จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนักอุทกวิทยาไทย, กรมชลประทาน, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จัดการประชุมนานาชาติในหัวข้อ “ THA 2022 International Conference on Moving Towards a Sustainable Water and Climate Change Management After COVID-19 ” ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom Meeting ระหว่างวันที่ 26- 28 มกราคม 2565
วันนี้(26 ม.ค.) พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เปิดงาน พร้อมกล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตามโครงการพระราชดำริ ต้องการที่ให้ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา(ห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ดำเนินการสืบสานต่อยอด ซึ่งโครงการนี้ พื้นที่โดยรอบเขื่อนมีความชุ่มชื่นอย่างมาก พื้นที่ป่าของกรมอุทยาน และป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ผิดกับอดีตที่อ่างเก็บน้ำนี้มีความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก พร้อมย้ำว่า หลายโครงการในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงานมาติดตามงาน และเดินหน้าบางโครงการ ใช้พื้นที่ดินป่าไม้ เขตอุทยานให้เป็นประโยชน์กับคนไทยให้มากที่สุด พร้อมระบุว่า “ อยากให้หน่วยงานในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องเรื่องระบบน้ำ ทำเพื่อประชาชน และใช้ข้อมูลในเวทีนำมาสร้างประโยชน์แก้ปัญหาเรื่องน้ำ ”
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งานประชุมระดับนานาชาติในหัวข้อเรื่อง “ การมุ่งสู่การจัดการน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนหลังโควิด-19 ” หรือ THA 2022 International Conference on Moving Towards a Sustainable Water and Climate Change Management After COVID-19 จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนหลังโควิด-19 และเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาของโลกให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) อีกทั้ง ยังเป็นการเปิดโอกาสการเผยแพร่ผลงานวิจัย สำหรับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้กำหนดนโยบายในสาขาที่เกี่ยวข้องจากนานาชาติ ให้ร่วมแบ่งปันและนำเสนอมุมมอง ประสบการณ์ ความก้าวหน้าในงานวิจัย
ทั้งนี้การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบออน์ไลน์ โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ 4 รูปแบบ ได้แก่
การนำเสนอประเด็นสำคัญด้านการจัดการน้ำและความยั่งยืน (Keynote Presentation) 3 หัวข้อ ดังนี้
Water Disaster Management Towards SDG and Post Covid โดย Dr.Benoit Bosquet, Regional Director for Sustainable Development East Asia and Pacific, World Bank
Water Management Under Climate Change โดย Mr.Christophe Bahuet, Deputy Assistant Administrator and Deputy Director of the UNDP Regional Bureau for Asia and the Pacific (RBAP)
Water Management in Thailand and Towards SDG โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
การอภิปรายร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากนานาประเทศ (Panel Discussion) 4 หัวข้อ ดังนี้
3.1) Water Disaster Management and Climate Change
3.2) Water Management and Climate Change
3.3) Sustainable Groundwater Management towards SDGs
3.4) Water Management under Water security/SDGs
การนำเสนอผลงานด้านเทคนิค (Technical Presentation) ในหัวข้อที่เป็นกระแสระดับสากล 3 หัวข้อ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการน้ำ (Water Management and Climate Change)
เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการจัดการน้ำและชลประทาน (New Technology in Water and Irrigation Management)
การบริหารจัดการน้ำให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Water management Towards SDGs)
การจัดอบรม (Training) 2 หัวข้อ ดังนี้
4.1) GCM downscaling
4.2) Water security assessment
การจัดกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) 2 กิจกรรม ดังนี้
5.1) Science-Policy Interface Dialogue โดย UNDP
5.2) Water Conservation, Climate Change and Ecosystem-based Adaptation in ASEAN โดยกรมทรัพยากรน้ำ
การแสดงนิทรรศการเสมือน (Virtual Exhibition) จาก 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ วช.
ศ.ดร.สุพจน์ ยังกล่าวอีกว่า การจัดประชุมครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการการรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ ปัจจุบัน และแนวโน้ม แนวคิดล่าสุดในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการเผยแพร่งานวิจัยและความรู้จากการวิจัยระหว่างนักวิชาการของไทย และเอเชีย เกิดการการสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศละการจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน และการเผยแพร่งานและการบริหารงานวิจัย สู่นักวิชาการในอาเซียนและเอเชีย ซึ่งประเทศไทยจะสามารถใช้เวทีการประชุมนี้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ภัยพิบัติ และการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนานาประเทศ และเป็นการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและบุคลการด้านน้ำให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ประเทศไทยและโลกพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ประชากรไทยและประชากรโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดี