xs
xsm
sm
md
lg

65 ล้านปี ผ่านมา ทำไม? “รอยตีนไดโนเสาร์” ยังคงอยู่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวการพบรอยตีนไดโนเสาร์รอยใหม่ของประเทศไทย ในพื้นที่วนอุทยานภูแฝก ตำบลภูแลนช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างความยินดีให้กับผู้คนในพื้นที่ และเหล่าคนที่ชื่นชอบเรื่องราวของไดโนเสาร์เป็นอย่างมาก


การพบรอยตีนไดโนเสาร์ครั้งใหม่นี้ มีการพบมากกว่า 10 รอย รอย กระจายตัวอยู่บนลานหินทราย วิหาร มีอายุประมาณ 140 ล้านปี โดยการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น คาดว่าน่าจะเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์ กินเนื้อขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร และยาวประมาณ 5 เมตร เนื่องจากความยาวประมาณ 21-30 เซนติเมตร และกว้าง 17-31 เซนติเมตร


แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปแล้วหลายล้านปี แต่พวกมันก็ทิ้งหลักฐานแห่งบรรพกาลเอาไว้ เช่นร่องรอยตีนที่ถูกค้นพบนี้ Science MGROnline จึงขออธิบายเหตุเผลให้ได้รู้ว่า ทำไม? รอยตีนไดโนเสาร์จึงยังคงอยู่ได้ให้เราได้ชม และให้เหล่านักบรรพชีวินวิทยาได้ศึกษาการดำรงชีวิตของพวกมันเมื่ออดีตที่ผ่านมาแล้วหลายล้านปี


“รอยตีนสัตว์” (footprint) เป็นรอยที่เกิดจากการที่สัตว์ ที่ได้เดินบนชั้นตะกอนดินขณะยังไม่แข็งตัว เมื่อตะกอนดินบริเวณนั้นแข็งตัวเป็นหิน ก็เก็บร่องรอยเหล่านี้ไว้ได้ เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ หรือแม้แต่รอยเท้าสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็สามารถมีรอยในชั้นหินได้


รอยตีนไดโนเสาร์สามารถบอกถึงพฤติกรรมการเคลื่อนที่ สรีระวิทยาของตีน อายุทางธรณีวิทยา และการกระจายทางภูมิศาสตร์ ในเมืองไทยมีการค้นพบรอยทางเดินและรอยตีนไดโนเสาร์มากมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มเดินสองขา เนื่องจากบริเวณที่หากินของไดโนเสาร์เดินสี่ขา หรือที่เรารู้จักกันคือไดโนเสาร์กินพืช ไดโนเสาร์กินเนื้อจึงต้องมายังบริเวณนี้เพื่อล่าอาหาร จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่าชั้นหินทรายในบริเวณนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมทรัพยากรธรณี / สำนักอุทยานแห่งชาติ / khoratcuesta.net


กำลังโหลดความคิดเห็น