ร่องลึกอาทากามา (Atacama Trench) เป็นหนึ่งในล่องลึกในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีความลึกเป็นอย่างมาก โดยมีเป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ซึ่งใครหลายคนมีความคิดว่า ส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรจะปลอดภัยจากมลพิษที่มีอยู่มากมายบนโลกของเราในปัจจุบัน
นั้นก็เป็นความคิดที่ผิด เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้มีการสำรวจและตรวจพบสารมลพิษที่ก้นทะเล บริเวณร่องลึกอาทากามา ซึ่งเป็นหนึ่งในร่องลึกมหาสมุทรที่ลึกที่สุดของโลก ในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก ที่ตั้งอยู่ใลก้กับชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ การค้นพบสารพิษในครั้งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เผยข้อมูลว่า ไม่มีสถานที่ใดบนโลกปลอดมลพิษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่มนุษย์สร้างขึ้น พร้อมกับบอกว่ามลพิษเหล่านี้จะไม่หายไปไหน
การค้นพบในครั้งนี้ ได้รายงานใน วารสาร Nature Communications โดย มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งได้วิเคราะห์ตัวอย่างตะกอนจากระดับความลึกต่างๆ ในร่องลึกนี้ โดยจุดที่ลึกที่สุดคือ 8,085 เมตร และพวกเขาก็พบสาร PCB
ในเรื่องของ สาร PCB หรือ โพลีคลอริเนเต็ดไบฟีนิล (Polychlorinated Biphenyls) เป็นสารที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงปี 1930 ถึง 1970 ซึ่งใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ หรือสวิตช์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นน้ำยาขัดเงา กาว สารกันร่วมซึม และพลาสติกด้วยเช่นกัน
ในความวิตกกังวลในการค้นพบนี้ ข้อมูลของสารชนิดนี้เป็นสารที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยากและใช้เวลาหลายสิบปี PCB จึงสามารถกระจายไปได้ไกลผ่านกระแสน้ำในมหาสมุทร ลม แม่น้ำ และข้อมูลล่าสุด หนึ่งในพื้นที่ที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกก็ไม่รอดจากสารชนิดนี้
แม้ในปัจจุบันจะยังตรวจพบในระดับปนเปื้อนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบนพื้นดิน แต่ประเด็นคือ แม้แต่ที่ลึกขนาดนี้ยังมีมลพิษ และมันยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากสารเคมีที่เราใช้กันมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : Nature.com / Environman / wikipedia