xs
xsm
sm
md
lg

ทช. เผยภาพ "แนวปะการังทะเลภูเก็ต" พบสมบูรณ์ปานกลาง และมีสภาพเสียหายจากอวน เชือก สายเอ็นตกปลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทช. โดยศูนย์วิจัย ทะเลอันดามันตอนบน สำรวจติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะรังใหญ่ เกาะสิเหร่ และแหลมพันวา จ.ภูเก็ต ผลการสำรวจไม่พบปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเล 30 องศาเซลเซียส ปะการังมีสภาพเสียหายถึงสมบูรณ์ปานกลาง


ปะการังในพื้นที่ได้รับการสำรวจที่พบโดยทั่วไป เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea spp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.) และ ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) การลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังเคลือบหิน (Podabacia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังดาวเหลี่ยม (Leptastrea spp.) และปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.)


ในส่วนของโรคปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น โรคดวงฟอกขาว , เนื้อเยื่อเปลี่ยนสีในปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea sp.) พบตะกอนแขวนลอยค่อนข้างมาก รวมถึงมีการปกคลุมของเห็ดทะเล (corallimorph) และสาหร่ายสีแดง เป็นบางส่วน อีกทั้งยังมีรอยกัดกินและการเจาะไชของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคได้ ปลาที่พบโดยทั่วไป เช่น ปลาสลิดหินเล็กเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) ปลาอมไข่ลายทแยง (Taeniamia fucata) ปลาอมไข่เส้นเหลือง (Ostorhinchus cyanosoma) ปลาผีเสื้อคอขาว (Chaetodon collare) สัตว์ไม่มีกะดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบโดยทั่วไป เช่น เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) เม่นดำหนามสั้น (Echinotrix calamaris) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) และดาวขนนก (Feather star) และขยะในพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดจากการทำกิจกรรมการประมง เช่น อวน เชือก สายเอ็นตกปลา




กำลังโหลดความคิดเห็น