xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ เปลี่ยน "สาหร่าย" เป็นแบตเตอรี่ให้พลังงานไฟฟ้าได้นานถึง 6 เดือน ด้วยกลไกสังเคราะห์แสง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นับเป็นอีกหนึ่งความหวังในการผลิตพลังงานสะอาด ที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง เมื่อ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ได้ทำการวิจัยเรื่องพลังงานทางเลือกและได้ประดิษฐ์นวัตกรรมแบตเตอรี่ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าจากสาหร่าย ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใชงานได้นานถึง 6 เดือน

นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า สาหร่ายที่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแบตเตอรี่นั้น มีชื่อว่า ซินนิโคซิสทิส (Synechocystis) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ในการสร้างเซลล์พลังงานไฟฟ้า โดยนำสาหร่ายบรรจุลงในอุปกรณ์ที่ขนาดเท่าถ่านไฟฟ้า AA ซึ่งภายในจะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าแอโนดและแคโทดเช่นเดียวกับเซลล์พลังงานของแบตเตอรี่


ในเรื่องวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น ทางนักวิทยาศาสตร์ใช้กลไกสังเคราะห์แสง ทันทีที่อุปกรณ์บรรจุสาหร่ายสัมผัสกับแสง สาหร่ายจะเริ่มทำสร้างปฏิกิริยาชีวเคมีต่างๆ โดยมีผลพลอยได้ คือ การเคลื่อนที่ไปมาของอิเล็กตรอน ซึ่งอิเล็กตรอนที่เกิดการเคลื่อนที่จะขั้วแคโทดไปยังขั้วแอโนด กลไกนี้ทำให้เกิดการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับกลไกการสร้างพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่


และในเรื่องการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลากลางคืน หรือในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง จากการทดลองพบว่าแม้อยู่ในที่ที่ไม่มีแสง สาหร่ายยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้เช่นกัน เนื่องจากพวกมันจะใช้สารอาหารที่ผลิตขึ้นได้ในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์แสงมาเป็นตัวขับเคลื่อนปฏิกิริยาชีวเคมีต่อไป


การทดลองนำสาหร่ายมาเป็นทางเลือกในการผลิตพลังงาน สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนั้นยังพลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณไม่มากนัก แต่ก็มากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก สามารถใช้ได้


อนาคตข้างหน้านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายในปี 2035 จะมีอุปกรณ์ IoTs หันมาใช้เซลล์พลังงานจากสาหร่ายมากขึ้น และอาจจะพัฒนาให้สามารถผลิตพลังงานได้มากพอที่จะนำมาใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ขึ้นอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
University of Cambridge Ccam.ac.uk / TNN Tech


กำลังโหลดความคิดเห็น