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้ดีขึ้น คะแนนจึงถูกปรับขึ้นเป็นเกรด C จะอย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเมื่อ Arrhenius ได้ทำงานเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยเรื่อง electrolyte เขาก็ได้รับรางวัลโนเบลเคมีประจำปี 1903 และเป็นชาวสวีเดนคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
ตามปกติ Arrhenius เป็นคนที่มีความมานะมุ่งมั่นมาก จึงสามารถทำงานติดต่อกันได้เป็นเวลานานวันละหลายชั่วโมงตลอดเวลาเป็นปี เพราะต้องคำนวณหาคำตอบจากการแก้สมการอนุพันธ์ ด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ (ในสมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้) แต่ถ้าใช้ supercomputer ดังในสมัยนี้ เขาก็จะได้คำตอบภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
ในด้านอุปนิสัยส่วนตัว Arrhenius เป็นคนดื้อที่พูดอะไรตรง ๆ จนอาจทำให้คนข้างเคียงรู้สึกสะเทือนใจในบางครั้ง ดังนั้นเขาจึงมีคนที่ไม่ชอบบ้างขณะทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย
คำถามหนึ่งที่นักอุตุนิยมวิทยาในสมัยนั้นสนใจใคร่จะรู้คำตอบมาก คือ เมื่อเกิดยุคน้ำแข็ง (Ice Age) อุณหภูมิของบรรยากาศโลกน่าจะมีค่ามากหรือน้อยเพียงใด
ผลการคำนวณของ Arrhenius ได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกลดลงจาก 1/2 เป็น 1/3 ของปริมาณเดิม อุณหภูมิของโลกจะเย็นลง 4 ถึง 5 องศาเซลเซียส ซึ่งก็นับว่ามากเพียงพอที่จะทำให้บริเวณทางตอนเหนือของยุโรปมีน้ำแข็งปกคลุมเต็มไปหมด
การขุดเจาะพื้นทวีป Antarctic ในอีก 100 ปีต่อมา เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในฟองอากาศที่แฝงอยู่ในน้ำแข็ง ได้ตัวเลขที่สอดคล้องกับผลการคำนวณของ Arrhenius แต่ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเท่าตัว Arrhenius ก็ได้พบว่า อุณหภูมิของอากาศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 5 ถึง 6 องศาเซลเซียส
การอ่านเอกสารที่ Arrhenius แสดงวิธีคำนวณสำหรับเรื่องนี้ ทำให้เรารู้ว่า Arrhenius ใช้วิธีการในรูปแบบเดียวกันกับที่นักอุตุนิยมวิทยาปัจจุบันใช้ทุกประการ คือ ใช้สมการการนำความร้อนที่คิดขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean-Baptiste Joseph Fourier (1768–1830) แล้วกำหนดให้ตัวกลางเป็นแก๊สที่มีคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำในปริมาณมากกว่าปกติ จากนั้นก็ใช้หลักการว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะปล่อยให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ผ่านตรงสู่ผิวโลก ซึ่งจะเปลี่ยนพลังงานแสงนี้เป็นรังสีอินฟราเรดให้สะท้อนกลับออกไปสู่บรรยากาศโลก ทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ในการศึกษาเหตุการณ์นี้ Arrhenius ได้พบว่า อุณหภูมิของบรรยากาศโลกจะขึ้นสูงเพียงใดก็ขึ้นกับว่าผิวโลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ น้ำแข็ง หรือทะเล และในบรรยากาศเอง มีเมฆมากหรือน้อยเพียงใดด้วย
เมื่อมีเหตุผลทางฟิสิกส์เพียงพอแล้ว Arrhenius ก็ได้นำสมการของ Fourier มาปรับใช้ในบริเวณส่วนต่าง ๆ ของผิวโลก โดยได้แบ่งพื้นที่ต่าง ๆ ของผิวโลกออกเป็นตารางเล็ก ๆ แล้วพิจารณาการดูดกลืนแสงอาทิตย์ และการสะท้อนแสงในอากาศเหนือบริเวณที่อยู่ ณ ตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวงต่างๆ ในแต่ละฤดู ตลอดจนได้พิจารณาการถ่ายเทความร้อนระหว่างบริเวณที่อยู่ติดกันด้วย เพื่อคำนวณอุณหภูมิของอากาศในแต่ละสถานที่ ในแต่ละเดือน
Arrhenius ได้ตีพิมพ์ผลงานนี้ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “On the Influence of Carbonic Acid in the Air upon the Temperature of the Ground” (อิทธิพลของกรดคาร์บอนิกในอากาศต่ออุณหภูมิของพื้นดิน) ในวารสาร Stockholm Physical Society เมื่อปี 1895 โดยมีผลสรุปว่า ถ้าปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่ม อุณหภูมิในอากาศก็จะเพิ่มด้วย แล้วภาวะโลกร้อนจะรุนแรงในบริเวณที่เป็นเขตร้อน
เมื่อถึง 1900 Arrhenius ได้ร่วมมือการนักวิทยาศาสตร์ชื่อสวีเดนคนอื่น ๆ ในการจัดตั้งสถาบันโนเบล (Nobel Institutes) ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกคนที่เหมาะสมจะได้รับรางวัลโนเบล และ Arrhenius เอง ได้ใช้อิทธิพลส่วนตัวในการช่วยให้เพื่อนชื่อ Jacobus Henricus van 't Hoff (1852–1911), Wilhelm Ostwald (1853–1932) และ Theodore W. Richards (1868-1928) ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1901, 1909 และ 1914 ตามลำดับ รวมทั้งได้ขัดขวางศัตรูที่ชื่อ Paul Ehrlich (1854–1915), Walther Hermann Nernst (1864–1941) และ Dmitri Mendeleev (1834–1907) ไม่ให้ได้รับรางวัล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะ Ehrlich กับ Nernst ได้รับในปี 1908 และ 1920 ตามลำดับ ส่วน Mendeleev ได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัล
ด้าน Arrhenius เอง หลังจากที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1903 แล้ว เขาก็ได้แต่งงานใหม่กับภรรยาชื่อ Maria ในปี 1905 และมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน รวมกับอีกหนึ่งคนจากภรรยาเดิม เป็นสองคน
Arrhenius เป็นคนใฝ่รู้ที่มีความสนใจวิทยาการหลายสาขา เช่น สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน (immunology) และบรรยากาศวิทยา โดยได้ศึกษาปรากฎการณ์แสงเหนือ (aurora borealis) และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก ๆ ของโลกที่ได้เสนอความคิดว่า สิ่งมีชีวิตบนโลก ได้ถือกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตนอกโลก (panspermia theory)
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วิธีคิดและแนวคิดของ Arrhenius ก็เริ่มเปลี่ยน จากเดิมที่เคยเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกได้หมด กลับเป็นว่า ในบางกรณีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็สร้างปัญหาใหม่ได้ Arrhenius ได้เริ่มสนใจการเมือง และมีความคิดต่อต้านองค์การที่มีความคิดว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่ควรเผยแพร่ความรู้ที่มีผลกระทบด้านลบต่อสังคม และในประเด็นการใช้พลังงานนั้น Arrhenius สนับสนุนการให้มนุษย์ใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานน้ำ เพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดในอนาคต ดังนั้น Arrhenius จึงเป้นนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคนแรกๆ ของโลก
นอกจากจะมีชื่อติดในตำราว่า ได้ตั้งสมการ Arrhenius แล้ว โลกวิชาการก็ยังมีหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ชื่อ Arrhenius และหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคารชื่อ Arrhenius ด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีภูเขา Arrheniusfjellet ที่สูง 883 เมตร ในนอร์เวย์ด้วย
Arrhenius เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปี 1927 ที่ Stockholm ในสวีเดน สิริอายุ 68 ปี
อ่านเพิ่มเติมจาก Arrhenius: From Ionic Theory to the Greenhouse Effect โดย Elisabeth Crawford จัดพิมพ์โดย Science History Publications/USA ปี 1996
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน : ประวัติการทำงาน - ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" ได้ทุกวันศุกร์