xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ ออสซี่ พบเชื้อรากินพลาสติกเร็วที่สุดในโลก 2 ชนิด ใช้เวลา 140 วัน กลายเป็นความหวังใหม่ในการกำจัดขยะพลาสติก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย ได้ทำการพบเชื้อรา 2 ชนิด ที่มีชื่อว่า แอสเปอร์จิลลัส เทอร์รีอุส (Aspergillus terreus) และ เอ็นเกียวดอนเทียม อัลบั้ม (Engyodontium album) โดยเชื้อราทั้งสองชนิดนี้สามารถกินพลาสติกได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 140 วัน ซึ่งจากการเก็บข้อมูลทำให้เชื้อราทั้งสองชนิดนี้ กลายเป็นเชื้อราที่กินพลาสติกเร็วที่สุดในโลก

การเก็บข้อมูลในห้องทดลองนั้น ได้ข้อมูลจากการสังเกตว่า เชื้อราทั้ง 2 ชนิดสามารถย่อยพลาสติก โพรพิลีน (PP) ที่ใช้ในการผลิตขวด เส้นใยสังเคราะห์ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ ซึ่งในระยะเวลา 90 วัน สามารถย่อยพลาสติกได้ 25-27% และเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 140 วัน พลาสติกก็หายไปจนหมด และเชื้อราเหล่านี้ก็สามารถพบได้ไม่ยาก เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือในพื้นที่ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต

Aspergillus terreus
และจากข้อมูลก่อนหน้านี้ ในการกำจัดขยะพลาสติกด้วยเชื้อรา ทำให้อัตราการการย่อยสลายของเชื้อราสองชนิดนี้ เร็วที่สุดเท่าในรายงานที่เรารู้จักของโลก ซึ่งนี้เป็นสถิติใหม่ของเชื้อรา แต่การย่อยสลายเร็วที่สุดนั้นเป็นของแบคทีเรียที่สามาถย่อยพลาสติก PET ได้ถึง 90% ภายใน 16 ชั่วโมง และทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย จึงกลายมาเป็นความหวังใหม่ในการกำจัดขยะพลาสติก ท่ามกลางวิกฤตขยะที่เกิดขึ้น ซึ่งจนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีจุลินทรีย์แล้วกว่า 400 ชนิดที่สลายพลาสติกได้

ในเรื่องของระดับโมเลกุลเคมี พลาสติกเคมีสายของอะตอมคาร์บอนเส้นยาวที่มีส่วนประกอบแตกต่างกันไปซึ่งกลายเป็นพลาสติกแต่ละประเภท การรีไซเคิลควรเป็นอะไรง่ายๆ อย่างเช่นจับโมเลกุลแยกออกมาแล้วประกอบเข้าไปใหม่ แต่ปัญหาก็คือพวกมันถูกปนเปื้อนด้วยขยะอื่นๆ จากการไม่แยกขยะ จึงเป็นไปไม่ได้ที่รีไซเคิลมันเพราะโมเลกุลต่างกันก็ใช้วิธีการที่ต่างกัน แต่สำหรับจุลินทรีย์แล้ว พวกมันแยกโมเลกุลกันเป็นเรื่องปกติ

Engyodontium album
การทดลองได้แสดงให้เห็นว่า เชื้อราทั้งสองชนิดร่วมมือกันย่อยสลายแผ่นพลาสติกที่ปนเปื้อนได้ จากแผ่นเรียบๆ กลายเป็นรูพรุน แต่มันทำได้ยังไงนั้นทีมวิจัยก็ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ในอนาคตยังคงต้องวิจัยต่อไป เพื่อที่จะเป็นทางเลือกในการเป็นสิ่งช่วยย่อยสลายขยะพลาสติกในระดับอุตสาหกรรม ในปัจจุบันนี้เชื้อราที่พบยังมาแทนการลดขยะพลาสติกไม่ได้ในทันที

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
ABC News / Environman


กำลังโหลดความคิดเห็น