xs
xsm
sm
md
lg

วว. จัดฝึกอบรม “หมอนคอนกรีตในงานวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง มาตรฐานการออกแบบ การทดสอบ และการผลิต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาทักษะบุคลากรขั้นสูงทางวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง เรื่อง หมอนคอนกรีตในงานวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง : มาตรฐานการออกแบบ การทดสอบและการผลิตและระบบคุณภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ะเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย


รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร "การพัฒนาทักษะบุคลากรขั้นสูงทางวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง" เรื่อง หมอนคอนกรีตในงานวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง : มาตรฐานการออกแบบ การทดสอบและการผลิตและระบบคุณภาพ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่ง วว. โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทาง (ศทร.) ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมเป็นเกียรติด้วย ทั้งนี้เนื้อหาการอบรมผ่านการถ่ายทอดความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางราง อาทิ การลงทุนโครงการด้านระบบรางของประเทศไทย การออกแบบหมอนคอนกรีต การวิเคราะห์ปัญหาวิศวกรรมงานทางด้วยโปรแกรม Finite Element เทคโนโลยีการผลิตหมอนคอนกรีต เจาะลึกมาตรฐานการทดสอบหมอนคอนกรีต เครื่องมืออุปกรณ์ขั้นต้นและข้อควรระวังในการทดสอบหมอนคอนกรีตตามมาตรฐานสากล ระบบคุณภาพ ISO/IEC17025 สำหรับห้องปฏิบัติการ แนวทางการจัดทำระบบคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบหมอนคอนกรีต สาธิตการทดสอบหมอนคอนกรีตและชิ้นส่วนงานทางในห้องปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติการทดสอบหมอนคอนกรีต เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เข้ารับการอบรมยังได้เยี่ยมชมเทคโนโลยีการผลิต/การติดตั้งหมอนคอนกรีตและงานทาง โครงการรถไปรางคู่ สถานีชุมทางบ้านหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี พร้อมรับมอบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรฯ


ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทาง (ศทร.) วว. พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและผู้ประกอบการ ในด้านการทดสอบรับรองคุณภาพ ด้านระบบขนส่งที่ครอบคลุมทั้งด้านระบบรางและส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่ง เช่น รถไฟขนส่งสินค้า รถไฟฟ้าในเมือง รถบรรทุกสินค้า ยานยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการในการทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนระบบราง นอกจากนี้ยังให้บริการทดสอบในส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่งทางถนนและทางน้ำ หรือการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal transport) เช่น รถบรรทุกสินค้า ยานยนต์ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ขนส่งสินค้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในระบบขนส่งและโลจิสติกส์






กำลังโหลดความคิดเห็น