xs
xsm
sm
md
lg

New Moon คืนจันทร์ดับที่สองหลังวันเหมายัน คือ “วันตรุษจีน”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในสมัยโบราณ ผู้คนต่างสังเกตปรากฏการณ์บนฟ้าและนำมาใช้เป็นสิ่งกำหนดความหาย เหตุการณ์ และวันสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ การขึ้น – ลงของดวงอาทิตย์ในทุกๆ ฤดูกาล หรือการสังเกตดวงดาวที่เปลี่ยนผ่านในบนท้องฟ้าในยามค่ำคืนของทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี รวมถึง ปรากฏการณ์ข้างขึ้น – ข้างแรม ของดวงจันทร์ ก็ถูกใช้เป็นสิ่งกำหนดวันสำคัญด้วยเหมือนกัน หนึ่งในนั้นก็คือ “วันตรุษจีน”

Science MGROnline
จึงขอไปทำความรู้จักปรากฏการณ์ ข้างขึ้น – ข้างแรม ของ “ดวงจันทร์” หนึ่งในปรากฏการณ์บนท้องฟ้ายามค่ำคืน ที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลอาจจะพร้อมๆ กับการก่อกำเนิดโลก และยังคงอยู่ให้ได้เห็นจนถึงปัจจุบัน


“วันตรุษจีน” เป็นที่รู้จักในชื่อ "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินทินจีน แม้จะไม่สามารถหาต้นตอได้ว่ามีจุดเริ่มต้นในยุคสมัยใด แต่ก็มีความเชื่อกันว่าชาวจีนได้ยึดถือประเพณีนี้กันมากว่า 4,000 ปีแล้ว โดยใช้ “ดวงจันทร์” เป็นสิ่งกำหนดวันสำคัญนี้ โดยถือเอาวัน “จันทร์ดับ” หรือ แรม 15 ค่ำ ครั้งที่ 2 หลัง “วันเหมายัน” กำหนดเป็นวันตรุษจีนของทุกๆ ปี

ในวันปีใหม่จีนนี้ ถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูหนาวและการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ชาวจีนทุกคนให้ความสำคัญกับวันนี้อย่างมาก โดยจะมีการหยุดงานเป็นเวลายาว เดินทางกลับบ้านไปพบกับครอบครัว และนิยมสักการะเทพเจ้าและบรรพบุรุษเพื่อขอพรให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงาม


ในเรื่อง ข้างขึ้น – ข้างแรม ของดวงจันทร์ เป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่มีมาตั้งแต่โบราณ เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ไม่มีแสงในตัวเอง ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ - โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากจันทร์เสี้ยว ไปถึงเต็มดวง และ จากเต็มดวง ก็จะค่อยลดความสว่างลงจนไร้แสงสว่าง ซึ่งเรียก “จันทร์ดับ” ปรากฏการณ์นี้ใช้ประมาณ 30 วัน


“จันทร์ดับ” หรือ เดือนดับ , อมาวสี , New Moon เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จึงหันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์ มักเกิดในวันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ (บางครั้งเกิดในข้างขึ้นอ่อนๆ เพราะปฏิทินจันทรคติคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า) ในทางดาราศาสตร์ปรากฏการณ์นี้มักถูกเรียกอีกอย่างว่า “ตำแหน่งโคจรคู่ตรงข้าม”


สำหรับ “วันเหมายัน” นั้น คือวันที่มีเวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี โดยเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ซึ่งในปีก่อน 2565 วันเหมายัน เป็นวันแรม 14 ค่ำ วันตรุษจีนในปี 2566 นี้ คือวันที่ 22 มกราคม ซึ่งตามปฏิทินสากลถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วคือ วันจันทร์ดับที่ 2 หลังเหมายัน ตามปฏิทินจันทรคติอ้างอิงซึ่งคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า

ช่วงเวลากลางคืนที่ยาวนานที่สุดในรอบปี 13 ชั่วโมง 21 นาที 22 ธันวาคมนี้ "วันเหมายัน" อ่าน  https://mgronline.com/science/detail/9650000120392


กำลังโหลดความคิดเห็น