ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีเครื่องจักรพิมพ์เอกสารหรือตำราการจดบันทึกในจารึกจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่อาลักษณ์ หรือนักบวชเป็นผู้เขียน เพราะต้องการให้ผู้คนในสังคมได้อ่าน และจะได้มีความรู้ใหม่ ๆ แต่การแพร่กระจายความรู้ด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ในวงแคบ เพราะการคัดลอกต้องใช้เวลานาน ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือหรือได้รับความรู้เลย
จนกระทั่งถึงปี1448 เมื่อJohannes Gutenberg ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แล้วเทคโนโลยีนี้ก็ได้เริ่มเปลี่ยนโลก เพราะได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงหนังสือได้ง่าย แล้วสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้สู่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไปได้ในรูปของตำรา เอกสาร และจารึกต่าง ๆ แต่วัสดุที่ใช้ในการบันทึกเรื่องราวและความรู้เหล่านี้ ในบางครั้งต้องประสบเหตุการณ์รุนแรง เช่น ในศึกสงครามที่มีการเผาเอกสารมีค่าไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ความรู้จำนวนมากต้องสูญหายไปอย่างนิจนิรันดร์ หรือในบางกรณี เอกสารได้ถูกน้ำท่วม หรือถูกสภาพดินฟ้าอากาศที่รุนแรงทำร้าย จนหมึกที่ใช้ในการเขียนได้เลือนหายไป หรือหนังสือถูกทอดทิ้งอย่างไม่มีใครสนใจใยดี เพราะภาษาที่เขียนเป็นภาษาโบราณมาก จนคนปัจจุบันไม่มีใครอ่านออก ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เนื้อกระดาษ หรือหนังสัตว์ที่ใช้ในการเขียนได้เปลี่ยนสภาพไป เพราะถูกปลวกกัดกิน เป็นต้น
ดังนั้น เวลามีการพบจารึกโบราณชิ้นใหม่ ทุกคนในวงวิชาการจะรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะสิ่งที่ปรากฏในจารึกสามารถช่วยให้เรา “เห็นและเข้าใจ” เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในอดีตได้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่ในด้านประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่อาจจะรวมถึงความรู้ด้านสังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ และอะไร ๆ อีกมากที่ไม่มีในจารึกด้วย เช่น รู้คนที่เขียนจารึกว่าเป็นใคร รู้แหล่งผลิตและเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงรู้เวลาที่ผลิตจารึกด้วย โดยใช้เทคโนโลยีชีววิทยาเชิงโมเลกุล
ห้องสมุด Bodleian ของมหาวิทยาลัย Oxford ในประเทศอังกฤษ เป็นห้องสมุดที่โบราณที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป ตั้งตามชื่อของ Sir Thomas Bodley เมื่อปี 1602 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ห้องสมุดนี้มีเอกสารรวมทั้งสิ้นกว่า 13 ล้านชิ้น บางชิ้นมีอายุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงเป็นเอกสารหายากมาก เพราะถ้าถูกทำลายไป ประวัติศาสตร์โลกส่วนหนึ่งก็จะสูญหายไปในทันที ด้วยเหตุนี้บรรณารักษ์ห้องสมุดจึงห้ามมิให้ใครที่ไปเยือนห้องหนังสือหายาก นำปากกา กระเป๋าถือ ของมีคม หรือแม้แต่เครื่องดื่มเข้าไปในห้องเก็บสะสมวัตถุหายากเหล่านี้ และถ้าใครต้องการจะอ่านหนังสือ บรรณารักษ์ก็จะใช้มือที่สวมถุงมือเปิดให้ดูทีละหน้า
แต่เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ ได้มีทีมนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักชีวเคมี นักชีววิทยาวิวัฒนาการ นักประชากรศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเหตุการณ์ยุคกลาง ได้พบว่า ในจารึกโบราณชื่อ Gospel of Luke ซึ่งมีซากของโปรตีนโบราณและ DNA โบราณของจุลินทรีย์ที่ดำรงชีพอยู่ได้ ด้วยการกัดกินสารที่ใช้ในการสร้างจารึก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจจะมาจากบุคคลในอดีตที่ได้หยิบจับหรือพลิกอ่านจารึก เพราะจารึกดังกล่าว เป็นวรสาร (gospel) ดังนั้นจึงอาจจะมีคนอ่านบางคนได้จุมพิตภาพของพระเยซูในจารึก ทำให้สารคัดหลั่งจากปากหรือจมูกไปติดบนแผ่นหนังสัตว์ที่เป็นวัสดุใช้ทำจารึก หรือจุลินทรีย์เหล่านั้นอาจจะออกมาจากการไอ หรือจามของคนอ่านก็เป็นได้
Gospel of Luke จึงเป็นจารึกยุคกลางที่ยังไม่มีใครได้ศึกษาและวิเคราะห์เชิงชีววิทยาโมเลกุลมาก่อน ตัวจารึกประกอบด้วยแผ่นหนังสัตว์ จำนวน 19 ชุด ที่ถูกนำมาเย็บเรียงกัน โดยแต่ละชุดมีหนังสัตว์ 4 แผ่น การอ่านข้อความที่เขียนทำให้นักวิจัยรู้ข้อมูลชีวิต ในสมัยเมื่อ 800 ปีก่อน ในด้านการทำเกษตรกรรม การรณรงค์โรคร้ายต่าง ๆ ความเป็นอยู่ และความเชื่อ ฯลฯ นั่นคือ เมื่อนักวิจัยที่มิใช่นักประวัติศาสตร์หรือนักโบราณคดีได้เข้ามาศึกษาเรื่องนี้ ก็ได้พบว่ามันมีความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมายที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน
ตัวจารึก Gospel of Luke ได้ถูกนำออกประมูลขายครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2009 ที่สถาบัน Sotheby ในกรุงลอนดอน และนักประวัติศาสตร์ชื่อ William Zachs ได้ซื้อ จารึกโบราณที่ถูกทำขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ.1120 ไป ซึ่งลายจารึกได้ถูกเขียนขึ้นโดยอาลักษณ์ประจำมหาวิหาร St. Augustine ที่เมือง Canterbury ในประเทศอังกฤษ เนื้อหาในจารึกส่วนใหญ่เป็นคำสอนทางศาสนา และมีการเขียนคำวิจารณ์แนบอยู่ที่ขอบของแผ่นหนัง หน้าปกของจารึกทำด้วยหนังสัตว์ที่สามารถบอกได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด จากการศึกษาลำดับของกรด amino และการวิเคราะห์ collagen กับ protein ของโมเลกุลที่สกัดได้จากหนังสัตว์ ทำให้นักวิจัยได้พบว่าหมึกที่ใช้เขียนมีส่วนประกอบของหินสีฟ้าเข้ม (lapis lazuli) จากประเทศ Afghanistan
ครั้นเมื่อ Andrew Honey จากมหาวิทยาลัย Oxford เมื่อได้เห็นรูในจารึกที่ปลวกเจาะผ่านกระดาษหนังลงไปจนถึงปก ซึ่งทำด้วยไม้โอ๊ก (oak) เขาได้สันนิษฐานว่าก่อนที่ช่างไม้จะตัดต้นโอ๊ก เพื่อนำมาทำปกจารึก ในไม้มีตัวอ่อนของแมลง beetle อาศัยอยู่ ดังนั้นเมื่อไม้ถูกนำมาทำปก รูที่เห็น จึงน่าจะมีอายุประมาณ 900 ปี ด้วยเหตุนี้ การรู้ DNA ของแมลง beetle จะสามารถบอกแหล่งที่มาของจารึกได้ว่าผลิตจากสถานที่ใด นอกจากนี้ข้อมูล DNA ของแมลง beetle ก็ยังสามารถช่วยให้เราเห็นเส้นทางวิวัฒนาการของแมลงชนิดนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้
ข้อมูลโปรตีนที่พบในกระดาษหนัง (parchment) ก็สามารถบอกได้ว่า หนังสัตว์ที่ใช้ทำกระดาษหนังนั้น เป็นสัตว์ชนิดใด และการรู้ชนิดของสัตว์ดังกล่าวจะทำให้เรารู้สถานภาพการทำปศุสัตว์ของชนเผ่าที่ผลิตจารึกได้ด้วยว่า นิยมเลี้ยงสัตว์ชนิดใด หรือไม่เลี้ยงสัตว์ชนิดใดบ้าง
ตามปกติการจะรู้ DNA ของสัตว์ที่ใช้ในการทำกระดาษหนัง นักวิจัยจำต้องตัดชิ้นส่วนของกระดาษหนังนั้น เพื่อนำไปวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องที่บรรณารักษ์หรือภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ไม่ยินดีและไม่อนุญาต ดังนั้นเมื่อขอก็ไม่ให้และซื้อก็ไม่ขาย นักวิจัยจึงจำเป็นต้องหาทางออก โดยใช้วิธีทดสอบที่ทำให้วัตถุไม่บุบสลาย ในการจะได้ข้อมูลโปรตีนของกระดาษหนัง นักวิจัยได้พบว่าเวลาภัณฑารักษ์ทำความสะอาดจารึก เขาใช้ยางลบที่ทำด้วยวัสดุ polyvinyl chloride ลบรอยเปื้อนและคราบสกปรกอย่างแผ่วเบา และพบว่าเส้นใยโมเลกุลจะหลุดออกจากกระดาษหนัง ซึ่งเมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วย mass spectrometer เขาก็จะสามารถบอกชนิดของโปรตีนได้
ผลการวิเคราะห์โปรตีนในวรสาร Gospel of Luke ได้แสดงให้เห็นว่า กระดาษหนังจารึกโบราณเล่มนี้ ทำจากหนังกวาง Roe deer ที่พบมากในประเทศอังกฤษ เมื่อ 900 ปีก่อน ส่วนสายหนังที่ใช้รัดปกจารึกนั้น ทำจากหนังกวางอีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ Fallow deer ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และเป็นกวางชนิดที่นักรบชาว Norman นำมาเลี้ยงเมื่อครั้งที่กองทัพ Norman บุกเกาะอังกฤษ เมื่อปี 1066 และการที่คนทำแผ่นหนังสือไม่ได้ใช้กวาง Roe คงเป็นเพราะกวางสายพันธุ์นี้มีน้อย และกวาง Fallow อาจจะมีมากเกินไป ซึ่งข้อมูลประชากรกวางที่ได้จากการวิจัยนี้ ไม่ได้มีบันทึกในประวัติศาสตร์ของอังกฤษเลย
สำหรับกระดาษหนังที่ใช้ในการทำจารึกก็พบว่าทำจากหนังแพะ ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลก เพราะแพะเป็นสัตว์หายากในประเทศอังกฤษ จะมีก็แต่คนจนเท่านั้นที่เลี้ยงแพะ ข้อมูลนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ในบางเวลาสถาบันศาสนาก็ประสบความแร้นแค้นในการหาหนังสัตว์มาทำกระดาษหนัง ซึ่งตามปกติมักใช้หนังกวาง หนังวัว และหนังแกะ แต่เมื่อไม่มีสัตว์ดังกล่าวมากพอ บาทหลวงจึงต้องหันมาใช้หนังแพะแทน แต่ก็เป็นไปได้ว่า ทางสถาบันศาสนาต้องการเลี้ยงแกะให้เติบโตเต็มที่ เพื่อจะได้ตัดขนไปขาย และได้หันไปใช้หนังแพะทำกระดาษหนังแทน
การวิเคราะห์กระดาษหนังทั้งหมดในจารึกได้แสดงให้เห็นว่า ช่างทำจารึกได้ใช้วัวตัวอ่อน 8.5 ตัว แกะ 10.5 ตัว และแพะ 0.5 ตัว เพื่อทำกระดาษหนังทั้งหมด 156 หน้า โดยมีเพียง 3 หน้าเท่านั้น ที่ทำจากหนังแพะ ครั้นเมื่อนักวิจัยได้พิจารณาคำต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในจารึกก็พบว่า ลายมือที่เขียนบนกระดาษหนังแพะเป็นลายมือที่แตกต่างจากลายมือในส่วนอื่นของจารึก อีกทั้งคำที่เขียนก็มีการสะกดคำผิดมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่คัดจารึกคนเดิมได้ถูกไล่ออก แล้วคนใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่แทน
จารึก Gospel of Luke นี้ ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 990 ซึ่งนับเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่อังกฤษประสบเหตุการณ์โรคระบาดหนักในสัตว์ ซึ่งมีผลทำให้วัวได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดจารึกจึงทำด้วยกระดาษหนังวัว
สำหรับการวิเคราะห์ DNA นั้น นักวิจัยได้ DNA ตัวอย่างจากสำลีที่ใช้ทำความสะอาดและพบว่า 20% ของ DNA ตัวอย่างมาจากคน คงเพราะในพิธีสาบานของคนที่จะบวช เมื่อ 500 ปีก่อน เขาจะต้องอ่านคัมภีร์ แล้วจุมพิตลงที่หน้ากระดาษ จุลินทรีย์ที่หน้าคนจึงหลุดออกมาและพบว่าเป็นชนิด Propionibacterium ที่ทำให้ใบหน้าคนเป็นสิว กับชนิด staphylococcus ที่ทำให้คนเป็นแผลอักเสบ
แต่มีนักวิจัยหลายคนที่ได้แย้งว่า DNA ของมนุษย์ที่พบ อาจจะมีต้นกำเนิดจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ หรืออาจจะมาจากคนที่ได้ใช้มือลูบไล้ไปบนกระดาษหนัง และการพบจุลินทรีย์ในปริมาณมากบนภาพของพระเยซูที่ถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขน เพราะภาพนี้ได้ถูกบรรดานักบวชจุมพิตที่พระบาทบ่อย บริเวณนั้นจึงมีสารคัดหลั่งในปริมาณมากกว่าบริเวณอื่น การตรวจสาร DNA ของสารคัดหลั่งเหล่านี้ สามารถบอกสีผมของนักบวชและคนที่เป็นเจ้าของสารคัดหลั่งนั้นได้ว่าป่วยเป็นโรคอะไร หรือเป็นชนชาติใดก็ได้ด้วย
เพราะเทคนิคนี้มีประสิทธิภาพมาก ดังนั้นสมาพันธ์ยุโรป (EU) จึงได้ประกาศสนับสนุนการวิเคราะห์ DNA จากหนังสือจารึกโบราณแห่ง Dead Sea (Dead Sea Scrolls) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประเทศ Israel นักวิจัยบางคนยังได้เสนอให้นำหนังสือ เอกสาร และบันทึกที่ Isaac Newton เคยอ่าน ใช้ และเขียน มาตรวจหา DNA ของท่านด้วย เพื่อจะได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านอีกหลายข้อมูลที่โลกปัจจุบันยังไม่มีใครรู้
ด้านนักชีววิทยาก็สนใจหนอนที่ชอนไชหนังสือ และพบว่าหนอนที่อยู่ใน Gospel of Luke เป็นสายพันธุ์ Anobium punctatum ซึ่งลำตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.3 มิลลิเมตร และมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้นการศึกษา DNA ของหนอน จึงทำให้รู้ว่า จารึกถูกทำขึ้นเมื่อไร ณ ที่ใด และจากที่นั้น จารึกได้ถูกส่งต่อไป ณ ที่ใด โดยอาจจะดู DNA ของหนอนที่พบในจารึกว่า เป็นหนอนประจำท้องถิ่นใดบ้าง
จึงเป็นว่านักประวัติศาสตร์ทุกวันนี้กำลังตื่นเต้นที่ได้รู้ว่า นักชีววิทยาสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการวิจัยประวัติศาสตร์ได้ และยังสามารถช่วยนักประวัติศาสตร์ให้สามารถตอบคำถามได้อีกเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
เมื่อปี 2016 วงการประวัติศาสตร์ของอังกฤษได้ตื่นเต้นกับข่าวการพบแผ่นจารึกโบราณที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยเมื่อ 2,000 ปีก่อน เพราะมันเป็นจารึกที่มีอายุมากที่สุด คือ มากกว่าสถิติเดิมถึง 40 ปี ละพบโดยทีมนักวิจัยจากสถาบัน Mavor Institute for Ancient Military History แห่งเมือง Basel ในประเทสสวิตเซอร์แลนด์ โดยนักวิจัยได้ขุดพบจารึก ณ บริเวณใกล้สถานีรถไฟใต้ดินชื่อ Bank (of England) เป็นจารึกรวมทั้งสิ้น 405 แผ่น
การวัดอายุโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ได้แสดงให้เห็นว่า แผ่นจารึกซึ่งถูกทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นระหว่าง ค.ศ.43-80 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษกำลังถูกยึดครองโดยกองทัพโรมัน
ข้อความภาษาละตินบนแผ่นจารึก ได้ทำให้นักประวัติศาสตร์รู้วิถีชีวิตของผู้คนในถิ่นนั้น ณ ช่วงเวลานั้น คือ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษแรกดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การได้กล่าวถึงการสร้างโรงเรียนให้เด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือ และประเพณีการให้ขนมปังกับเกลือเป็นของขวัญ เพื่อแสดงความเป็นมิตรกัน
เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งของจารึกได้กล่าวถึงบริเวณที่ตั้ง (ซึ่งเป็นกรุงลอนดอนในปัจจุบัน) ว่าเป็นเนินเขา มีท้องทุ่งและป่าไม้ มีประชาชนอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และมีชนหลายอาชีพ เช่น ครู ทหาร พ่อค้า คนต้มเบียร์ ฯลฯ
แม้รอยหมึกบนจารึกจะจางหายไปหลายส่วนแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ก็สามารถรู้ได้ว่าการทักทายในสมัยนั้น เป็นไปอย่างสุภาพมาก เช่น ใช้คำว่า พี่ (น้อง) สุดที่รัก (dearest brother และ dearest sister) เป็นต้น
ส่วนในทวีปแอฟริกาก็มีจารึกโบราณเช่นกัน เช่นที่เมือง Timbuktu ในประเทศ Mali (Mali มีชื่อเดิมว่า Sudan) เมืองนี้เคยเจริญรุ่งเรืองเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในอดีตเวลาชาวยุโรปกล่าวถึงเมือง Timbuktu เขาหมายถึงเมืองที่เจริญและเป็นอารยะ แต่อยู่ไกลสุดขอบฟ้า จนคนที่ไปเยือนอาจไม่มีชีวิตรอดกลับมา ความรุ่งเรืองของเมืองเกิดจากการเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ เมื่อพ่อค้าจากดินแดนที่อยู่ทางใต้นำทองคำมาซื้ออูฐและแพะเพื่อนำไปเลี้ยง แล้วแลกเปลี่ยนงาช้างกับพ่อค้าเกลือที่เดินทางมาจากดินแดนทางเหนือ ธุรกิจลักษณะนี้ได้ทำให้ Timbuktu เป็นรอยต่อของการประสานอารยธรรมแอฟริกันกับอารยธรรม Mediterranean ทำให้มีปราชญ์ที่มีชื่อเสียงหลายคน ซึ่งได้เขียนตำราไว้มากมาย จึงมีห้องสมุดเป็นที่เก็บสะสมประวัติความเป็นมาของชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงมีตำราที่ได้ประมวลความรู้ด้านศาสนา คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ ไว้ด้วย
แต่ในปี 1591 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) เมืองได้ถูกกองโจร Morocco บุกปล้นและยึดครองเมืองได้ กองโจรจึงเนรเทศนักวิชาการทุกคนออกจากเมือง และได้นำเอกสารจำนวนมาก ในห้องสมุดไปทิ้ง บรรดาคนที่รักความรู้จึงนำเอกสารไปซุกซ่อนหรือฝังดิน หลังจากที่เวลาผ่านไปนาน เอกสารได้ถูกสภาพอากาศที่ร้อนจัดแผดเผา หรือถูกน้ำท่วม กระดาษต้นฉบับจึงเปราะ และหมึกที่เขียนได้ถูกลบเลือนหายไปหลายส่วน แต่ก็มีเหลือพอให้รู้ว่า ได้มีการกล่าวถึงลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์ วิธีรักษาโรคมาลาเรีย ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่านักวิชาการจากเมือง Toledo ในประเทศสเปน ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์จากยุโรปมายัง Timbuktu แม้คนที่อพยพมานี้จะไม่มีแผ่นดินอยู่ แต่เขามีตำรา ดังนั้นเมื่อได้เดินทางมาถึง Timbuktu ก็แต่งตำราเพิ่มเติม รวมถึงได้จัดสร้างห้องสมุดประจำเมืองด้วย
ณ วันนี้ หนังสือบางเล่มในห้องสมุดยังอยู่ในสภาพดี ภาพวาดในหนังสือบางเล่มก็ยังปรากฏชัด ปกหนังสือบางเล่มทำด้วยหนังสัตว์ บรรณารักษ์ห้องสมุดได้เล่าว่า ได้ซื้อหนังสือโบราณจากคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนมากเป็นคนยากจน จึงได้นำหนังสือเก่า ๆ ที่บรรพบุรุษเก็บสะสมไว้มาแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หนังสือบางเล่มถูกมอดกิน และหลายเล่มถูกชาวบ้านยืมไปแล้วไปคืน ฯลฯ
เมื่อ 50 ปีก่อนนี้ Mahmoud Zouber ได้เดินทางด้วยอูฐท่องทะเลทราย Sahara เพื่อซื้อหนังสือโบราณที่เขียนโดยชาวแอฟริกันที่มีอายุตั้งแต่ 400-500 ปีขึ้นไป เพราะตระหนักในความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ จึงนำมาเก็บสะสมในห้องสมุด เมือง Timbuktu เพื่อแสดงนิทรรศการด้านภูมิปัญญาและประวัติความเป็นมาของชาว Mali เพื่อให้ทุกคนรักและอนุรักษ์สมบัติทางปัญญาของชาติสืบไป
ถึงวันนี้ห้องสมุด Timbuktu ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Ford และจากองค์การวัฒนธรรมในหลายประเทศ เช่น สเปนและนอร์เวย์ จนเป็นห้องสมุดที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง มีเอกสารที่มีค่าควรเมืองประมาณ 18,000 ชิ้น ความสำคัญของเอกสารได้ปรากฏ เมื่อนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Cape Town ในประเทศ Mali ได้แปล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเอกสารส่วนที่เกี่ยวกับโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ และพบว่าจากเดิมที่ใคร ๆ เคยคิดว่า ความรู้ดาราศาสตร์ของชาติตะวันตกเป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาจากนักดาราศาสตร์ในจีน อินเดีย กรีซ Mesopotamia และ Mesoamerica (Maya, Inca) โดยไม่มีนักดาราศาสตร์ชาวแอฟริกันเลย เพราะคิดไปว่าดินแดนแอฟริกามีแต่คนที่ชอบเต้นรำและร้องเพลง เมื่อความรู้จากเอเชีย ตะวันออกกลาง และกรีซเดินทางถึงแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 6 นักวิชาการของแอฟริกาก็ได้นำความรู้เหล่านั้นส่งต่อให้นักวิชาการในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance) แล้วนักวิทยาศาสตร์ยุโรปก็ได้ปฏิรูปวิทยาการจนยืนยงมาถึงทุกวันนี้
แต่หลังจากการแปลตำราเมือง Timbuktu โดย Thebe Medupe ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ในสังกัดมหาวิทยาลัย Cape Town ในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2006 เขาได้พบว่า นักวิชาการแห่ง Timbuktu มีความรู้ดาราศาสตร์ค่อนข้างดีมาเป็นเวลานาน
ความจริงหนึ่งที่ได้จากงานแปลนี้ คือ การแปลมิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย เพราะภาษาที่ใช้เขียนเป็นภาษา Songhou และ Hausa ซึ่งเป็นภาษาที่โบราณมากจนไม่มีใครใช้อีกแล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างของภาษาว่า ประโยคไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน เอกสารหลายฉบับไม่มีปกหนังสือ แต่คณะแปลก็ได้พยายามแปล จนเสร็จหลายพันฉบับจากทั้งหมด 18,000 ฉบับ และพบว่านักปราชญ์แห่ง Timbuktu มีผลงานวิทยาศาสตร์มาก ดังในปี 1723 Abul Abbas ได้อ้างถึงผลงานของปราชญ์ Timbuktu ที่ตระหนักว่า โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ นั่นแสดงว่า 300 ปีหลังจากที่ Copernicus ได้พบว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของเอกภพ เหล่าปราชญ์ Timbuktu ไม่ได้ติดต่อกับปราชญ์นอกประเทศเลย
ในเอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่มีอายุมากกว่า 600 ปี มีภาพวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1583 และมีเอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่ได้กล่าวถึง การใช้อุปกรณ์ดาราศาสตร์ในการหาตำแหน่งของเมือง Mecca
ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่า ปราชญ์เมือง Timbuktu มีความรู้ดาราศาสตร์มานานกว่า 600 ปี ไม่ใช่เพิ่งรู้เมื่อ 300 ปีก่อน และคนเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรู้ดาราศาสตร์ เพราะเหตุผล 3 ประการคือ
(1) การนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ชาว Timbuktu ต้องสวดมนตร์ ซึ่งผู้สวดจำเป็นต้องรู้ทั้งทิศที่ตั้งของเมือง Mecca และตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเมือง Timbuktu
(2) ผู้สวดมนตร์จำเป็นต้องรู้เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเที่ยงวัน เวลาบ่าย เวลาดวงอาทิตย์ตก และเวลาเย็นเพื่อจะได้สวดมนตร์ตรงเวลา และนักวิชาการ Timbuktu ก็ได้พบว่า วิธีการหาเวลาที่นักดาราศาสตร์กรีกใช้นั้น เป็นวิธีที่ยุ่งยากและเสียเวลามาก จึงคิดวิธีหาเวลาใหม่ โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ นั่นคือใช้วิชาตรีโกณมิติ ในการหาค่าของ sine, cosine, tangent, cotangent, secant และ cosecant ของมุมต่าง ๆ
และ (3 ) นักวิชาการ Timbuktu ต้องการความรู้ดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตาของชาวเมือง ดังนั้น จึงได้สร้างตารางแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์ ณ เวลาต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานของโหร
ณ วันนี้ นักวิชาการได้แปลเอกสารที่เขียนเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ ด้วย
โดยสรุปการพบและอ่านเอกสารที่เขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาในสมัยโบราณ เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้ทำให้หนุ่มสาวชาวแอฟริกันมีแรงดลใจที่จะทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ ดังที่บรรพบุรุษของตนได้เคยทำมาแล้วในอดีต
สำหรับจารึกภาษาไทยโบราณ หรือคัมภีร์ใบลานต่าง ๆ ของเราก็อาจจะนำมาวิเคราะห์ได้ในทำนองเดียวกัน เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ครบ 360 องศา โดยไม่คำนึงว่าจารึกนั้นจะอยู่บนกระดาษ หนังสัตว์ เปลือกไม้ หรือผนังถ้ำก็ตาม ข้อมูลที่ได้จะทำให้เรารู้ที่มาของสังคมโบราณของไทยเราดีขึ้นมาก
อ่านเพิ่มเติมจาก “Biology of the Book” โดย Ann Gibbons ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2017
สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" จาก "ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน" ได้ทุกวันศุกร์
จนกระทั่งถึงปี1448 เมื่อJohannes Gutenberg ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แล้วเทคโนโลยีนี้ก็ได้เริ่มเปลี่ยนโลก เพราะได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงหนังสือได้ง่าย แล้วสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้สู่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไปได้ในรูปของตำรา เอกสาร และจารึกต่าง ๆ แต่วัสดุที่ใช้ในการบันทึกเรื่องราวและความรู้เหล่านี้ ในบางครั้งต้องประสบเหตุการณ์รุนแรง เช่น ในศึกสงครามที่มีการเผาเอกสารมีค่าไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ความรู้จำนวนมากต้องสูญหายไปอย่างนิจนิรันดร์ หรือในบางกรณี เอกสารได้ถูกน้ำท่วม หรือถูกสภาพดินฟ้าอากาศที่รุนแรงทำร้าย จนหมึกที่ใช้ในการเขียนได้เลือนหายไป หรือหนังสือถูกทอดทิ้งอย่างไม่มีใครสนใจใยดี เพราะภาษาที่เขียนเป็นภาษาโบราณมาก จนคนปัจจุบันไม่มีใครอ่านออก ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เนื้อกระดาษ หรือหนังสัตว์ที่ใช้ในการเขียนได้เปลี่ยนสภาพไป เพราะถูกปลวกกัดกิน เป็นต้น
ดังนั้น เวลามีการพบจารึกโบราณชิ้นใหม่ ทุกคนในวงวิชาการจะรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะสิ่งที่ปรากฏในจารึกสามารถช่วยให้เรา “เห็นและเข้าใจ” เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในอดีตได้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่ในด้านประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่อาจจะรวมถึงความรู้ด้านสังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ และอะไร ๆ อีกมากที่ไม่มีในจารึกด้วย เช่น รู้คนที่เขียนจารึกว่าเป็นใคร รู้แหล่งผลิตและเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงรู้เวลาที่ผลิตจารึกด้วย โดยใช้เทคโนโลยีชีววิทยาเชิงโมเลกุล
ห้องสมุด Bodleian ของมหาวิทยาลัย Oxford ในประเทศอังกฤษ เป็นห้องสมุดที่โบราณที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป ตั้งตามชื่อของ Sir Thomas Bodley เมื่อปี 1602 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ห้องสมุดนี้มีเอกสารรวมทั้งสิ้นกว่า 13 ล้านชิ้น บางชิ้นมีอายุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงเป็นเอกสารหายากมาก เพราะถ้าถูกทำลายไป ประวัติศาสตร์โลกส่วนหนึ่งก็จะสูญหายไปในทันที ด้วยเหตุนี้บรรณารักษ์ห้องสมุดจึงห้ามมิให้ใครที่ไปเยือนห้องหนังสือหายาก นำปากกา กระเป๋าถือ ของมีคม หรือแม้แต่เครื่องดื่มเข้าไปในห้องเก็บสะสมวัตถุหายากเหล่านี้ และถ้าใครต้องการจะอ่านหนังสือ บรรณารักษ์ก็จะใช้มือที่สวมถุงมือเปิดให้ดูทีละหน้า
แต่เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ ได้มีทีมนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักชีวเคมี นักชีววิทยาวิวัฒนาการ นักประชากรศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเหตุการณ์ยุคกลาง ได้พบว่า ในจารึกโบราณชื่อ Gospel of Luke ซึ่งมีซากของโปรตีนโบราณและ DNA โบราณของจุลินทรีย์ที่ดำรงชีพอยู่ได้ ด้วยการกัดกินสารที่ใช้ในการสร้างจารึก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจจะมาจากบุคคลในอดีตที่ได้หยิบจับหรือพลิกอ่านจารึก เพราะจารึกดังกล่าว เป็นวรสาร (gospel) ดังนั้นจึงอาจจะมีคนอ่านบางคนได้จุมพิตภาพของพระเยซูในจารึก ทำให้สารคัดหลั่งจากปากหรือจมูกไปติดบนแผ่นหนังสัตว์ที่เป็นวัสดุใช้ทำจารึก หรือจุลินทรีย์เหล่านั้นอาจจะออกมาจากการไอ หรือจามของคนอ่านก็เป็นได้
Gospel of Luke จึงเป็นจารึกยุคกลางที่ยังไม่มีใครได้ศึกษาและวิเคราะห์เชิงชีววิทยาโมเลกุลมาก่อน ตัวจารึกประกอบด้วยแผ่นหนังสัตว์ จำนวน 19 ชุด ที่ถูกนำมาเย็บเรียงกัน โดยแต่ละชุดมีหนังสัตว์ 4 แผ่น การอ่านข้อความที่เขียนทำให้นักวิจัยรู้ข้อมูลชีวิต ในสมัยเมื่อ 800 ปีก่อน ในด้านการทำเกษตรกรรม การรณรงค์โรคร้ายต่าง ๆ ความเป็นอยู่ และความเชื่อ ฯลฯ นั่นคือ เมื่อนักวิจัยที่มิใช่นักประวัติศาสตร์หรือนักโบราณคดีได้เข้ามาศึกษาเรื่องนี้ ก็ได้พบว่ามันมีความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมายที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน
ตัวจารึก Gospel of Luke ได้ถูกนำออกประมูลขายครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2009 ที่สถาบัน Sotheby ในกรุงลอนดอน และนักประวัติศาสตร์ชื่อ William Zachs ได้ซื้อ จารึกโบราณที่ถูกทำขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ.1120 ไป ซึ่งลายจารึกได้ถูกเขียนขึ้นโดยอาลักษณ์ประจำมหาวิหาร St. Augustine ที่เมือง Canterbury ในประเทศอังกฤษ เนื้อหาในจารึกส่วนใหญ่เป็นคำสอนทางศาสนา และมีการเขียนคำวิจารณ์แนบอยู่ที่ขอบของแผ่นหนัง หน้าปกของจารึกทำด้วยหนังสัตว์ที่สามารถบอกได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด จากการศึกษาลำดับของกรด amino และการวิเคราะห์ collagen กับ protein ของโมเลกุลที่สกัดได้จากหนังสัตว์ ทำให้นักวิจัยได้พบว่าหมึกที่ใช้เขียนมีส่วนประกอบของหินสีฟ้าเข้ม (lapis lazuli) จากประเทศ Afghanistan
ครั้นเมื่อ Andrew Honey จากมหาวิทยาลัย Oxford เมื่อได้เห็นรูในจารึกที่ปลวกเจาะผ่านกระดาษหนังลงไปจนถึงปก ซึ่งทำด้วยไม้โอ๊ก (oak) เขาได้สันนิษฐานว่าก่อนที่ช่างไม้จะตัดต้นโอ๊ก เพื่อนำมาทำปกจารึก ในไม้มีตัวอ่อนของแมลง beetle อาศัยอยู่ ดังนั้นเมื่อไม้ถูกนำมาทำปก รูที่เห็น จึงน่าจะมีอายุประมาณ 900 ปี ด้วยเหตุนี้ การรู้ DNA ของแมลง beetle จะสามารถบอกแหล่งที่มาของจารึกได้ว่าผลิตจากสถานที่ใด นอกจากนี้ข้อมูล DNA ของแมลง beetle ก็ยังสามารถช่วยให้เราเห็นเส้นทางวิวัฒนาการของแมลงชนิดนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้
ข้อมูลโปรตีนที่พบในกระดาษหนัง (parchment) ก็สามารถบอกได้ว่า หนังสัตว์ที่ใช้ทำกระดาษหนังนั้น เป็นสัตว์ชนิดใด และการรู้ชนิดของสัตว์ดังกล่าวจะทำให้เรารู้สถานภาพการทำปศุสัตว์ของชนเผ่าที่ผลิตจารึกได้ด้วยว่า นิยมเลี้ยงสัตว์ชนิดใด หรือไม่เลี้ยงสัตว์ชนิดใดบ้าง
ตามปกติการจะรู้ DNA ของสัตว์ที่ใช้ในการทำกระดาษหนัง นักวิจัยจำต้องตัดชิ้นส่วนของกระดาษหนังนั้น เพื่อนำไปวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องที่บรรณารักษ์หรือภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ไม่ยินดีและไม่อนุญาต ดังนั้นเมื่อขอก็ไม่ให้และซื้อก็ไม่ขาย นักวิจัยจึงจำเป็นต้องหาทางออก โดยใช้วิธีทดสอบที่ทำให้วัตถุไม่บุบสลาย ในการจะได้ข้อมูลโปรตีนของกระดาษหนัง นักวิจัยได้พบว่าเวลาภัณฑารักษ์ทำความสะอาดจารึก เขาใช้ยางลบที่ทำด้วยวัสดุ polyvinyl chloride ลบรอยเปื้อนและคราบสกปรกอย่างแผ่วเบา และพบว่าเส้นใยโมเลกุลจะหลุดออกจากกระดาษหนัง ซึ่งเมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วย mass spectrometer เขาก็จะสามารถบอกชนิดของโปรตีนได้
ผลการวิเคราะห์โปรตีนในวรสาร Gospel of Luke ได้แสดงให้เห็นว่า กระดาษหนังจารึกโบราณเล่มนี้ ทำจากหนังกวาง Roe deer ที่พบมากในประเทศอังกฤษ เมื่อ 900 ปีก่อน ส่วนสายหนังที่ใช้รัดปกจารึกนั้น ทำจากหนังกวางอีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ Fallow deer ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และเป็นกวางชนิดที่นักรบชาว Norman นำมาเลี้ยงเมื่อครั้งที่กองทัพ Norman บุกเกาะอังกฤษ เมื่อปี 1066 และการที่คนทำแผ่นหนังสือไม่ได้ใช้กวาง Roe คงเป็นเพราะกวางสายพันธุ์นี้มีน้อย และกวาง Fallow อาจจะมีมากเกินไป ซึ่งข้อมูลประชากรกวางที่ได้จากการวิจัยนี้ ไม่ได้มีบันทึกในประวัติศาสตร์ของอังกฤษเลย
สำหรับกระดาษหนังที่ใช้ในการทำจารึกก็พบว่าทำจากหนังแพะ ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลก เพราะแพะเป็นสัตว์หายากในประเทศอังกฤษ จะมีก็แต่คนจนเท่านั้นที่เลี้ยงแพะ ข้อมูลนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ในบางเวลาสถาบันศาสนาก็ประสบความแร้นแค้นในการหาหนังสัตว์มาทำกระดาษหนัง ซึ่งตามปกติมักใช้หนังกวาง หนังวัว และหนังแกะ แต่เมื่อไม่มีสัตว์ดังกล่าวมากพอ บาทหลวงจึงต้องหันมาใช้หนังแพะแทน แต่ก็เป็นไปได้ว่า ทางสถาบันศาสนาต้องการเลี้ยงแกะให้เติบโตเต็มที่ เพื่อจะได้ตัดขนไปขาย และได้หันไปใช้หนังแพะทำกระดาษหนังแทน
การวิเคราะห์กระดาษหนังทั้งหมดในจารึกได้แสดงให้เห็นว่า ช่างทำจารึกได้ใช้วัวตัวอ่อน 8.5 ตัว แกะ 10.5 ตัว และแพะ 0.5 ตัว เพื่อทำกระดาษหนังทั้งหมด 156 หน้า โดยมีเพียง 3 หน้าเท่านั้น ที่ทำจากหนังแพะ ครั้นเมื่อนักวิจัยได้พิจารณาคำต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในจารึกก็พบว่า ลายมือที่เขียนบนกระดาษหนังแพะเป็นลายมือที่แตกต่างจากลายมือในส่วนอื่นของจารึก อีกทั้งคำที่เขียนก็มีการสะกดคำผิดมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่คัดจารึกคนเดิมได้ถูกไล่ออก แล้วคนใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่แทน
จารึก Gospel of Luke นี้ ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 990 ซึ่งนับเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่อังกฤษประสบเหตุการณ์โรคระบาดหนักในสัตว์ ซึ่งมีผลทำให้วัวได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดจารึกจึงทำด้วยกระดาษหนังวัว
สำหรับการวิเคราะห์ DNA นั้น นักวิจัยได้ DNA ตัวอย่างจากสำลีที่ใช้ทำความสะอาดและพบว่า 20% ของ DNA ตัวอย่างมาจากคน คงเพราะในพิธีสาบานของคนที่จะบวช เมื่อ 500 ปีก่อน เขาจะต้องอ่านคัมภีร์ แล้วจุมพิตลงที่หน้ากระดาษ จุลินทรีย์ที่หน้าคนจึงหลุดออกมาและพบว่าเป็นชนิด Propionibacterium ที่ทำให้ใบหน้าคนเป็นสิว กับชนิด staphylococcus ที่ทำให้คนเป็นแผลอักเสบ
แต่มีนักวิจัยหลายคนที่ได้แย้งว่า DNA ของมนุษย์ที่พบ อาจจะมีต้นกำเนิดจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ หรืออาจจะมาจากคนที่ได้ใช้มือลูบไล้ไปบนกระดาษหนัง และการพบจุลินทรีย์ในปริมาณมากบนภาพของพระเยซูที่ถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขน เพราะภาพนี้ได้ถูกบรรดานักบวชจุมพิตที่พระบาทบ่อย บริเวณนั้นจึงมีสารคัดหลั่งในปริมาณมากกว่าบริเวณอื่น การตรวจสาร DNA ของสารคัดหลั่งเหล่านี้ สามารถบอกสีผมของนักบวชและคนที่เป็นเจ้าของสารคัดหลั่งนั้นได้ว่าป่วยเป็นโรคอะไร หรือเป็นชนชาติใดก็ได้ด้วย
เพราะเทคนิคนี้มีประสิทธิภาพมาก ดังนั้นสมาพันธ์ยุโรป (EU) จึงได้ประกาศสนับสนุนการวิเคราะห์ DNA จากหนังสือจารึกโบราณแห่ง Dead Sea (Dead Sea Scrolls) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประเทศ Israel นักวิจัยบางคนยังได้เสนอให้นำหนังสือ เอกสาร และบันทึกที่ Isaac Newton เคยอ่าน ใช้ และเขียน มาตรวจหา DNA ของท่านด้วย เพื่อจะได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านอีกหลายข้อมูลที่โลกปัจจุบันยังไม่มีใครรู้
ด้านนักชีววิทยาก็สนใจหนอนที่ชอนไชหนังสือ และพบว่าหนอนที่อยู่ใน Gospel of Luke เป็นสายพันธุ์ Anobium punctatum ซึ่งลำตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.3 มิลลิเมตร และมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้นการศึกษา DNA ของหนอน จึงทำให้รู้ว่า จารึกถูกทำขึ้นเมื่อไร ณ ที่ใด และจากที่นั้น จารึกได้ถูกส่งต่อไป ณ ที่ใด โดยอาจจะดู DNA ของหนอนที่พบในจารึกว่า เป็นหนอนประจำท้องถิ่นใดบ้าง
จึงเป็นว่านักประวัติศาสตร์ทุกวันนี้กำลังตื่นเต้นที่ได้รู้ว่า นักชีววิทยาสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการวิจัยประวัติศาสตร์ได้ และยังสามารถช่วยนักประวัติศาสตร์ให้สามารถตอบคำถามได้อีกเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
เมื่อปี 2016 วงการประวัติศาสตร์ของอังกฤษได้ตื่นเต้นกับข่าวการพบแผ่นจารึกโบราณที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยเมื่อ 2,000 ปีก่อน เพราะมันเป็นจารึกที่มีอายุมากที่สุด คือ มากกว่าสถิติเดิมถึง 40 ปี ละพบโดยทีมนักวิจัยจากสถาบัน Mavor Institute for Ancient Military History แห่งเมือง Basel ในประเทสสวิตเซอร์แลนด์ โดยนักวิจัยได้ขุดพบจารึก ณ บริเวณใกล้สถานีรถไฟใต้ดินชื่อ Bank (of England) เป็นจารึกรวมทั้งสิ้น 405 แผ่น
การวัดอายุโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ได้แสดงให้เห็นว่า แผ่นจารึกซึ่งถูกทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นระหว่าง ค.ศ.43-80 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษกำลังถูกยึดครองโดยกองทัพโรมัน
ข้อความภาษาละตินบนแผ่นจารึก ได้ทำให้นักประวัติศาสตร์รู้วิถีชีวิตของผู้คนในถิ่นนั้น ณ ช่วงเวลานั้น คือ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษแรกดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การได้กล่าวถึงการสร้างโรงเรียนให้เด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือ และประเพณีการให้ขนมปังกับเกลือเป็นของขวัญ เพื่อแสดงความเป็นมิตรกัน
เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งของจารึกได้กล่าวถึงบริเวณที่ตั้ง (ซึ่งเป็นกรุงลอนดอนในปัจจุบัน) ว่าเป็นเนินเขา มีท้องทุ่งและป่าไม้ มีประชาชนอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และมีชนหลายอาชีพ เช่น ครู ทหาร พ่อค้า คนต้มเบียร์ ฯลฯ
แม้รอยหมึกบนจารึกจะจางหายไปหลายส่วนแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ก็สามารถรู้ได้ว่าการทักทายในสมัยนั้น เป็นไปอย่างสุภาพมาก เช่น ใช้คำว่า พี่ (น้อง) สุดที่รัก (dearest brother และ dearest sister) เป็นต้น
ส่วนในทวีปแอฟริกาก็มีจารึกโบราณเช่นกัน เช่นที่เมือง Timbuktu ในประเทศ Mali (Mali มีชื่อเดิมว่า Sudan) เมืองนี้เคยเจริญรุ่งเรืองเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในอดีตเวลาชาวยุโรปกล่าวถึงเมือง Timbuktu เขาหมายถึงเมืองที่เจริญและเป็นอารยะ แต่อยู่ไกลสุดขอบฟ้า จนคนที่ไปเยือนอาจไม่มีชีวิตรอดกลับมา ความรุ่งเรืองของเมืองเกิดจากการเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ เมื่อพ่อค้าจากดินแดนที่อยู่ทางใต้นำทองคำมาซื้ออูฐและแพะเพื่อนำไปเลี้ยง แล้วแลกเปลี่ยนงาช้างกับพ่อค้าเกลือที่เดินทางมาจากดินแดนทางเหนือ ธุรกิจลักษณะนี้ได้ทำให้ Timbuktu เป็นรอยต่อของการประสานอารยธรรมแอฟริกันกับอารยธรรม Mediterranean ทำให้มีปราชญ์ที่มีชื่อเสียงหลายคน ซึ่งได้เขียนตำราไว้มากมาย จึงมีห้องสมุดเป็นที่เก็บสะสมประวัติความเป็นมาของชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงมีตำราที่ได้ประมวลความรู้ด้านศาสนา คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ ไว้ด้วย
แต่ในปี 1591 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) เมืองได้ถูกกองโจร Morocco บุกปล้นและยึดครองเมืองได้ กองโจรจึงเนรเทศนักวิชาการทุกคนออกจากเมือง และได้นำเอกสารจำนวนมาก ในห้องสมุดไปทิ้ง บรรดาคนที่รักความรู้จึงนำเอกสารไปซุกซ่อนหรือฝังดิน หลังจากที่เวลาผ่านไปนาน เอกสารได้ถูกสภาพอากาศที่ร้อนจัดแผดเผา หรือถูกน้ำท่วม กระดาษต้นฉบับจึงเปราะ และหมึกที่เขียนได้ถูกลบเลือนหายไปหลายส่วน แต่ก็มีเหลือพอให้รู้ว่า ได้มีการกล่าวถึงลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์ วิธีรักษาโรคมาลาเรีย ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่านักวิชาการจากเมือง Toledo ในประเทศสเปน ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์จากยุโรปมายัง Timbuktu แม้คนที่อพยพมานี้จะไม่มีแผ่นดินอยู่ แต่เขามีตำรา ดังนั้นเมื่อได้เดินทางมาถึง Timbuktu ก็แต่งตำราเพิ่มเติม รวมถึงได้จัดสร้างห้องสมุดประจำเมืองด้วย
ณ วันนี้ หนังสือบางเล่มในห้องสมุดยังอยู่ในสภาพดี ภาพวาดในหนังสือบางเล่มก็ยังปรากฏชัด ปกหนังสือบางเล่มทำด้วยหนังสัตว์ บรรณารักษ์ห้องสมุดได้เล่าว่า ได้ซื้อหนังสือโบราณจากคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนมากเป็นคนยากจน จึงได้นำหนังสือเก่า ๆ ที่บรรพบุรุษเก็บสะสมไว้มาแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หนังสือบางเล่มถูกมอดกิน และหลายเล่มถูกชาวบ้านยืมไปแล้วไปคืน ฯลฯ
เมื่อ 50 ปีก่อนนี้ Mahmoud Zouber ได้เดินทางด้วยอูฐท่องทะเลทราย Sahara เพื่อซื้อหนังสือโบราณที่เขียนโดยชาวแอฟริกันที่มีอายุตั้งแต่ 400-500 ปีขึ้นไป เพราะตระหนักในความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ จึงนำมาเก็บสะสมในห้องสมุด เมือง Timbuktu เพื่อแสดงนิทรรศการด้านภูมิปัญญาและประวัติความเป็นมาของชาว Mali เพื่อให้ทุกคนรักและอนุรักษ์สมบัติทางปัญญาของชาติสืบไป
ถึงวันนี้ห้องสมุด Timbuktu ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Ford และจากองค์การวัฒนธรรมในหลายประเทศ เช่น สเปนและนอร์เวย์ จนเป็นห้องสมุดที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง มีเอกสารที่มีค่าควรเมืองประมาณ 18,000 ชิ้น ความสำคัญของเอกสารได้ปรากฏ เมื่อนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Cape Town ในประเทศ Mali ได้แปล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเอกสารส่วนที่เกี่ยวกับโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ และพบว่าจากเดิมที่ใคร ๆ เคยคิดว่า ความรู้ดาราศาสตร์ของชาติตะวันตกเป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาจากนักดาราศาสตร์ในจีน อินเดีย กรีซ Mesopotamia และ Mesoamerica (Maya, Inca) โดยไม่มีนักดาราศาสตร์ชาวแอฟริกันเลย เพราะคิดไปว่าดินแดนแอฟริกามีแต่คนที่ชอบเต้นรำและร้องเพลง เมื่อความรู้จากเอเชีย ตะวันออกกลาง และกรีซเดินทางถึงแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 6 นักวิชาการของแอฟริกาก็ได้นำความรู้เหล่านั้นส่งต่อให้นักวิชาการในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance) แล้วนักวิทยาศาสตร์ยุโรปก็ได้ปฏิรูปวิทยาการจนยืนยงมาถึงทุกวันนี้
แต่หลังจากการแปลตำราเมือง Timbuktu โดย Thebe Medupe ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ในสังกัดมหาวิทยาลัย Cape Town ในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2006 เขาได้พบว่า นักวิชาการแห่ง Timbuktu มีความรู้ดาราศาสตร์ค่อนข้างดีมาเป็นเวลานาน
ความจริงหนึ่งที่ได้จากงานแปลนี้ คือ การแปลมิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย เพราะภาษาที่ใช้เขียนเป็นภาษา Songhou และ Hausa ซึ่งเป็นภาษาที่โบราณมากจนไม่มีใครใช้อีกแล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างของภาษาว่า ประโยคไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน เอกสารหลายฉบับไม่มีปกหนังสือ แต่คณะแปลก็ได้พยายามแปล จนเสร็จหลายพันฉบับจากทั้งหมด 18,000 ฉบับ และพบว่านักปราชญ์แห่ง Timbuktu มีผลงานวิทยาศาสตร์มาก ดังในปี 1723 Abul Abbas ได้อ้างถึงผลงานของปราชญ์ Timbuktu ที่ตระหนักว่า โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ นั่นแสดงว่า 300 ปีหลังจากที่ Copernicus ได้พบว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของเอกภพ เหล่าปราชญ์ Timbuktu ไม่ได้ติดต่อกับปราชญ์นอกประเทศเลย
ในเอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่มีอายุมากกว่า 600 ปี มีภาพวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1583 และมีเอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่ได้กล่าวถึง การใช้อุปกรณ์ดาราศาสตร์ในการหาตำแหน่งของเมือง Mecca
ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่า ปราชญ์เมือง Timbuktu มีความรู้ดาราศาสตร์มานานกว่า 600 ปี ไม่ใช่เพิ่งรู้เมื่อ 300 ปีก่อน และคนเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรู้ดาราศาสตร์ เพราะเหตุผล 3 ประการคือ
(1) การนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ชาว Timbuktu ต้องสวดมนตร์ ซึ่งผู้สวดจำเป็นต้องรู้ทั้งทิศที่ตั้งของเมือง Mecca และตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเมือง Timbuktu
(2) ผู้สวดมนตร์จำเป็นต้องรู้เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเที่ยงวัน เวลาบ่าย เวลาดวงอาทิตย์ตก และเวลาเย็นเพื่อจะได้สวดมนตร์ตรงเวลา และนักวิชาการ Timbuktu ก็ได้พบว่า วิธีการหาเวลาที่นักดาราศาสตร์กรีกใช้นั้น เป็นวิธีที่ยุ่งยากและเสียเวลามาก จึงคิดวิธีหาเวลาใหม่ โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ นั่นคือใช้วิชาตรีโกณมิติ ในการหาค่าของ sine, cosine, tangent, cotangent, secant และ cosecant ของมุมต่าง ๆ
และ (3 ) นักวิชาการ Timbuktu ต้องการความรู้ดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตาของชาวเมือง ดังนั้น จึงได้สร้างตารางแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์ ณ เวลาต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานของโหร
ณ วันนี้ นักวิชาการได้แปลเอกสารที่เขียนเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ ด้วย
โดยสรุปการพบและอ่านเอกสารที่เขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาในสมัยโบราณ เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้ทำให้หนุ่มสาวชาวแอฟริกันมีแรงดลใจที่จะทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ ดังที่บรรพบุรุษของตนได้เคยทำมาแล้วในอดีต
สำหรับจารึกภาษาไทยโบราณ หรือคัมภีร์ใบลานต่าง ๆ ของเราก็อาจจะนำมาวิเคราะห์ได้ในทำนองเดียวกัน เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ครบ 360 องศา โดยไม่คำนึงว่าจารึกนั้นจะอยู่บนกระดาษ หนังสัตว์ เปลือกไม้ หรือผนังถ้ำก็ตาม ข้อมูลที่ได้จะทำให้เรารู้ที่มาของสังคมโบราณของไทยเราดีขึ้นมาก
อ่านเพิ่มเติมจาก “Biology of the Book” โดย Ann Gibbons ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2017
สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" จาก "ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน" ได้ทุกวันศุกร์