xs
xsm
sm
md
lg

“วันสงกรานต์” คือวันที่โลกสิ้นสุดและเริ่มต้นการโคจร รอบดวงอาทิตย์ใหม่อีกครั้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เรารู้ว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 365 วัน แต่หลายคนไม่รู้ว่าวันไหนคือวันที่โลกของเราโคจรมาถึงจุดสิ้นสุดและเริ่มการโคจรรอบใหม่อีกครั้ง ผู้คนในยุคโบราณจึงได้ใช้การสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้า นำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดวันและปี ซึ่งในประเทศไทยก็เช่นกัน ที่ได้นำปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาใช้คำนวณฤกษ์งามยามดี และยังใช้กำหนดวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือที่เรียกกันว่า “วันสงกรานต์” อีกด้วย
 


Science MGROnline จึงขออธิบายว่าทำไม “วันสงกรานต์” คือวันที่โลกสิ้นสุดและเริ่มต้นการโคจร รอบดวงอาทิตย์ใหม่อีกครั้ง

เมื่อครั้งอดีต ผู้คนในสมัยโบราณจึงใช้กลุ่มดาวจักรราศีกำหนดวันและปี โดยกลุ่มดาวจักรราศีได้ถูกแบ่งออก เป็น 12 กลุ่มดาว หรือ 12 ราศี เวลาดูในท้องฟ้า จะเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีเรียงตามลำดับ จาก ทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก เริ่มตั้งแต่ 1. กลุ่มดาวแกะ (ราศีเมษ) 2. กลุ่มดาววัว (ราศีพฤษภ) 3.กลุ่มดาวคนคู่ (ราศีเมถุน) 4.กลุ่มดาวปู (ราศีกรกฎ) 5.กลุ่มดาวสิงโต (ราศีสิงห์) 6.กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี (ราศีกันย์) 7.กลุ่มดาวคันชั่ง (ราศีตุล) 8.กลุ่มดาวแมงป่อง (ราศีพิจิก) 9.กลุ่มดาวคนยิงธนู (ราศีธนู) 10.กลุ่มดาวมกร หรือ แพะทะเล (ราศีมังกร) 11.กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (ราศีกุมภ์) และ 12. กลุ่มดาวปลาคู่ (ราศีมีน) และเมื่อโลกโคจรมาอยู่จุดที่ดวงอาทิตย์มีกลุ่มดาวแกะเป็นฉากหลังอีกครั้ง ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นวงโคจรครั้งใหม่ของโลก


และในวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยของเรานั้น ตามหลักโหราศาสตร์ ถือเป็นวันที่ ดาวอาทิตย์ได้ย้ายราศีเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีที่ 1 ของ กลุ่มดาวจักรราศี จึงทำให้เราได้รู้ว่า วันก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นวันที่โลกได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบวงโคจร และในวันสงกรานต์คือวันที่โลกได้รเม่ต้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งใหม่เริ่มอีกครั้ง


คำว่า "สงกรานต์" นั้น คำนี้เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่นๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า"ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง




กำลังโหลดความคิดเห็น