xs
xsm
sm
md
lg

ลางร้าย! หรือ การผุพังอยู่กับที่ เมื่อ “หินสังหาร” หรือศิลาจิ้งจอกเก้าหางแตกออกจากกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากข่าวการแตกของ “หินสังหาร - ศิลาเซ็ตโชเซกิ” (Sessho-seki) หรือหินที่ใครหลายคนคุ้นหูกันในชื่อ “ศิลาจิ้งจอกเก้าหาง” ที่ตระหง่านอยู่ที่ เนินเขานาสุ จังหวัดโทชิกิ หนึ่งในจังหวัดของภูมิภาคคันโตบนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น 

การแตกออกเป็นสองท่อนของหินสังหาร ทำให้เกิดเป็นประเด็นลือกันในโลกโซเชียลว่า วิญญาณจิ้งจอกเก้าหางจะถูกปล่อยออกมา หรือ เป็นลางว่าจะเกิดสิ่งไม่ดีในเร็วๆ นี้หรือไม่ เนื่องจากประวัติความเป็นมาของหินก้อนนี้ มีความเชื่อค่อนข้างน่ากลัวของอิทธิฤทธิ์ของจิ้งจอก 9 หาง ทำให้ชาวญี่ปุ่นพากันหวาดหวั่นว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น โดยได้ถูกกล่าวขานไว้ตั้งแต่ยุคสมัยเฮอันไว้ว่า


“เป็นหินที่สถิตของวิญญาณปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง ที่ได้จำแลงกายเป็นสาวงามเข้ามาหลอกล่อสูบเอาพลังชีวิตขององค์จักรพรรดิ เมื่อข้าราชบริพารเห็นดังนั้นจึงส่งคนมาปราบจิ้งจอกเก้าหาง และสุดท้ายสองพลธนูชื่อดังแห่งกองทัพก็ได้ยิงธนูอาคมปราบนางจิ้งจอกเก้าหางได้สำเร็จ ซากศพของนางได้กลายมาเป็นศิลาหินสังหาร” .... ซึ่งตำนานเรื่องนี้ได้ทำให้หินก้อนนี้ ได้กลายมาเป็นจุดขายสำคัญของการท่องเที่ยวเมืองนาสุจนถึงปัจจุบัน


แต่ในด้านวิทยาศาสตร์ในเรื่องของหินแตกนั้น เป็นเรื่องของ "การผุพังอยู่กับที่" (Weathering) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติชนอดหนึ่ง ซึ่งตามรายงานระบุว่า ได้สังเกตเห็นว่าหินมีรอยร้าวมาหลายปี หินสังหารน่าจะแตกออกจากการถูกกัดเซาะจากน้ำฝนซึมเข้าไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเสื่อมสภาพของหินตามสภาพดินฟ้าอากาศ ที่ปัจจุบันมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก

ในเรื่องของ “การผุพังอยู่กับที่” หมายถึง การที่หินผุพังทำลายลงด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากลมฟ้าอากาศกับน้ำฝน รวมทั้งการกระทำของต้นไม้กับแบคทีเรียตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่ม-ลดอุณหภูมิสลับกัน เป็นต้น สาเหตุของการผุพังอยู่กับที่ ได้แก่ ความร้อน ความเย็น น้ำ น้ำแข็ง แก็สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ


ประเภทของการผุพังอยู่กับที่ การผุพังอยู่กับที่แบ่งไก้เป็น 2 ประเภทคือ “การผุพังเชิงกล" และ "การผุพังเชิงเคมี” โดยการผุพังทั้งสองประเภทนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่เมื่อผ่านไปนานๆ ก็สามารถทำให้หินหรือสสารอื่นๆ พังทลายลงได้

สำหรับ “การผุพังอยู่กับที่เชิงกล” (Mechanical Weathering) คือกระบวนการอยู่กับที่ที่ทำให้หินหือสสารอื่นๆ แตกออกเป็นชิ้นๆ ได้ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังอยู่กับที่เชิงกล ได้แก่

- ความร้อนและความเย็น : ความร้อนจากดวงอาทิตย์หรือจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทำให้ด้านนอกของหินร้อนกว่าด้านในของหิน ทำให้ด่านนอกของหินหลุดออกมาเป็นแผ่นๆ ส่วนความเย็นได้มาจากฝน ซึ่งทำให้หินที่ร้อนตัวเย็นลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้หินแตกออกเป็นรอยแยกได้

- การแข็งตัวและการละลาย เกิดจากน้ำที่อยู่ในรอยแตกของหินแข็งตัว น้ำจะขยายตัวออกทำให้รอยแยกของหินใหญ่มากขึ้นทำให้ถนนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ

- เกิดเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยเกิดจากการไชชอนของรากต้นไม้ไปตามรอยแยกของหิน เมื่อรากต้นไม้ใหญ่ขึ้น ก็สามารถทำให้หินแตกออกได้

- การครูดถู เป็นการเสียดสีกันระหว่างหินกับทรายและเศษหินเล็กๆ ที่มากับน้ำ น้ำแข็ง ลมและแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้หินที่ถูกเสียดสีเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

- การกระทำของสัตว์ พบว่าสัตว์ที่ขุดรูอยู่ในพื้นดิน เช่น หนู ตัวตุ่น แมลงบางชนิด ช่วยทำให้หินที่ถูกเสียดสีเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

- การกัดเซาะของแม่น้ำ แม่น้ำมักมีแหล่งต้นน้ำอยู่บริเวณภูเขาสูงซึ่งอาจไหลมาจากธารน้ำแข็งละลายหรือมีฝนตกหนักในเขตป่าเขา แม่น้ำตอนบนจะมีกระแสไหลเชี่ยว เกิดการกัดเซาะพื้นดินในแนวตั้งทำให้มีฝั่งเป็นหุบเขารูปตัววีเกิดขึ้น ตอนกลางของแม่น้ำเป็นระยะหน่วง ทำให้หุบเขากว้างขึ้น ฝั่งชันน้อยลง มีคุ้งน้ำมากขึ้น ในขณะที่แม่น้ำไหลไปตามคุ้งกระแสน้ำทางฝั่งด้านนอกของวงโค้ง จะไหลเร็ว จึงเกิดการกัดเซาะ

ซันแครก มหัศจรรย์ทางธรณีวิทยา
และ “การผุพังอยู่กับที่เชิงเคมี” (Chemical Weathering) เป็นกระบวนการที่ทำให้หินแตกสลายออกเป็นชิ้นเล็กๆ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังอยู่กับที่ทางเคมี ได้แก่

- น้ำเป็นตัวการสำคัญที่สุด ที่ทำให้เกดการผุพังโดยการละลาย

- แก็สออกซิเจน หินที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในสภาวะที่มีน้ำอยู่ด้วย และเกิดเป็นสนิม สนิมทำให้หินอ่อนตัวลงและแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และให้สีน้ำตาลหรือสีแดง

- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สนี้จะเละลายรวมตัวกับน้ำฝนและน้ำที่อยู่ในชิ่งอากาศในดินทำให้เกิดเป็นกรดอ่อน เรียกว่า กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำให้หินอ่อนและหินปูนผุพังลงได้

- สิ่งมีชีวิต รากพืชที่เติบโตขึ้นจะผลิตกรดอ่อนที่ละลายหินรอบๆรากได้และสิ่งที่คลายพืชที่เรียกว่า ไลเคน ที่เติบโตบนหิน จะสร้างกรดอ่อนที่ทำให้หินผุพังได้

ลานหินแตก ภาพ - กรมอุทยาน
ในประเทศประเทศไทยยังมีคำคมที่ว่า “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินยังกร่อน” ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องจริงเนื่องจากตามสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งในประเทศไทย เราสามารถเห็นการการผุพังอยู่กับที่ของหินได้ จนเกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ดูสวยงามและแปลก อีกทั้งบางแห่งยังมีตำนานและเรื่องเล่า เหมือนกับตำนานหินสังหาร และแม้ว่าหินจะแตกแล้ว แต่ตำนานอันน่าเกรงขามของจิ้งจอก 9 หาง ที่อยู่ในหินก็ยังคงอยู่คู่เนินเขานาสุตลอดไป

หินแปลกตาที่เกิดจากธรรมชาติ - อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก : sites.google.com
กำลังโหลดความคิดเห็น