xs
xsm
sm
md
lg

ทำไม “ดาวจึงเรียงกัน” ปรากฏการณ์ที่เห็นได้จากมุมมองบนพื้นโลกเท่านั้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ดาวเรียงกัน” เป็นหนึ่งปรากฏการณ์ทางด้านดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักที่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะเรียงกันอย่างสวยงาม ให้ได้เห็นพร้อมๆ บนท้องฟ้า ตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ และทำไมดวงดาวที่เราเห็นจึงสามารถมาเรียงกันให้ได้ Science - MGROnline จึงขออธิบายในเรื่องนี้

อย่างที่รู้กันดีว่า “ดวงอาทิตย์” เป็นดาวฤกษ์และเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยมีดาวเคราะห์บริวารทั้งหมด 8 ดวง ไล่จากระยะที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ดาวพุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน ซึ่งเมื่ออดีตรวมถึง ดาวพลูโต แต่ในปัจจุบันได้ลดสถานะลงไปเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว

ปรากฏการณ์ดาวเรียง วันที่ 24-25 มิถุนายนที่ผ่านมา  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT
ดาวเคราะห์ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งการโคจร 1 รอบของดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน อย่างเช่น “โลก” ของเราที่ใช้เวลาโคจรรอบอาทิตย์ 1 ปี 365 วัน ตาม “สุริยวิถี” แถบสมมติบนท้องฟ้าที่เป็นระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่เป็นศูนย์กลาง และระนาบสุริยวิถีนี้ จะมีกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม เป็นฉากหลัง ทำให้ท้องฟ้าในแต่ละเดือนเมื่อมองจากโลกจะมีกลุ่มดาวที่แตกต่างกัน เป็นกลุ่มดาวต่างๆ ตามระนาบวงโคจร


เริ่มตั้งแต่ 1. กลุ่มดาวแกะ (ราศีเมษ) 2. กลุ่มดาววัว (ราศีพฤษภ) 3.กลุ่มดาวคนคู่ (ราศีเมถุน) 4.กลุ่มดาวปู (ราศีกรกฎ) 5.กลุ่มดาวสิงโต (ราศีสิงห์) 6.กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี (ราศีกันย์) 7.กลุ่มดาวคันชั่ง (ราศีตุล) 8.กลุ่มดาวแมงป่อง (ราศีพิจิก) 9.กลุ่มดาวคนยิงธนู (ราศีธนู) 10.กลุ่มดาวมกร หรือ แพะทะเล (ราศีมังกร) 11.กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (ราศีกุมภ์) และ 12. กลุ่มดาวปลาคู่ (ราศีมีน) กลุ่มดาวฉากหลังสุดท้าย ก่อนที่จะครบวงโคจร และเริ่มต้นการโคจรรอบใหม่อีกครั้งที่กลุ่มดาวแกะ


นอกจากโลกของที่โคจรโดยใช้เวลา 1 ปีแล้ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็จะมีระยะเวลาโคจรที่แตกต่างกันเช่นกัน ได้แก่ ดาวพุธ ใช้ระยะเวลาโคจร 87 วัน ดาวศุกร์ 225 วัน ดาวอังคาร 687 วัน ดาวพฤหัส 12 ปี ดาวเสาร์ 29 ปี ดาวยูเรนัส 84 ปี และดาวเนปจูน 165 ปี เราจึงเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนท้องฟ้าโดยมีพื้นหลังเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 12 ราศี โดยดาวที่ใช้ระยะเวลาโคจรน้อยก็จะกลับมายังตำแหน่งเดิมในทุกๆ ปี เช่น ดาวพุธ ศุกร์ อังคาร แต่ดาวเคราะห์ที่มีระยะโคจรนาน เช่น ดาวพฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งที่ใช้เวลาหลายปี เมื่อเรามองจึงเหมือนดาวนั้นอยู่ที่ตำแหน่งเดิม ทั้งๆ ที่ดาวเคราะห์นั้นก็โคจรปกติ


ดาวเรียงกันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อย เช่นเมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายนที่ผ่านมา ดาวเคราะห์ 5 ดวง ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ปรากฏพร้อมกันบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ซึ่งการเกิดในครั้งนี้ เนื่องจากดาวเคราะห์ที่ใช้ระยะเวลาโคจรนาน ได้มาโคจรใกล้กันคือ ดาวพฤหัสที่โคจรอยู่ที่กลุ่มดาวปลาคู่ (ราศีมีน) และดาวเสาร์โคจรอยู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (ราศีกุมภ์) ประกอบกับ ดาวอีก 3 ดวงที่ใช้ระยะโคจรน้อยได้โคจรมาอยู่ในตำแหน่งกลุ่มดาวฤกษ์ที่เรียงกันพอดี ได้แก่ ดาวพุธ - ดาวศุกร์ ดาวอังคาร กลุ่มดาววัว (ราศีพฤษภ) โคจรอยู่ที่กลุ่มดาวปลาคู่ (ราศีมีน) ซึ่งเป็นตำแหน่งกลุ่มดาวฤกษ์ที่เรียงกันพอดี จึงทำให้เราได้เห็นดาวเรียงกันที่สวยงาม

ปรากฏการณ์ดาวเรียงกันนี้ สามารถมองเห็นได้จากมุมมองบนพื้นโลกเท่านั้น เพราะเกิดจากดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ในเวลา ส่วนมุมมองจากอวกาศจะพบว่าดาวเคราะห์ไม่ได้เรียงกันเป็นเส้นตรงแต่อย่างใด

อ้างอิงข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT


กำลังโหลดความคิดเห็น