xs
xsm
sm
md
lg

สกสว. และ มรภ.บุรีรัมย์ ชู ววน.ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สกสว.ร่วมหารือ มรภ.บุรีรัมย์ เตรียมขับเคลื่อน ววน. สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ชุมชนของกลุ่มเกษตรไทยบ้าน การประยุกต์ใช้ฐานทุนทรัพยากรชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ กลไกการสร้างเสริมชุมชนพึ่งพาตนเองบนฐานศิลปวัฒนธรรม สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ สกสว. ร่วมประชุม หารือนโยบายและทิศทางการสนับสนุนงบประมาณด้าน ววน. ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บุรีรัมย์) โดยมี ผศ.ดร.กระพัน ศรีงาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.พิสมัย ประชานันท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น อาจารย์ ดร.เชาวลิต สิมสวย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ นักวิจัย มรภ.บุรีรัมย์ ให้การตอนรับ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรม ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) จำนวน 3 โครง ประกอบด้วย
1. ชุดโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงในการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ชุมชนของกลุ่มเกษตรไทยบ้าน ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดย ผศ.ดร.ผกามาศ บุตรสาลี
2. ชุดโครงการ การประยุกต์ใช้ฐานทุนทรัพยากรชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้ การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดย ผศ.สุธีรา สุนทรารักษ์
3. ชุดโครงการ กลไกการสร้างเสริมชุมชนพึ่งพาตนเองบนฐานศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมทุกช่วงวัยพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดย อาจารย์ ดร.สรรเพชร เพียรจัด และคณะ

โอกาสนี้ ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง กล่าวว่า สกสว. มีพันธกิจในการจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ รวมถึงบริหารระบบงบประมาณด้าน ววน. ผ่านการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. ซึ่งแบ่งออกงบประมาณเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund-SF) ให้กับหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ทั้ง 9 แห่ง ตามแนวนโยบายระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ แผนด้าน ววน. หรือ ประเด็นเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งประเด็นที่เกิดจากความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงซึ่งสร้างผลกระทบในวงกว้าง และงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund-FF) โดยจัดสรรในรูปแบบงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามพันธกิจของหน่วยงาน ให้แก่ กระทรวง กรม มหาวิทยาลัย ทั้งในและนอกกระทรวง อว. รวม 190 หน่วยงาน ซึ่ง มรภ.บุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในจำนวนนี้

นอกจากงบประมาณ FF เพื่อดำเนินการตามพันธกิจแล้ว นักวิจัย มรภ.บุรีรัมย์ ยังสามารถ เสนอของบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ ทั้งในส่วนของการต่อยอดจากโครงการวิจัยเดิม และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยอ้างอิงตามแผนด้าน ววน. ปี 2566-70 ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ 14 แผนงานสำคัญ ตามจุดมุ่งเน้นของนโยบาย และ 25 แผนงานหลัก อาทิ การพัฒนาผู้สูงอายุในภาคชนบทและเมืองให้มีศักยภาพในการพึ่งตนเอง มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างของกา เข้าถึงการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ให้พึ่งพาตนเองได้และมีการกระจายรายได้สู่ชุมชน/ท้องถิ่นมากขึ้น การยกระดับการผลิตและการส่งออก Functional Ingredients, Functional Food, Novel Food ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง การพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงและมูลค่าสูง ตลอดจนการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่า เพิ่มรายได้ของประเทศที่ยั่งยืน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดสรรงบประมาณสำหรับแผนงาน หรือ โครงการวิจัยและนวัตกรรม ตามพันธกิจของหน่วยงานจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการ และ สร้างความเข้มแข็งให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ และ จังหวัดใกล้เคียง สู่กายกระดับเป็นสังคมสร้างสุขและสร้างรายได้ต่อไป








กำลังโหลดความคิดเห็น