xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก "ความกดอากาศสูง" ที่มาของความหนาวในช่วงนี้ จนต้องโพสต์รูปอุณภูมิลดลง อวดกันสนั่นโซเชียล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วงสัปดาห์นี้ กรมอุตุนิยมวิทยาเผยได้มีการเผยว่า ทั่วทุกภาคของประเทศไทย อุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส จากอิทธิพลของบริเวณ “ความกดอากาศสูง” หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง ทำให้ช่วงนี้ในโลกโซเชียลได้มีการแชร์ตัวเลขอุณหภูมิที่ลดลงกันอย่างคึกคัก เพื่อยินดีกับการมาของมวลอากาศเย็นในช่วงก่อนสิ้นปีเก่า 2565 นี้


Science MGROnline จึงขอไปทำความรู้จัก "ความกดอากาศสูง" ที่มาของความหนาวในช่วงนี้กัน


ข้อมูลอ้างอิงข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้อธิบายไว้ว่า “ความกดอากาศ” หรือ “มวลอากาศเย็น” คือ น้ำหนักของอากาศที่กดทับลงมาบนพื้นผิวโลก ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีลักษณะเป็น column ตั้งแต่เขตสูงสุดของบรรยากาศลงมาถึงผิวโลก ณ จุดนั้นอาจกล่าวได้ว่าความกดอากาศ คือ แรงที่กระทำบนพื้นที่หนึ่งหน่วยนั่นเอง

ในปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยานิยมใช้ "มิลลิบาร์" เป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดความกดอากาศ ทั้งนี้ 1 มิลลิบาร์ เท่ากับแรงกด 100 นิวตัน/พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยที่แรง 1 นิวตัน คือ แรงที่ใช้ในการเคลื่อนมวล 1 กิโลกรัม ให้เกิดความเร่ง 1 เมตร/วินาที2

ในแผนที่อากาศและเนื่องจากอากาศเย็นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมวิทยาจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ ส่วนอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่จะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์


นอกจากอักษร H และ L แล้ว บนแผนที่อุตุนิยมวิทยายังมีเส้นที่เรียกว่า "ไอโซบาร์" ซึ่งเป็นเส้นลากแสดงบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากันด้วย หากเส้นไอโซบาร์อยู่ชิดกัน แสดงว่าความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันมาก ในทางกลับกัน หากเส้นไอโซบาร์อยู่ห่างกัน แสดงว่าบริเวณนั้นมีความกดอากาศแตกต่างกันไม่มาก


ความแตกต่างของความกดอากาศมีผลกับลมด้วย เพราะอากาศในที่ร้อนจะยกตัวขึ้นให้อากาศจากที่เย็นเคลื่อนเข้ามาแทนที่ จึงกล่าวได้ว่าอากาศจะเคลื่อนจากบริเวณความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ซึ่งการเคลื่อนตัวในแนวราบลักษณะนี้เรียกว่า "ลม" นั่นเอง และถ้าอากาศเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดที่มีความกดอากาศแตกต่างกันมากๆ ก็จะทำให้เกิดลมพัดด้วยความเร็วสูง เป็นลมพายุ ซึ่งเราแบ่งประเภทลมพายุโดยใช้ความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางเป็นเกณฑ์


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา


กำลังโหลดความคิดเห็น