แวดวงดาราศาสตร์ได้มีการหาคำตอบได้แล้วว่า แกนกลางของดาวอังคารมีลักษณะเป็นอย่างไร ด้วยการใช้ประสิทธิภาพของในการเก็บข้อมูลจากยาน InSight ของ NASA ในการสำรวจ 4 ปี จึงสามารถหาคำตอบได้แล้ว แกนกลางดาวอังคารเป็นอย่างไร และยังเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ช่วยตอบคำถามว่าเหตุใดดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกของเรานั้น จึงเป็นดาวฝุ่นสีแดงที่ไม่มีสนามแม่เหล็ก
การเก็บข้อมูลของยาน Insight สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวที่อยู่อีกฝากดาวอังคาร และการเฝ้าติดตามคลื่นแผ่นดินไหว Marsquakes หลายครั้ง รวมถึงการเกิดครั้งใหญ่เมื่อปี 2021 ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและบอกได้ว่าแกนกลางของดาวอังคารได้ว่าเป็นอย่างไร
โดยแกนกลางของดาวอังคารนั้น เล็กกว่าโลกมีรัศมีประมาณ 1,780 ถึง 1,810 กิโลเมตร ก้อนแกนกางมีลัษณะอ่อนนุ่มและหนาแน่นน้อยกว่า รวมถึงมีองค์ประกอบของธาตุที่เบากว่าแกนโลก และมี กำมะถัน ประมาณ 1 ใน 5 ของของน้ำหนักทั้งหมด และมีออกซิเจน คาร์บอน กับไฮโดรเจนอีกเล็กน้อย ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก คาดการว่ามีลักษณะที่หนาแน่นน้อยกว่า ดูนุ่มนิ่ม และถูกบีบอัดได้มากกว่าแกนโลก สิ่งนี้มีผลต่อสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ดวงนี้
เมื่อเทียบกับโลก ซึ่งมีแกนกลางเป็นของลูกเหล็กแข็งหนาแน่นล้อมรอบด้วยแกนนอกที่เป็นของเหลว จึงช่วยกันไม่ให้ชั้นบรรยากาศรั่วไหลออกจากดวงดาว และปกป้องพายุสุริยะและรังสีอันตรายจากชั้นบรรยากาศ แต่ดาวอังคารกลับไม่มีสิ่งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ได้รู้ว่า เหตุใดดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกของเรานั้น จึงเป็นดาวฝุ่นสีแดงที่ไม่มีสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้มานี้ ทำให้เหล่านักดาราศาสตร์เข้าใจวิวัฒนาการของดาวอังคารมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : NASA / Environman / eurekalert.org. / sciencenews.org