xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) NASA เริ่มทดสอบ “หุ่นยนต์งู” เพื่อการสำรวจแบบไร้ขีดจำกัดในทุกซอกทุกมุม บนดวงจันทร์น้ำแข็งของดาวเสาร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์






ด้วยการเคลื่อนไหวที่ไร้ขีดจำกัดของงู ทำให้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ NASA จึงได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจและค้นหาสิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายงูที่มีชื่อว่า Exobiology Extant Life Surveyor (EELS) ซึ่งภารกิจหลักของหุ่นยนต์ตัวนี้ จะมีหน้าที่เดินทางไปสำรวจ “ดวงจันทร์เอนเซลาดัส” ดาวบริวารของดาวเสาร์ หนึ่งในดวงจันทร์ของระบบสุริยะจักรวาลที่น่าสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่งในการค้นหารูปแบบของสิ่งมีชีวิตนอกโลก


EELS
ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2019 เพื่อที่จะสามารถแทรกตัวเข้าไปในรอยแยกของดวงจันทร์เอนเซลาดัสและสามารถเคลื่อนที่ไปจนถึงน้ำของเหลวใต้พื้นผิวดาว หุ่นยนต์จะติดตั้งระบบขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพยังต้องติดตั้งอุปกรณ์ยึดจับและใบพัดสำหรับการเคลื่อนที่ใต้น้ำ รวมไปถึงระบบการติดต่อสื่อสารกับยานที่จอดบนผิวดาวและส่งข้อมูลการสำรวจกลับมายังโลก


ในปัจจุบันยานสำรวจส่วนใหญ่ของ NASA เกือบทั้งหมดจะมีล้อเป็นส่วนประกอบในการเคลื่อนไปสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์ ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องภูมิประเทศบนดวงดาวที่ไปสำรวจ

หุ่นยนต์งู EELS
รุ่น 1.0 มีความยาวประมาณ 4 เมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม มีกล้องเพื่อการสำรวจ 4 คู่ โดยได้เริ่มมีการนำมาทดสอบในภูมิประเทศจริง เช่น บนหิมะ หรือหน้าผาน้ำแข็ง ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกันกับภูมิประเทศของดวงจันทร์เอนเซลาดัส ลักษณะเด่นของหุ่นยนต์คือ มีความโดดเด่นในการคำนวณความเสี่ยงรอบๆ จากข้อมูลที่รวบรวมมาโดยใช้กล้องและเซนเซอร์ต่างๆ หุ่นจะสามารถสร้างแผนที่ 3 มิติของสิ่งแวดล้อมจากนั้นตัดสินเองว่ามันจะต้องทำยังไงเพื่อให้ผ่านไป โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากโลก


ปรัชญาของการสร้างหุ่นยนต์งูนี้คือ ต้องสร้างให้เร็ว ทดสอบให้บ่อย เรียนรู้ ปรับเปลี่ยน และทำซ้ำ นับตั้งแต่เริ่มพัฒนาขึ้นมา NASA ได้ปรับปรุงมันอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายเพื่อให้รองรับกับภูมิประเทศของดวงจันทร์เอนเซลาดัส โดยมีเป้าหมายให้หุ่นยนต์มีความพร้อมในปี 2024 ซึ่งมันจะช่วยไขความลับว่ามีชีวิตอยู่บนนั้นหรือไม่ เพราะทีมนักดาราศาสตร์ได้จัดการประชุม Enceladus Focus Group Conference และประกาศว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัส เป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่รู้จักมา



ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : JPL NASA / wikipedia / FB - Environman


กำลังโหลดความคิดเห็น