xs
xsm
sm
md
lg

วช. เปิดรับข้อเสนอการวิจัย ปีงบประมาณ 2566 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในงาน NRCT Open House 2022

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (13 มิ.ย.) เปิดฉากวันที่2 ของการเปิดบ้าน NRCT Open House 2022 ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เปิดรับข้อเสนอการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2566 ในด้านต่างๆ และในวันนี้ได้นำเสนอในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบ ออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมุ่งเน้นผลสำเร็จจากการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้งมิติด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน และด้านนโยบาย เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังมุ่งเน้นการตอบผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570

ดร.วิภารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วช. ได้มุ่งเน้นในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วช.ได้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีนักวิจัยได้มีการนำส่งข้อเสนอโครงการเข้ามาเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนกว่า 1,000 ราย นับเป็นความตั้งใจของ วช.ที่จะผลักดันให้การใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน ในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ทุกโครงการจะต้องเป็นโครงการที่วัดผล ใช้ประโยชน์ได้และตอบรับในการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พร้อมยืนยันว่า ในส่วนของงานใหม่ๆ เป็นประเด็นเชิงความท้าทายคือมองในมิติเมืองชนบทร่วมกันในภาพรวม

ทั้งนี้ภายในงานยังมีมีการเสวนา เรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2566” โดยมีผู้ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และมีผู้ร่วมเสวนา และประเด็นเสวนา จากผู้เชี่ยวชาญงานวิจัย วช.มาให้คำแนะนำที่น่าสนใจ อย่าง ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช.ที่มาบรรยายเรื่อง “ด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน” รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านนิเวศและมลพิษในภาคอุตสาหกรรม” ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านนิเวศ มลพิษ และการบริโภคในภาคเมืองและชุมชนเพื่อยกระดับการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ” รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ด้านนายเอนก บำรุงกิจ ผู้อำนวยการกองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. ยังได้มีการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อำพร เสน่ห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พูดถึงประเด็น “พลาสติกชีวภาพ เพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน” และแผนงานวิจัย เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพฐานพอลิแลคติกแอซิด: การสังเคราะห์ การดัดแปร และ การประยุกต์ใช้งาน” รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ เจริญไชยตระกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเด็น “ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับสุนัขที่มีส่วนผสมจากเจลาติน” และโครงการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา” รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกตฺ์ โล่ห์วัชรินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็น “ระบบหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่” และ โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยการควบรวมระบบไฟฟ้าเคมีเมมเบรนชีวภาพและรีเวิร์สออสโมสิส” คุณสมโภค กิ่งแก้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็น “ระบบการคาดการณ์ศักยภาพการรองรับปริมาณการระบาย PM2.5” และ โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบการคาดการณ์ศักยภาพการรองรับปริมาณการระบาย PM2.5 ของพื้นที่สำหรับสนับสนุนการจัดการและควบคุมการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตรกรรมในระดับท้องถิ่น” รองศาสตราจารย์ ชัชรี แก้วสุรลิขิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเด็น “วิธีการฟื้นฟูและการตัดสินใจย้ายปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์” และ โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาวิธีการฟื้นฟูและการตัดสินใจย้ายปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล”

สำหรับการเปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม วช. จะเปิดรับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2565 โดยนักวิจัยต้องยืนยันการเข้าร่วมทำวิจัยในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัยต้องรับรองข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. การประกาศผลการพิจารณา วช. จะประกาศผ่านเว็บไซต์ www.nrct.go.th และ https://nrils.go.th 


NRCT Open House 2022 : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

🔊ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) NRCT Open House 2022 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
NRCT Open House 2022
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00 – 13.00 น. พบผู้ร่วมเสวนาดังนี้
🟢09.00-09.30 น. NRCT Open House 2022 : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
🟢 09.30-12.30 น. การเสวนา เรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2566”
ผู้ดำเนินการเสวนา ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิ วช.
ผู้ร่วมเสวนา และประเด็นเสวนา
• ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน”
• รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านนิเวศและมลพิษในภาคอุตสาหกรรม”
• ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านนิเวศ มลพิษ และการบริโภคในภาคเมืองและชุมชนเพื่อยกระดับการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ”
• รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. “ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
🟢12.30-13.00 น. การซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดย
• ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิ วช.
• คุณกรรณิกา ดุรงคเดช หัวหน้าภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วช.
• คุณอุมาพร โควงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ วช.
📌 สามารถร่วมชมผ่านระบบ ZOOM ตาม Link ด้านล่างนะคะ
https://us06web.zoom.us/j/82843020003?pwd=SUdVTjZQQlBrdGRHUVRCRnd4RU1SQT09
📌 และสามารถดาวน์โหลดเอกสารจากผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่สามารถเผยแพร่ได้ที่ : https://shorturl.asia/xlz2u

Posted by สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ on Sunday, June 12, 2022



NRCT Open House 2022 : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
🔊ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) NRCT Open House 2022 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
NRCT Open House 2022
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. พบผู้ร่วมเสวนาดังนี้
🟢13.00-13.30 น. แนะนำการใช้งานระบบ NRIIS
• คุณเอนก บำรุงกิจ ผู้อำนวยการกองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช.
🟢13.30-16.30 น. การแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม โดย
• รองศาสตราจารย์ ดร.อำพร เสน่ห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็น “พลาสติกชีวภาพ เพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน” และ
แผนงานวิจัย เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพฐานพอลิแลคติกแอซิด: การสังเคราะห์ การดัดแปร และ การประยุกต์ใช้งาน”
• รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ เจริญไชยตระกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็น “ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับสุนัขที่มีส่วนผสมจากเจลาติน” และ
โครงการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา”
• รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกตฺ์ โล่ห์วัชรินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเด็น “ระบบหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่” และ
โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยการควบรวมระบบไฟฟ้าเคมีเมมเบรนชีวภาพและรีเวิร์สออสโมสิส”
• คุณสมโภค กิ่งแก้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประเด็น “ระบบการคาดการณ์ศักยภาพการรองรับปริมาณการระบาย PM2.5” และ
โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบการคาดการณ์ศักยภาพการรองรับปริมาณการระบาย PM2.5 ของพื้นที่สำหรับสนับสนุนการจัดการและควบคุมการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตรกรรมในระดับท้องถิ่น”
• รองศาสตราจารย์ ชัชรี แก้วสุรลิขิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็น “วิธีการฟื้นฟูและการตัดสินใจย้ายปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์” และ
โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาวิธีการฟื้นฟูและการตัดสินใจย้ายปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล”

📌 สามารถร่วมชมผ่านระบบ ZOOM ตาม Link ด้านล่างนะคะ
https://us06web.zoom.us/j/82843020003?pwd=SUdVTjZQQlBrdGRHUVRCRnd4RU1SQT09
📌 และสามารถดาวน์โหลดเอกสารจากผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่สามารถเผยแพร่ได้ที่ : https://shorturl.asia/xlz2u
Posted byสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ on Sunday, June 12, 2022
















กำลังโหลดความคิดเห็น