สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิด “ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ - STEAM4INNOVATOR Center” พื้นที่ในการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นโค้ชนวัตกร รวมถึงการนำองค์ความรู้และกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR ไปถ่ายทอดต่อให้เยาวชนได้พัฒนาฝึกฝนทักษะการสร้างนวัตกรรม โดยตั้งเป้าพัฒนาเยาวชนมากกว่า 15,000 คน ในปี 2566 และขยายเป็นทวีคูณในปีต่อไปผ่านการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ การบรรจุเป็นวิชาเรียน General Education และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยเครือข่ายซึ่งครอบคลุม 12 จังหวัดในภูมิภาคเหนือ กลาง ใต้ รวมถึงการเป็นหลักสูตรสำคัญสำหรับโครงการอาชีวะสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ (RRR AWARD) ของเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่กระจายตัวทั่วประเทศ
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
NIA มุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรเยาวชนให้กับประเทศ ภายใต้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR
หรือ แนวทางการเรียนรู้สมัยใหม่ 4 ขั้นตอน ที่มุ่งเน้นกระบวนการให้เยาวชนสามารถสร้างสรรค์ผลงานเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนวัตกรบนพื้นฐานของ STEAM และการนำแนวความคิดเชิงนวัตกรรมมาทำเป็นธุรกิจให้ตอบโจทย์การสร้างระบบนวัตกรรมและการดึงคนให้เข้ามาอยู่ในระบบ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานมาต่อยอดความสามารถด้านนวัตกรรม ผลักดันธุรกิจนวัตกรรมให้ขับเคลื่อนไปได้เพื่อสร้างโอกาสใหม่อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ NIA ยังให้ความสำคัญกับการสร้าง “นวัตกร” หรือผู้เชื่อมโลกแห่งองค์ความรู้กับการสร้างธุรกิจ ด้วยการใส่กลไก Groom (พัฒนา) Grant (ให้ทุน) Growth (เร่งการเติบโต) แล้ว การสร้างเครือข่าย “ผู้สร้างนวัตกร” หรือ “โค้ชนวัตกร” ผู้ที่จะขับเคลื่อนให้ระบบนวัตกรรมหมุนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยอัตราการขยายผลเป็นเท่าทวีคูณ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา NIA ได้ร่วมกับทั้ง 5 สถาบันการศึกษา ผลิตครู/อาจารย์ที่เป็นเครือข่าย ‘ผู้สร้างนวัตกร’ จำนวน 394 คน ผ่านโครงการ “STEAM4INNOVATOR Trainers’ Lab
“การจัดตั้ง ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ เปรียบเสมือนการต่อยอดและขยายเครือข่าย โดยมีเป้าหมายในการนำแนวทางการสร้างนวัตกรและนวัตกรรมกระจายในระดับภูมิภาค เพื่อร่วมกันถอดต้นแบบและสร้างความเข้มแข็งของ 4C อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ 1) Content & Tools สามารถใช้กระบวนการและเครื่องมือจาก STEAM4INNOVATOR ได้ 2) Coaching ครูและอาจารย์สามารถเป็นโค้ชเพื่ออบรมให้กับนักศึกษาและนักเรียน 3) Connection เข้าใจบทบาทและสามารถเข้าถึงเครือข่ายหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา ที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในทุกมิติ และ 4) Cluster เชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรเยาวชน และสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแต่ละศูนย์ฯ ได้ขยายผลการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม บนกลยุทธ์และจุดแข็งที่โดดเด่นแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับสถาบันการศึกษาอื่นที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายได้”
ทั้งนี้ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่มีทั้งหมด 5 แห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย เริ่มต้นที่ ภาคเหนือ ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ใช้กลยุทธ์ดาวกระจาย โดยมีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์เป็นแกนนำรวบรวมเครือข่ายคณะบริหารฯ ใน 6 วิทยาเขต คลอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก และพิษณุโลก มีการนำ STEAM4INNOVATOR ไปสร้างอาจารย์โค้ชนวัตกร 98 คน และนำร่องพัฒนานักศึกษาอย่างเข้มข้น 180 คนในโครงการ BALA RMUTL BCG’s Innovation for Business ได้ต้นแบบนวัตกรรม 12 ผลงานไปพัฒนาต่อ โดยในปี 2566 จะมุ่งเดินหน้าปรับใช้กระบวนการ STEAM4INNOVATOR ในรายวิชาต่างๆ ทั้งวิทย์และศิลป์เพื่อให้เข้าถึงนักศึกษามากขึ้น
ขณะที่ภาคกลาง มีศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ที่ใช้กลยุทธ์ปูพรม นำทัพโดยคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ ที่บรรจุหลักสูตร STEAM4INNOVATOR และเครื่องมือการคิดค้นนวัตกรรมเพิ่มเข้าไปในการสอนวิชา General-Education (GenEd) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะ รวมกว่า 400 คน เพื่อให้เกิดพื้นฐานในการมองปัญหาและโอกาส สร้างความเป็นนวัตกรให้กับนักศึกษา เห็นได้จากไอเดียนวัตกรรม 57 ผลงานที่น่าสนใจและต่อยอดได้ ถือเป็นต้นแบบการขยายผลแบบเชื่อมโยงกับระบบของมหาวิทยาลัย
ส่วนภาคใต้ ศูนย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานข้ามคณะ ข้ามวิทยาเขต เพราะเชื่อว่า “นวัตกรรมทำคนเดียวไม่ได้” โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. เป็นแกนนำชักชวนอาจารย์ในคณะแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบริการและการท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ และไอที ใน 5 วิทยาเขต มาร่วมฝึกเป็นโค้ชนวัตกร 23 คน นำ STEAM4INNOVATOR ไปประยุกต์ใช้ในวิชาของแต่ละคณะ และจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาระดับเข้มข้นมากกว่า 100 คน อีกทั้งขยายผลไปยังโรงเรียนมัธยมในเครือข่ายและโครงการพัฒนาผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยด้วย
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ดำเนินการโดยศูนย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) ซึ่งให้ความสำคัญกับ C: Connection เป็นพิเศษ โดยเน้นระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมสนับสนุนต่อยอดโครงการนวัตกรรมของผู้เรียนสู่การลงมือทำจริง ปัจจุบันมีหน่วยงานเครือข่าย 18 แห่ง ที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ 15 คน และด้านเทคนิคทั้งด้านเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร และแพลตฟอร์มการให้บริการต่างๆ รวมกว่า 30 คน
สำหรับ STEAM4INNOVATOR Center แห่งที่ 5 เป็นการทำงานกับศูนย์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ของส่วนงานกลาง ดำเนินการขยายผลสร้างโค้ชนวัตกรในสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 226 คน เชื่อมต่อการทำงานกับศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการของวิทยาลัย และส่งต่อไปที่โครงการอาชีวะสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ RRR AWARD เพื่อให้เกิดการพัฒนาความคิดของเยาวชนทั่วประเทศจนสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมที่สร้างรายได้เเละจำหน่ายได้จริง
ทั้งนี้ NIA และเครือข่ายสถาบันการศึกษาทั้ง 5 แห่ง มุ่งมั่นร่วมกันพัฒนา 4C ให้เข้มแข็ง เป็นต้นแบบในการสร้างและขยายผลสำเร็จของ “ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่” ที่จะสร้างเยาวชนไทยมากกว่า 15,000 รายให้เป็นนวัตกรในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับสถาบันการศึกษาที่สนใจร่วมเป็นศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่