xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อใดที่พระอาทิตย์อยู่ราศีกุมภ์ จันทร์เพ็ญ ณ ราศีสิงห์ เคียงดาวเรกูลัส คือวัน “วันมาฆบูชา” ในปีนั้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลายๆ คนทราบดีว่า “วันมาฆบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และมีประวัติความเป็นมาว่าอย่างไร แต่น้อยคนนั้นจะรู้ว่าวันมาฆบูชาในแต่ละปี มีการกำหนดวันอย่างไร โดยในวันนี้ได้รับการยกย่อง เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 ปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา และในคัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย และพระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต"

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT
ในเรื่องการกำหนดวันมาฆบูชาของทุกปี ในทางดาราศาสตร์จะเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เคียงข้าง "ดาวเรกูลัส" (Regulus) หนึ่งในดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้ายามค่ำคืน และสว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงโต (Leo) หนึ่งใน 12 กลุ่มดาวจักราศีเสมอ และวันมาฆบูชาในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน แตกต่างจากวันสงกรานต์ วันสำคัญอื่นๆ ที่มีวันที่ที่แน่นอน เนื่องจากการโคจรของดวงจันทร์ตามหลังโหราศาสตร์นั้นจะใช้เวลา 2 วันครึ่ง ใน 1 ราศี การที่ดวงจันทร์โคจรครบ 1 ปี ไปยังจุดที่เต็มดวงในกลุ่มดาวสิงโต แต่ละปีวันจึงไม่เหมือนกัน

กลุ่มดาวสิงโต (Leo) หรือราศีสิงห์ / ภาพ : คนดูดาว stargazer
และการที่ดวงจันทร์จะเต็มดวงในกลุ่มดาวสิงโต (Leo) หรือราศีสิงห์ได้นั้น ก็ต้องอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) หรือ ราศีกุมภ์ ซึ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ พระอาทิตย์อยู่ในราศีกุมภ์ อีกทั้งกลุ่มดาวสิงโต มีชื่อกลุ่มดาวนักษัตรตามดาราศาสตร์อินเดียโบราณว่า “กลุ่มดาวมาฆะ”ในบางครั้ง ชื่อ "ดาวมาฆะ" ก็ใช้กับดาวเรกูลัส หรือที่เรียกว่า “ดาวหัวใจสิงห์”และเป็นที่มาของชื่อเดือนมาฆะของอินเดีย รวมถึงวันมาฆบูชาซึ่งหมายถึงการถวายบูชาในวันเพ็ญของเดือนมาฆะ

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius)
การใช้ดวงดาวเป็นเครื่องกำหนดวันสำคัญ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้คนในยุคอดีตที่ยังไม่มีปฏิทินสากลใช้ เนื่องจากดวงจันทร์เป็นหนึ่งในดวงดาวที่มีการโคจรที่แน่นอน ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของราศีทั้ง 12 บนท้องฟ้า ดวงจันทร์เพ็ญในแต่ละเดือนจึงมีความหมายที่แตกต่างกัน ตามเรื่องราวที่ผู้คนได้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล

กลุ่มดาวสิงโต (Leo) หรือราศีสิงห์ จะอยู่ตรงข้าม กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) หรือ ราศีกุมภ์
ขอบคุณข้อมูล : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT / เพจ : พุทธ - จักราศี


กำลังโหลดความคิดเห็น