xs
xsm
sm
md
lg

กอ.รมน. - วช. ร่วมกับ มมส. เดินหน้าถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมเร่งส่งมอบนวัตกรรมสู้ภัยแล้งที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กอ.รมน. ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมและตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ “การบริหารจัดการภัยแล้งพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน” เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

วันนี้ (24 ก.ค.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมและตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ “การบริหารจัดการภัยแล้งพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน”เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยมีพลโทอุดม โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1กอ.รมน. และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นประธานในพิธีส่งมอบฯ และพันเอกโอภาส จันทร์อุดม รองผู้อำนวยการกอ.รมน.จังหวัดบุรีรัมย์ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหาสารคามหัวหน้าโครงการฯกล่าวรายงานซึ่งในพิธีได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิวช.หัวหน้าหน่วยงานราชการในท้องถิ่นผู้นำชุมชนเกษตรกรและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานณศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทุ่งเมืองทอง ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

พลโทอุดม โกษากุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1กอ.รมน.กล่าวว่า กอ.รมน.ได้ร่วมมือกับวช.ในการสนับสนุนองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการภัยแล้งให้กับพื้นที่เป้าหมายจังหวัดบุรีรัมย์โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1กอ.รมน.ได้คัดเลือกพื้นที่บ้านตามาบ้านสุขวัฒนาและบ้านสุขสำราญ ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นโครงการวิจัยของศาสตราจารย์ดร.อนงค์ฤทธิ์แข็งแรงรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรมเป็นหัวหน้าโครงการฯได้ร่วมกับคณะนักวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัยได้แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพื่อดำเนินโครงการการบริหารจัดการภัยแล้งพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1กอ.รมน.ได้ติดตามการดำเนินงานมาโดยตลอดและด้วยความตั้งใจของหัวหน้าโครงการฯตลอดจนการสนับสนุนของส่วนราชการต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์โดยกลไกบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาหน่วยงานภาคปฏิบัติในพื้นที่และหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนผลผลิตการวิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวว่า วช.ภายใต้กระทรวงอว.เล็งเห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาคการวิจัยและภาคความมั่นคงในการเชื่อมต่องานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ภาคประชาชนซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวช.และกอ.รมน.ในการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวคิด “ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม”ซึ่งจะเป็นการส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการเรื่อง “การบริหารจัดการภัยแล้งพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน”โดยวช.ได้ให้การสนับสนุนองค์ความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการภัยแล้งพื้นที่เกษตรกรรมผ่าน 4 กิจกรรมหลัก 12 นวัตกรรมที่พัฒนาโดยทีมคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ให้สูงขึ้นและที่สำคัญยิ่งคือความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวตำบลชุมแสงและพื้นที่ข้างเคียงตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนปราชญ์ชาวบ้านปราชญ์ชุมชนที่ร่วมมือกันจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ศาสตราจารย์ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหาสารคามหัวหน้าโครงการฯกล่าวว่า กอ.รมน.และวช.ได้คัดเลือกพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่เป้าหมายในการทำโครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคมภายใต้แผนงานทุนท้าทายไทยด้านภัยแล้งกลุ่มเรื่องภัยแล้งประจำปี 2564 โดยมอบหมายให้คณะผู้ดำเนินโครงการจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ ดำเนินโครงการในพื้นที่ 3 หมู่บ้านในเขตตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ บ้านตามา บ้านสุขสำราญบ้านสุขวัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งทุกปีทำให้เป็นอุปสรรคในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรจากปัญหาภัยแล้งดังกล่าว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีความต้องการนวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนารูปแบบการทำเกษตรให้ตรงกับบริบทของชุมชนให้เกิดประโยชน์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ ทั้งด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรการจัดการผลผลิตทางการเกษตรการทำการเกษตรนอกฤดูกาลเพาะปลูก และการต่อยอดการใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกิจกรรมในวันนี้ภาคประชาชนในพื้นที่จะได้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งมอบให้ไปใช้ในการประกอบอาชีพของกลุ่มรวมถึงช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นที่รู้จักและได้มาใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมจากการวิจัยร่วมกันต่อไป

สำหรับพิธีส่งมอบนวัตกรรมในครั้งนี้มีสมาชิกหมู่บ้านและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯในพื้นที่ตำบลชุมแสงเข้าร่วมงานกว่า 200 คนโดยผลงานนวัตกรรมที่กอ.รมน.ร่วมกับวช.และมมส.นำมาส่งมอบประกอบด้วย 4กิจกรรม 12 นวัตกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 :กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรประกอบด้วย ระบบการจัดสรรน้ำตามศักยภาพน้ำต้นทุนจำนวน 1ชุดข้อมูล, ชุดข้อมูลการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรจำนวน 1 ชุดข้อมูล,ชุดระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเเสงอาทิตย์เเบบเคลื่อนย้ายได้เพื่อการเกษตรจำนวน 3 ชุด, ชุดนวัตกรรมสูบน้ำและกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 3 ชุดและชุดนวัตกรรมหน่วยเก็บกักน้ำย่อยและกระจายน้ำและสูบและจ่ายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่จำนวน 3ชุดกิจกรรมที่ 2 :การพัฒนานวัตกรรมในการยกระดับการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงประกอบด้วยชุดระบบอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดเเบบถังหมุนชนิดเคลื่อนย้ายได้ระบบไฮบริดจำนวน 1ชุดและชุดนวัตกรรมแปรรูปเพื่อเพิ่มคุณภาพข้าวเปลือกและเมล็ดพันธุ์ 1ชุดกิจกรรมที่ 3 :การพัฒนานวัตกรรมเกษตรแบบผสมผสานเพื่อแก้ปัญหาความยากจนด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มประกอบด้วยนวัตกรรมเกษตรแบบผสมผสานจำนวน 1 ชุด และกิจกรรมที่ 4 : การส่งเสริมนวัตกรรมชุมชนพึ่งตนเองและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนประกอบด้วยชุดระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนพึ่งตนเองจำนวน 1ชุด,ชุดเตาเผาชีวมวลจำนวน 1 ชุด,ชุดเครื่องผลิตน้ำส้มควันไม้จำนวน 1 ชุดและชุดผลิตปุ๋ยจากผลิตภัณฑ์เหลือทิ้งจากป่าชุมชนจำนวน 1ชุดโดยมีพันเอกโอภาสจันทร์อุดมรองผู้อำนวยการกอ.รมน.จังหวัดบุรีรัมย์ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เป็นผู้รับมอบนวัตกรรมฯและได้ส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าวต่อให้แก่ตัวแทนของพื้นที่ 3 หมู่บ้านของตำบลชุมแสง ได้แก่ บ้านตามา บ้านสุขวัฒนาและบ้านสุขสำราญ เพื่อให้พื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านที่กล่าวมานำองค์ความรู้และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ก่อให้เกิดเกิดการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้มากที่สุดซึ่งทำการแก้ปัญหาจากต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำเพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน








































กำลังโหลดความคิดเห็น