วิถีชีวิตของคนทุกอาชีพ แม้จะมีความสามารถในระดับที่ทัดเทียมกัน แต่ก็อาจจะมีความสะดวกสบายที่แตกต่างกันมากราวฟ้ากับเหว เช่น ในกรณีของ Giovanni Bernini กับ Vincent van Gogh
โดยในปี 1664 (รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) สถาปนิกอัจฉริยะชาวอิตาเลียน ชื่อ G. Bernini ผู้มีบทบาทในการออกแบบสร้างมหาวิหาร St. Peters ในกรุงวาติกันประเทศอิตาลี และรูปประติมากรรม David (คนละรูปกับที่ Michelangelo สร้าง) ได้เดินทางจากโรม เพื่อไปถวายงานต่อสมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส ในขบวนเดินทางครั้งนั้น Bernini ได้นำบุตรชาย 1 คน คนรับใช้ 4 คน เลขานุการส่วนตัว 2 คน และพนักงานครัว 1 คนไปด้วย ตลอดการเดินทาง ไม่ว่าจะไปถึงที่ใด บรรดาขุนนางชั้นสูงและข้าราชการของที่นั้น จะพากันออกมาต้อนรับขับสู้ Bernini เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นราชศิลปิน
ด้าน Peter Paul Rubens ซึ่งเป็นศิลปินชาว Flemish ร่วมสมัยกับ Bernini ก็เช่นกัน แต่ Rubens ซึ่งถวายงานอยู่ในราชสำนักของกษัตริย์ดัตช์ ก็เป็นศิลปินอัจฉริยะอีกท่านหนึ่งที่มีฐานะดีมาก เพราะสามารถขายผลงานสร้างสรรค์ได้มากมาย จนมีทรัพย์สินเงินทองเพียงพอที่จะซื้อปราสาทพำนักอยู่นอกเมือง Antwerp ในประเทศเบลเยียมได้
แต่โลกก็มีศิลปินอัจฉริยะอีกหลายท่านที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และอเนจอนาถมาก เพราะผลงานศิลปะที่ทำ ไม่เป็นที่เข้าใจหรือยอมรับของสังคมในสมัยนั้นเลย จนกระทั่งศิลปินได้ตายจากไป ทุกคนจึงได้ตระหนักในความยิ่งใหญ่อย่างไร้เทียมทานของเขา ศิลปินท่านนั้น ชื่อ Vincent van Gogh ผู้ได้วาดภาพแนว impressionism ที่ยิ่งใหญ่ไว้หลายต่อหลายภาพ เช่น The Starry Night , The Potato Eaters , Café Terrace at Night , Irises ฯลฯ ก่อนจะเสียชีวิตในวัยเพียง 37 ปี ด้วยการใช้ปืนยิงตัวตาย เมื่อปี 1890 เพราะถูกสังคมกล่าวหาว่าเป็นคนเสียสติ และมีอาการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะไม่มีใครเข้าใจหรือชื่นชอบผลงานของเขาเลย ดังนั้นจึงไม่มีใครซื้อภาพที่เขาวาด (ตลอดชีวิต van Gogh ขายภาพได้เพียง 3 ภาพ) จึงไม่มีเงินพอจะซื้อสี หรือแปรง และผ้าใบ มาวาดภาพได้ ทำให้ต้องพึ่งพาน้องชาย Theo van Gogh ทั้งในด้านการเงินและการให้กำลังใจ เพื่อให้ตนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้

ภาพวาดที่ทำให้ van Gogh มีชื่อเสียงโดดเด่นระดับโลก คือ ภาพวิวและภาพดอกไม้ เช่น ดอก iris , gladiolus และ aster โดยเฉพาะภาพดอกทานตะวัน (sunflower) เป็นภาพที่ทำให้ van Gogh มีชื่อเสียงมากที่สุด จนมันได้รับฉายาว่าเป็นดอกไม้ของ van Gogh ดังจะเห็นได้จากการประมูลซื้อภาพ Still Life: Vase with Fifteen Sunflowers ที่มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น ชื่อ Yasuo Goto ได้นำไปเก็บเป็นสมบัติส่วนตัวในราคา 39.92 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 1957
สำหรับคนทั่วไปที่ชอบศิลปะภาพวาดในแนว impressionism และไม่มีเงินมากก็สามารถจะชื่นชมภาพวาดของ van Gogh ได้ที่พิพิธภัณฑ์สำคัญ ๆ ทั่วโลก เช่น Van Gogh Museum ในกรุง Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ , National Gallery ที่ London ประเทศอังกฤษ , Metropolitan Museum of Art ที่ New York ประเทศอเมริกา หรือที่ Neue Pinakothek ในนคร Munich ประเทศเยอรมนี เป็นต้น

Vincent van Gogh เกิดที่เมือง Zundert ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 บิดาเป็นนักเทศน์ ในวัยเด็ก van Gogh คิดจะมีอาชีพเหมือนพ่อ แต่สอบวิชาการสอนศาสนาไม่ผ่าน จึงเปลี่ยนใจจะมีอาชีพเป็นศิลปินแทน และตั้งใจว่าจะใช้ศิลปะในการสอนศาสนา van Gogh เริ่มทำงานเป็นพนักงานในร้านขายภาพที่กรุง Hague ตั้งแต่อายุได้ 16 ปี แม้จะทำงานที่ร้านขายภาพนี้นานถึง 4 ปี วิถีชีวิตที่นั่นก็ไม่ได้จุดประกายให้ van Gogh มีอารมณ์สร้างสรรค์ด้านศิลปะแต่อย่างใด
van Gogh จึงลองสอบเข้าเรียนวิชาเทววิทยาที่มหาวิทยา Amsterdam แต่สอบเข้าไม่ได้ แม้จะได้สมัครไปเป็นมิชชันนารีที่กรุง Brussels ก็ไม่ได้อีก ความผิดหวังเหล่านี้ ทำให้ van Gogh มีอาการจิตตกมาก เพราะรู้สึกว่าตนได้พยายามจะทุ่มเทชีวิตให้คนอื่นเป็นอย่างมากและดีที่สุดแล้ว จึงตัดสินใจเบนเข็มทิศชีวิต เข้าสู่วงการสร้างงานศิลปะ คือ เป็นศิลปิน และได้วาดภาพแรกในชีวิตเป็นภาพของเกษตรกรที่กำลังทำงานในทุ่งนา โดยมีสไตล์การวาดในแนวเดียวกับศิลปินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean Francois Millet ที่ตนชื่นชม
จากนั้นภาพที่วาดในเวลาต่อมาก็ล้วนเป็นไปในแนวแสดงความทุกข์ทรมาน และความโศกเศร้า เช่นภาพ The Potato Eaters ซึ่งแสดงความยากจนของครอบครัวชาวไร่มันฝรั่ง ที่มีอาหารหลักเป็นมันฝรั่งเพียง 2-3 หัว และภาพ Sien Hoornik ซึ่งเป็นโสเภณีลูกติดที่ van Gogh ตั้งใจจะมีครอบครัวด้วยกับเธอ แต่เธอก็ปฏิเสธเขาอีก เมื่อชีวิตต้องประสบแต่ความผิดหวังเช่นนี้ van Gogh จึงตัดสินใจไปขออาศัยอยู่กับน้องชาย Theo ซึ่งในเวลานั้นได้เปิดร้านขายงานศิลปะที่ปารีส ซึ่งในเวลานั้นเป็นศูนย์กลางของโลกศิลปะ van Gogh จึงมีโอกาสได้รู้จักกับศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน
หลังจากที่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะได้วิพากษ์งานศิลป์ของตนอย่างรุนแรง van Gogh วัย 36 ปี จึงตัดสินใจหลบหนีสังคมไปใช้ชีวิตอย่างเงียบ ๆ ที่เมือง Arles ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เพราะที่นั่นมีศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ รวมถึงสไตล์การวาดภาพกัน ก่อนเดินทางออกจากปารีส van Gogh ได้วาดภาพดอกทานตะวันที่แห้งเหี่ยว 4 ดอก กองรวมกันอยู่บนพื้น ภาพนี้แสดงนัยยะว่า van Gogh กำลังรู้สึกท้อแท้มาก จึงได้ระบายสีดอกทานตะวันโดยใช้สีน้ำตาลแทนสีเหลือง และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นภาพที่ไร้จิตวิญญาณ
ในที่สุด van Gogh ได้พบ Paul Gauguin ซึ่งเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมาก แต่ไม่ชื่นชมสไตล์การวาดภาพของ van Gogh เลย โดยการพูดว่าภูเขา ที่ van Gogh วาด มิได้มีลักษณะเป็นแบบนั้น ดอกไม้ที่วาดก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ เป็นต้น เมื่อความขัดแย้งมีมากขึ้น ๆ Gauguin ก็ได้ลาจาก van Gogh เพื่อเดินทางกลับปารีส เหตุการณ์นี้ทำให้ van Gogh รู้สึกเสียใจและสับสนมาก จึงหาทางออกด้วยการทำร้ายตนเองโดยการตัดใบหูข้างหนึ่ง แล้วส่งไปให้เพื่อนสนิทดู จากนั้นก็ได้วาดภาพเหมือนของตนเอง ขณะมีผ้าพันแผลที่ใบหู เป็นหลักฐานให้โลกเห็น

ในช่วงเวลานั้น van Gogh มีอารมณ์แปรปรวนมากและบ่อย จนในบางเวลาทำงานวาดภาพไม่ได้ แต่บางเวลาที่มีอารมณ์ดี ก็สามารถวาดภาพได้ดี เช่นภาพ The Starry Night ที่มีดาวฤกษ์จำนวนมากเปล่งแสงระยิบระยับในท้องฟ้า และภาพเปลวไฟที่โชนแสง เป็นต้น
เพราะ van Gogh เป็นคนที่ตั้งใจจริงจังเวลาวาดภาพทุกชิ้น ดังนั้นผลงานที่แสดงจึงมีฝีแปรงเป็นเส้นที่หนักแน่น นอกจากนี้เขาก็ยังชอบใช้สีฉูดฉาด ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของ van Gogh ที่มีต่อสังคมรอบข้างในเวลานั้นได้ดี ดังเช่นภาพ The Potato Eaters ซึ่งเป็นภาพของครอบครัวหนึ่งที่มีสมาชิก 5 คน และกำลังบริโภคมันฝรั่งที่โต๊ะอาหาร โดยทุกคนมีสีหน้าท่าทางที่อ่อนล้าและสิ้นหวัง โดยสีที่ใช้เป็นสีทึบและเข้ม จึงทำให้คนดูภาพมีความรู้สึกที่หดหู่
van Gogh ได้ระดมการวาดภาพในแนวนี้ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้เห็นงานศิลปะของจิตรกรชาวญี่ปุ่นที่นิยมใช้สีสดใส จึงได้หันมาลองใช้สีที่สดสว่างมากขึ้นในงานวาดภาพบ้าง แต่ก็ยังคงความหนักแน่นของฝีแปรง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ van Gogh เอง
ในส่วนที่เกี่ยวกับแรงดลใจให้ van Gogh วาดภาพนั้น คนรุ่นหลังได้เข้าใจจิตใจ ในการทำงานสร้างสรรค์ของ van Gogh จากการได้อ่านจดหมายจำนวนมากที่ van Gogh เขียนถึงน้องชายอย่างสม่ำเสมอ เพราะ Theo เป็นคนที่เข้าอกเข้าใจพี่ชายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เขาก็ยังเป็นคนที่ให้ทั้งความช่วยเหลือ และปิยวาจาที่เป็นกำลังใจให้พี่ชายตลอดเวลา
ตามปกติ van Gogh ชอบวาดภาพโดยใช้สิ่งที่ตนคุ้นเคยเป็นฉาก ดังนั้นโลกจึงได้เห็นภาพของบุรุษไปรษณีย์ในเมือง Arles ภาพแพทย์ประจำตัว ชื่อ Paul Gachet ภาพร้านกาแฟ ที่ van Gogh เช่าห้องพักอาศัยอยู่ ส่วนสีที่ใช้ในการระบายภาพก็มีเอกลักษณ์ที่สำคัญ คือ เป็นสีหนา ซึ่งได้จากการบีบหลอดสี แล้วใช้แปรงระบายสีนั้นในทันที โดยไม่ได้นำไปผสมกับสีอื่น สีที่ใช้จึงเป็นสีดิบ การใช้สีในปริมาณมาก ทำให้ van Gogh ตกอยู่ในภาวะขาดแคลนสีที่จะใช้วาดบ่อย สไตล์การปาดแปรงที่รวดเร็วและคมของ van Gogh แสดงให้เห็นความรู้สึก และอารมณ์ที่รุนแรงในเวลานั้น ภาพทุกภาพจึงให้ความมีชีวิตชีวา ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นศิลปินผู้วาดต้องอดอาหาร เพื่อเก็บเงินมาใช้ในการซื้อสีวาดภาพเอง
ผลงานชิ้นสุดท้ายของ van Gogh คือ ภาพ Wheatfield with Crows ที่เขาวาดในปี 1890 เป็นภาพทุ่งข้าวสาลีที่มีรวงข้าวสีเหลืองอร่าม ครึ่งบนของภาพเป็นท้องฟ้าที่มีเมฆลอยอยู่อย่างปั่นป่วน กลางภาพมีถนนที่ตัดผ่านทุ่งข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้วาดมีความหวังในชีวิตอยู่บ้าง แต่ฝูงกาที่โบยบินอยู่เหนือทุ่ง มีลักษณะเหมือนฝูงค้างคาวมากกว่าฝูงนก นี่แสดงให้เห็นความสิ้นหวังในชีวิตและจิตใจที่ไม่เป็นปกติของ van Gogh เพราะหลังจากที่วาดภาพนี้แล้ว van Gogh ก็ได้ยิงตัวตาย และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา
จากภาพวาดทั้งหมด ภาพ Sunflowers เป็นภาพที่ขายได้ในราคาสูงสุด ส่วนภาพอื่น ๆ ก็เป็นที่ต้องการของพิพิธภัณฑ์ และมหาเศรษฐีทั่วโลก เพราะ van Gogh เป็นศิลปินดัตช์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก
ทานตะวันเป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาว่า เทพนิยายกรีกได้กล่าวถึงการถือกำเนิดของดอกทานตะวันว่า มีนางไม้องค์หนึ่ง ชื่อ Clytie ซึ่งได้ตกหลุมรักสุริยเทพ Apollo แต่นางก็ต้องประสบความผิดหวัง เพราะนางแอบรักเขาข้างเดียว จึงได้แต่ชะเง้อคอยองค์เทพ ตั้งแต่วินาทีที่ทรงปรากฏพระองค์พ้นขอบฟ้าในยามเช้า จนกระทั่งถึงเวลาที่ทรงตกลับขอบฟ้าในยามเย็น โดยพระองค์มิได้เสด็จมาใกล้กรายนางเลย การเฝ้าคอยอย่างตรอมใจทุกวัน ทำให้ร่างกายของนางกลายสภาพ ใบหน้ากลมของนางได้กลายเป็นดอกไม้ และเส้นผมสีทองได้กลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองของทานตะวัน เมื่อที่มาเป็นเช่นนี้ ชื่อสกุล (genus) ของทานตะวันจึงเป็น helianthus (จากคำ helios ในภาษากรีก ที่แปลว่า ดวงอาทิตย์ และ anthos ที่แปลว่า ดอกไม้)
แต่เทพนิยายมิได้กล่าวถึงสถานที่และเวลาที่ทานตะวันถือกำเนิด นี่จึงเป็นปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องตอบ
ในปี 2003 V.D. Barreda แห่งพิพิธภัณฑ์ Argentinian Museum of Natural Sciences ที่ประเทศ Argentina ได้รายงานในวารสาร Science ว่าทานตะวันต้นแรกของโลก ได้ถือกำเนิดเมื่อ 50 ล้านปีก่อนในดินแดนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ จากที่นั่นทานตะวันได้แพร่พันธุ์ขึ้นทางทิศเหนือ ผ่านประเทศเปรู ไปจนถึงประเทศเม็กซิโก ในที่สุดก็ได้เป็นที่นิยมปลูกในสวนของชาว Aztec ซึ่งได้ใช้เมล็ดของดอกเป็นยาสมุนไพร และได้ใช้ดอกที่มีสีเหลืองสวยสะดุดตาในการตบแต่งเรือนผมของสาวพรมจารีด้วย
ในปี 1581 (รัชสมัยพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) กองทัพล่าอาณานิคมภายใต้การนำของนายพล Hernando Cortez แห่งอาณาจักรสเปน หลังจากที่บุกยึดครองอาณาจักร Aztec ได้แล้ว ได้ทดลองนำต้นทานตะวันไปปลูกในยุโรปบ้าง และพบว่าชาวยุโรปชื่นชมดอกไม้ชนิดนี้มาก ไม่เพียงแต่คนธรรมดาทั่วไปเท่านั้นที่สนใจความสวยสดชื่นของดอกทานตะวัน แม้แต่สมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นทุ่งทานตะวันที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก็ทรงโปรดปรานมากเช่นกัน จึงทรงโปรดให้สร้างสวนส่วนพระองค์สำหรับปลูกทานตะวันโดยเฉพาะ และเวลาพระองค์เสด็จชมสวน ได้ทรงเห็นดอกทานตะวันทุกดอกหันดอกมาต้อนรับพระองค์ จึงดูเสมือนว่าทุกดอกกำลังถวายความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพรียงกัน การทรงเห็นเช่นนี้ ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกปิติยินดีมาก ในเวลาต่อมาพสกนิกรจึงถวายพระนามพระองค์ว่า สุริยะกษัตริย์ (Sun King)
ส่วนในประเทศอังกฤษ นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง ชื่อ Oscar Wilde แห่งสมาคม Aesthetic Movement ได้ชักนำให้สมาคมที่ตนจัดตั้ง ใช้ดอกทานตะวันเป็นสัญลักษณ์ของสมาคม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ศิลปิน Vincent van Gogh ก็ได้วาดภาพดอกทานตะวันไว้หลายภาพ เพราะสีเหลืองสดใสของดอกทานตะวันสามารถช่วย van Gogh ซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าให้รู้สึกดีขึ้นได้
van Gogh ได้วาดภาพดอกทานตะวันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 2 ปีสุดท้ายก่อนจะเสียชีวิต ขณะยังพำนักอยู่ที่เมือง Arles ภาพที่วาดเป็นภาพดอกทานตะวันจำนวนมากปักอยู่ในแจกัน และดอกมีสีเหลืองที่สดใสแตกต่างกัน เช่น มีสีเหลืองอร่าม เหลืองอ่อน เหลืองซีด เหลืองเข้ม และได้วาดภาพของแจกัน 5 รูปแบบที่มีลักษณะแตกต่างกัน การเน้นเรื่องสีของดอก โดยใช้สีที่แตกต่างกันในภาพเดียวกัน ไม่เคยมีจิตรกรคนใดทำมาก่อน นั่นเสมือนแสดงจุดประสงค์หลักของการวาด คือ van Gogh ต้องการให้โลกรู้ว่า เขาเป็นจิตรกรผู้วาดภาพดอกทานตะวันได้ดีที่สุด จนทานตะวันได้กลายเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของ van Gogh และการยอมรับก็ได้มีจนถึงระดับที่ในงานครบรอบการเสียชีวิตของ van Gogh ในงานจะมีดอกทานตะวันประดับมากมาย
เมื่อ van Gogh ได้เห็น Gauguin แสดงความชื่นชมภาพดอกทานตะวันที่เขาวาด ก็รู้สึกดีใจมาก จึงได้วาดภาพดอกทานตะวันอีกหลายภาพ เพื่อแสดงความขอบคุณที่ Gauguin เข้าใจและรักภาพที่เขาวาด
ทานตะวัน (Helianthus annuus) เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่ ในวงศ์ Asteraceae ลำต้นขึ้นตรงและสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร ลำต้นมีขนเล็ก ๆ ปกคลุมเต็ม สามารถอุ้มน้ำได้ดี ดังนั้นขณะที่มีอายุยังน้อย ลำต้นจะหักง่าย แต่เมื่ออายุมากขึ้น ลำต้นจะแข็งแรง ใบมีสีเขียว ลักษณะเป็นรูปหัวใจที่มีความยาวตั้งแต่ 10-15 เซนติเมตร ต้นหนึ่ง ๆ อาจมีใบได้ตั้งแต่ 10-70 ใบ โดยใบจะแตกจากลำต้นเป็นคู่ ๆ แยกเป็นมุมที่ตั้งฉากกัน เพื่อให้ใบสามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด
ครั้นเมื่อต้นมีดอกแล้ว การแตกใบจะลดน้อยลง ๆ ดอกที่ออกเป็นกลุ่มดอก (inflorescence) ที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ทานตะวันจึงไม่จำเป็นต้องใช้แมลงในการผสมเกสร หัวดอกที่กลมอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 30 เซนติเมตร และกลุ่มดอกหนึ่งกลุ่มอาจจะมีดอกย่อยได้มากนับพัน ซึ่งอัดเรียงรายกันแน่นบนช่อดอก
ตามปกติดินที่เหมาะสำหรับการปลูกทานตะวันมักจะมี pH ในช่วง 5.7-8.0 เป็นดินร่วนปนทราย และเดือนที่เหมาะสำหรับการปลูก คือ ช่วงเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูฝน ทานตะวันชอบขึ้นในที่ ๆ ไม่มีน้ำขัง ในที่ ๆ อากาศมีอุณหภูมิตั้งแต่ 18-25 องศาเซลเซียส รากทานตะวันตามปกติสามารถลงลึกได้ตั้งแต่ 1.5-2.7 เมตร แม้เป็นพืชที่ไม่ต้องการความเอาใจใส่มาก แต่ทานตะวันก็ยังต้องการปุ๋ย และยากำจัดวัชพืช เช่นยา alachlor สำหรับพ่นฉีดกันโรคราสนิมและโรคเหี่ยว และแมลงที่ชอบทำร้ายต้น คือ เต่าทอง
โดยทั่วไปหลังจากที่ต้นออกดอกแล้วหนึ่งเดือน กลีบดอกทานตะวันก็มักจะเปลี่ยนจากเหลืองสดเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่า ดอกกำลังจะแก่เต็มที่และพร้อมที่จะให้ตัดไปผึ่งแดด ส่วนลำต้นที่ตากแดดแห้งแล้วก็เหมาะสำหรับการนำไปใช้ทำกระดาษ และเป็นเชื้อเพลิง ส่วนรากก็ใช้ทำแป้ง
ทานตะวันมักแพร่พันธุ์ โดยใช้เมล็ดที่มีสีดำแกมเทา ดอก ๆ หนึ่งสามารถมีเมล็ดได้มากตั้งแต่ 250-1,500 เมล็ด โดยที่เมล็ดมีการอัดเรียงกันเต็มหน้าดอก เมล็ดมีความยาวตั้งแต่ 7-25 มิลลิเมตร และกว้างตั้งแต่ 4-13 มิลลิเมตร มีสารอาหารประเภทโปรตีนที่อาจจะมีมากถึง 50% ของน้ำหนัก
ในปี 1716 Arthur Bunyan ได้วิจัยพบว่า น้ำมันพืชที่สกัดได้จากเมล็ดทานตะวัน นอกจากจะใช้ทำเนยเทียม น้ำสลัด ปรุงอาหาร ทำสีและทำพลาสติกได้แล้ว กากที่เหลือจากการใช้ยังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย เพราะน้ำมันทานตะวัน มีกรดไขมันที่สามารถลด cholesterol ได้ดี นักโภชนาการยังได้พบว่า น้ำมันทานตะวันเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณภาพดีรองจากน้ำมันถั่วเหลือง ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โลกผลิตน้ำมันทานตะวันได้ปีละ 1 แสนตัน ปัจจุบันรัสเซียประเทศเดียวก็ผลิตได้ปีละ 10 ล้านตันแล้ว

นักคณิตศาสตร์ก็ได้พบว่า หลังจากที่ศึกษาหัวดอกทานตะวันอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว ได้เห็นดอกย่อยเรียงกันเป็นเกลียวก้นหอย (helix) 2 เกลียว โดยเกลียวหนึ่งจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ด้วยการเริ่มต้นจากจุดศูนย์กลางของดอก ส่วนอีกเกลียวหนึ่งก็ออกจากจุดศูนย์กลางของดอกเช่นกัน แต่หมุนทวนเข็มนาฬิกา การนับจำนวนเกลียวที่หมุนตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา จะได้ 34 หรือ 55 เกลียว ในกรณีที่ดอกมีขนาดใหญ่มาก จำนวนเกลียวที่หมุนทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกาก็อาจจะมีมากถึง 89 เกลียว และ 144 เกลียวก็ได้
ตัวเลข 34 , 55 ,89 ,144 … เหล่านี้ นักคณิตศาสตร์รู้จักดีในนามของจำนวน Fibonacci ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์คนสำคัญในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ผู้ได้คิดสร้างอนุกรมหนึ่งขึ้นมา คือ 1 , 1 , 2 , 3 , 5 , 8 , 13 , 21 , 34 , 55 , 89 , 144 … ซึ่งตัวเลขตั้งแต่ตัวที่ 3 ขึ้นไป เป็นตัวเลขที่ได้จากการรวม 2 จำนวนข้างหน้าที่อยู่ติดกัน เช่น 5 = 2+3 และ 34 = 13+21 เป็นต้น
ดังนั้น ทานตะวันจึงอาจได้ชื่อว่า ดอกไม้ของ Fibonacci ก็ได้

Leonardo Pisano Fibonacci หรือ Leonardo of Pisa เกิดเมื่อปี 1170 ที่เมือง Pisa ในประเทศอิตาลี บิดามีอาชีพเป็นเลขานุการของเจ้าของโรงงานทอผ้า คำว่า Fibonacci มาจากการรวมคำ Filius กับ Bonacci จึงแปลว่าบุตรของ Bonacci
เมื่อ Fibonacci อายุได้ 12 ปี บิดาได้งานใหม่เป็นหัวหน้าบริษัทธุรกิจที่เมือง Bugia ในประเทศ Algeria เพราะงานใหม่ต้องการคนที่คำนวณเก่ง ดังนั้นบิดาจึงนำลูกชายหัวแก้วหัวแหวนที่เก่งคณิตศาสตร์ไปช่วย และได้จัดให้มีครูมาสอน Fibonacci ให้รู้จักใช้ลูกคิดในการคำนวณด้วย
เพราะครูที่สอนเป็นแขก Moor ที่นิยมใช้เลขฮินดูอารบิก (0,1,2,…,9) ในการคำนวณ แทนที่จะใช้เลขโรมันเจ็ดตัวคือ I , V , X , L , C , D และ M แทนจำนวน 1 , 5 , 10 , 50 , 100 , 500 และ 1,000 ตามลำดับ การเขียนเลขในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ชาวยุโรปตะวันตกในเวลานั้นนิยมใช้กันทั่วไป เมื่อระบบเลขโรมันไม่มีเลขศูนย์ ดังนั้นการเขียนและใช้จำนวนในการคูณ หาร บวก และลบ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากมาก เช่น 8 ต้องเขียน VIII เป็นต้น ผู้คนจึงหันไปใช้ลูกคิดแทน แม้การคำนวณโดยลูกคิดจะสะดวกขึ้น แต่การตรวจสอบไม่สามารถกระทำได้ เพราะลูกคิดมิได้มีอุปกรณ์บันทึกผลคำนวณ
Fibonacci ได้เรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้เลขฮินดูอารบิกจนเก่งอย่างคล่องแคล่ว จึงสามารถช่วยบิดาทำธุรกิจใน Egypt , Syria , Greece , Turkey และ France ได้ดี แล้วได้เดินทางกลับอิตาลีในปี 1200 เพื่อทำหน้าที่เป็นโหรในจักรพรรดิ Frederick ที่ 2 แห่งอาณาจักรโรมัน เพราะมีความสามารถในการคำนวณ และดูดวงชะตาของคนที่มาหาได้อย่างน่าเลื่อมใส
ในปี 1202 Fibonacci ได้เรียบเรียงตำรา ชื่อ Liber Abaci (The Book of Calculation) ซึ่งเป็นตำราเรื่องการนับ โดยได้นำความรู้คณิตศาสตร์ของชาวอาหรับมาบอกกล่าว และชักชวนให้ชาวยุโรปหันมาใช้เลขฮินดูอารบิกแทนเลขโรมัน เพื่อความสะดวกในการซื้อขายและทำธุรกิจ จุดเด่นของตำราเล่มนี้ คือ การได้นำเลขศูนย์ของนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียมาใช้เป็นครั้งแรกในยุโรป และได้รับการต่อต้านมาก เพราะนักบวชและพ่อค้าไม่พอใจด้วยการกล่าวหาว่า เป็นความรู้ของพวกนอกรีต จนกระทั่งถึงปี 1299 พ่อค้าในเมือง Florence จึงได้เริ่มทำบัญชี โดยใช้เลขอารบิกแทนเลขโรมัน
ผลงานตำรา Practica Geometriae ที่มีความรู้เรื่องเรขาคณิต และตรีโกณมิติ ในเวลาต่อมาได้ทำให้ชื่อเสียงของ Fibonacci โด่งดังยิ่งขึ้นไปอีก จนจักรพรรดิ Frederick ที่ 2 ทรงโปรดให้เป็นปราชญ์แห่งราชสำนัก
แต่เมื่อเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดเหตุการณ์กาฬโรคระบาดในยุโรป มีผลทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในอิตาลีก็มีสงครามกลางเมืองในปี 1338 อิตาลีได้ทำสงคราม 100 ปี กับฝรั่งเศส ครั้นถึงปี 1453 กรุง Constantinople ก็แตก มีผลทำให้อาณาจักร Byzantine ต้องล่มสลาย ในอังกฤษมีสงครามดอกกุหลาบ เมื่อการสงครามสู้รบได้เกิดขึ้นทุกหนแห่งเช่นนี้ จึงไม่มีใครสนใจเรื่องวิชาการเลย ยุโรปจึงก้าวเข้าสู่ยุคมืด (Dark Ages) แต่ได้หวนกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกในยุค Renaissance
Fibonacci ได้เสียชีวิตลงในปี 1250 และทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนเมือง Pisa นอกจากจะได้เห็นหอเอนแล้ว ที่ตรงข้ามหอเอนก็มีอนุสาวรีย์ของ Fibonacci ตั้งอยู่ด้วย
ในฐานะนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุโรปยุคกลาง นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกต่างก็รู้จักชื่อของ Fibonacci ในเรื่องลำดับ Fibonacci (Fibonacci sequence)ที่ประกอบด้วยอนุกรมของเลขจำนวนเต็ม ที่ Fibonacci พบ จากความพยายามตอบโจทย์ เรื่องประชากรของกระต่าย ซึ่งในแต่ละเดือนที่เพิ่มจากการสืบพันธุ์ นั่นคือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144 แสดงว่าในเดือนที่ 12 จะมีกระต่ายทั้งหมด 144 คู่
ปริศนาที่คนทั่วไปทุกคนสนใจเกี่ยวกับดอกทานตะวัน คือ ก่อนจะออกดอก ลำต้นของมัน จะทำหน้าที่ควบคุมปลายยอดของต้นให้หันไปทางทิศตะวันออกในเวลากลางวัน และให้หันไปทางทิศตะวันตกในเวลาบ่าย กระบวนการ “บิดตัว” ตามดวงอาทิตย์ในลักษณะนี้ นักพฤกษศาสตร์ เรียกว่า heliotropism และเมื่อถึงเวลากลางคืน ยอดต้นก็จะหันตัวกลับไปทางทิศตะวันออก เพื่อเตรียมตัวรับดวงอาทิตย์ในยามเช้าอีก การที่มันทำเช่นนี้ได้ เพราะทานตะวันมีฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง ชื่อ auxin ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปทางด้านของต้นที่ไม่ถูกแดด ทำให้ลำต้นโค้งกลับ และตั้งตรงในเวลาเที่ยงวัน ครั้นเมื่อพระอาทิตย์จะตกดิน ส่วนปลายของต้นก็จะโค้งกลับทางทิศตะวันตก เพราะ auxin ได้เคลื่อนที่กลับแล้ว และจะกลับมาตั้งตรงอีกในเวลาเที่ยงคืน แต่เมื่อต้นทานตะวันโตเต็มที่ ดอกทานตะวันจะไม่หันหน้าตามแสงอาทิตย์อีกต่อไป
นี่คือรายงานการวิจัยของ Hagop Atamian แห่งมหาวิทยาลัย California ที่ Davies ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Science ฉบับที่ 353 หน้า 587 เมื่อปี 2016 คำถามที่ตามมาคือ กระบวนการ heliotropism มีประโยชน์สำหรับต้นพืชอย่างไร เหตุใดพืชทุกชนิด จึงไม่ได้ใช้กระบวนการนี้ในการดำรงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการสร้างพลังงานของพืชมีบทบาทเพียงใด ในการควบคุมปริมาณ heliotropism
ในวารสาร Nature ฉบับที่ 546 หน้า 148-152 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2017 H. Badouin กับคณะได้รายงานการถอดรหัส genome ของทานตะวัน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้เมล็ดน้ำมันในปริมาณมาก ขณะตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ในภูมิประเทศที่แห้งแล้ง หรือมีฝนตกมาก และได้พบว่า genome ของทานตะวัน (Helianthus annuus) มี 3.6 gigabase (3.6x109 bases) การรู้ genome อย่างละเอียดครบถ้วน ทำให้นักพฤกษศาสตร์สามารถรู้เส้นทางวิวัฒนาการของทานตะวัน และรู้ gene ที่มีบทบาทต่าง ๆ ในการควบคุมการเจริญเติบโตของทั้งราก ลำต้น ใบ และดอก เวลาที่ต้นทานตะวันประสบปัญหา เช่น ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งมาก เพื่อให้มันสามารถออกดอกที่ให้เมล็ดจำนวนมาก เพื่อใช้ในการผลิตน้ำมันทานตะวันที่มีคุณภาพต่อไป
อ่านเพิ่มเติมจาก Environmental analysis of sunflower production with different forms of mineral nitrogen fertilizers. โดย D. Spinelli et al. ใน International Journal of Life Cycle Assessment. Journal of Environmental Management ฉบับที่ 22 (4) ปี 2017

สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" จาก "ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน" ได้ทุกวันศุกร์
โดยในปี 1664 (รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) สถาปนิกอัจฉริยะชาวอิตาเลียน ชื่อ G. Bernini ผู้มีบทบาทในการออกแบบสร้างมหาวิหาร St. Peters ในกรุงวาติกันประเทศอิตาลี และรูปประติมากรรม David (คนละรูปกับที่ Michelangelo สร้าง) ได้เดินทางจากโรม เพื่อไปถวายงานต่อสมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส ในขบวนเดินทางครั้งนั้น Bernini ได้นำบุตรชาย 1 คน คนรับใช้ 4 คน เลขานุการส่วนตัว 2 คน และพนักงานครัว 1 คนไปด้วย ตลอดการเดินทาง ไม่ว่าจะไปถึงที่ใด บรรดาขุนนางชั้นสูงและข้าราชการของที่นั้น จะพากันออกมาต้อนรับขับสู้ Bernini เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นราชศิลปิน
ด้าน Peter Paul Rubens ซึ่งเป็นศิลปินชาว Flemish ร่วมสมัยกับ Bernini ก็เช่นกัน แต่ Rubens ซึ่งถวายงานอยู่ในราชสำนักของกษัตริย์ดัตช์ ก็เป็นศิลปินอัจฉริยะอีกท่านหนึ่งที่มีฐานะดีมาก เพราะสามารถขายผลงานสร้างสรรค์ได้มากมาย จนมีทรัพย์สินเงินทองเพียงพอที่จะซื้อปราสาทพำนักอยู่นอกเมือง Antwerp ในประเทศเบลเยียมได้
แต่โลกก็มีศิลปินอัจฉริยะอีกหลายท่านที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และอเนจอนาถมาก เพราะผลงานศิลปะที่ทำ ไม่เป็นที่เข้าใจหรือยอมรับของสังคมในสมัยนั้นเลย จนกระทั่งศิลปินได้ตายจากไป ทุกคนจึงได้ตระหนักในความยิ่งใหญ่อย่างไร้เทียมทานของเขา ศิลปินท่านนั้น ชื่อ Vincent van Gogh ผู้ได้วาดภาพแนว impressionism ที่ยิ่งใหญ่ไว้หลายต่อหลายภาพ เช่น The Starry Night , The Potato Eaters , Café Terrace at Night , Irises ฯลฯ ก่อนจะเสียชีวิตในวัยเพียง 37 ปี ด้วยการใช้ปืนยิงตัวตาย เมื่อปี 1890 เพราะถูกสังคมกล่าวหาว่าเป็นคนเสียสติ และมีอาการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะไม่มีใครเข้าใจหรือชื่นชอบผลงานของเขาเลย ดังนั้นจึงไม่มีใครซื้อภาพที่เขาวาด (ตลอดชีวิต van Gogh ขายภาพได้เพียง 3 ภาพ) จึงไม่มีเงินพอจะซื้อสี หรือแปรง และผ้าใบ มาวาดภาพได้ ทำให้ต้องพึ่งพาน้องชาย Theo van Gogh ทั้งในด้านการเงินและการให้กำลังใจ เพื่อให้ตนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
ภาพวาดที่ทำให้ van Gogh มีชื่อเสียงโดดเด่นระดับโลก คือ ภาพวิวและภาพดอกไม้ เช่น ดอก iris , gladiolus และ aster โดยเฉพาะภาพดอกทานตะวัน (sunflower) เป็นภาพที่ทำให้ van Gogh มีชื่อเสียงมากที่สุด จนมันได้รับฉายาว่าเป็นดอกไม้ของ van Gogh ดังจะเห็นได้จากการประมูลซื้อภาพ Still Life: Vase with Fifteen Sunflowers ที่มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น ชื่อ Yasuo Goto ได้นำไปเก็บเป็นสมบัติส่วนตัวในราคา 39.92 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 1957
สำหรับคนทั่วไปที่ชอบศิลปะภาพวาดในแนว impressionism และไม่มีเงินมากก็สามารถจะชื่นชมภาพวาดของ van Gogh ได้ที่พิพิธภัณฑ์สำคัญ ๆ ทั่วโลก เช่น Van Gogh Museum ในกรุง Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ , National Gallery ที่ London ประเทศอังกฤษ , Metropolitan Museum of Art ที่ New York ประเทศอเมริกา หรือที่ Neue Pinakothek ในนคร Munich ประเทศเยอรมนี เป็นต้น
Vincent van Gogh เกิดที่เมือง Zundert ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 บิดาเป็นนักเทศน์ ในวัยเด็ก van Gogh คิดจะมีอาชีพเหมือนพ่อ แต่สอบวิชาการสอนศาสนาไม่ผ่าน จึงเปลี่ยนใจจะมีอาชีพเป็นศิลปินแทน และตั้งใจว่าจะใช้ศิลปะในการสอนศาสนา van Gogh เริ่มทำงานเป็นพนักงานในร้านขายภาพที่กรุง Hague ตั้งแต่อายุได้ 16 ปี แม้จะทำงานที่ร้านขายภาพนี้นานถึง 4 ปี วิถีชีวิตที่นั่นก็ไม่ได้จุดประกายให้ van Gogh มีอารมณ์สร้างสรรค์ด้านศิลปะแต่อย่างใด
van Gogh จึงลองสอบเข้าเรียนวิชาเทววิทยาที่มหาวิทยา Amsterdam แต่สอบเข้าไม่ได้ แม้จะได้สมัครไปเป็นมิชชันนารีที่กรุง Brussels ก็ไม่ได้อีก ความผิดหวังเหล่านี้ ทำให้ van Gogh มีอาการจิตตกมาก เพราะรู้สึกว่าตนได้พยายามจะทุ่มเทชีวิตให้คนอื่นเป็นอย่างมากและดีที่สุดแล้ว จึงตัดสินใจเบนเข็มทิศชีวิต เข้าสู่วงการสร้างงานศิลปะ คือ เป็นศิลปิน และได้วาดภาพแรกในชีวิตเป็นภาพของเกษตรกรที่กำลังทำงานในทุ่งนา โดยมีสไตล์การวาดในแนวเดียวกับศิลปินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean Francois Millet ที่ตนชื่นชม
จากนั้นภาพที่วาดในเวลาต่อมาก็ล้วนเป็นไปในแนวแสดงความทุกข์ทรมาน และความโศกเศร้า เช่นภาพ The Potato Eaters ซึ่งแสดงความยากจนของครอบครัวชาวไร่มันฝรั่ง ที่มีอาหารหลักเป็นมันฝรั่งเพียง 2-3 หัว และภาพ Sien Hoornik ซึ่งเป็นโสเภณีลูกติดที่ van Gogh ตั้งใจจะมีครอบครัวด้วยกับเธอ แต่เธอก็ปฏิเสธเขาอีก เมื่อชีวิตต้องประสบแต่ความผิดหวังเช่นนี้ van Gogh จึงตัดสินใจไปขออาศัยอยู่กับน้องชาย Theo ซึ่งในเวลานั้นได้เปิดร้านขายงานศิลปะที่ปารีส ซึ่งในเวลานั้นเป็นศูนย์กลางของโลกศิลปะ van Gogh จึงมีโอกาสได้รู้จักกับศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน
หลังจากที่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะได้วิพากษ์งานศิลป์ของตนอย่างรุนแรง van Gogh วัย 36 ปี จึงตัดสินใจหลบหนีสังคมไปใช้ชีวิตอย่างเงียบ ๆ ที่เมือง Arles ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เพราะที่นั่นมีศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ รวมถึงสไตล์การวาดภาพกัน ก่อนเดินทางออกจากปารีส van Gogh ได้วาดภาพดอกทานตะวันที่แห้งเหี่ยว 4 ดอก กองรวมกันอยู่บนพื้น ภาพนี้แสดงนัยยะว่า van Gogh กำลังรู้สึกท้อแท้มาก จึงได้ระบายสีดอกทานตะวันโดยใช้สีน้ำตาลแทนสีเหลือง และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นภาพที่ไร้จิตวิญญาณ
ในที่สุด van Gogh ได้พบ Paul Gauguin ซึ่งเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมาก แต่ไม่ชื่นชมสไตล์การวาดภาพของ van Gogh เลย โดยการพูดว่าภูเขา ที่ van Gogh วาด มิได้มีลักษณะเป็นแบบนั้น ดอกไม้ที่วาดก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ เป็นต้น เมื่อความขัดแย้งมีมากขึ้น ๆ Gauguin ก็ได้ลาจาก van Gogh เพื่อเดินทางกลับปารีส เหตุการณ์นี้ทำให้ van Gogh รู้สึกเสียใจและสับสนมาก จึงหาทางออกด้วยการทำร้ายตนเองโดยการตัดใบหูข้างหนึ่ง แล้วส่งไปให้เพื่อนสนิทดู จากนั้นก็ได้วาดภาพเหมือนของตนเอง ขณะมีผ้าพันแผลที่ใบหู เป็นหลักฐานให้โลกเห็น
ในช่วงเวลานั้น van Gogh มีอารมณ์แปรปรวนมากและบ่อย จนในบางเวลาทำงานวาดภาพไม่ได้ แต่บางเวลาที่มีอารมณ์ดี ก็สามารถวาดภาพได้ดี เช่นภาพ The Starry Night ที่มีดาวฤกษ์จำนวนมากเปล่งแสงระยิบระยับในท้องฟ้า และภาพเปลวไฟที่โชนแสง เป็นต้น
เพราะ van Gogh เป็นคนที่ตั้งใจจริงจังเวลาวาดภาพทุกชิ้น ดังนั้นผลงานที่แสดงจึงมีฝีแปรงเป็นเส้นที่หนักแน่น นอกจากนี้เขาก็ยังชอบใช้สีฉูดฉาด ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของ van Gogh ที่มีต่อสังคมรอบข้างในเวลานั้นได้ดี ดังเช่นภาพ The Potato Eaters ซึ่งเป็นภาพของครอบครัวหนึ่งที่มีสมาชิก 5 คน และกำลังบริโภคมันฝรั่งที่โต๊ะอาหาร โดยทุกคนมีสีหน้าท่าทางที่อ่อนล้าและสิ้นหวัง โดยสีที่ใช้เป็นสีทึบและเข้ม จึงทำให้คนดูภาพมีความรู้สึกที่หดหู่
van Gogh ได้ระดมการวาดภาพในแนวนี้ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้เห็นงานศิลปะของจิตรกรชาวญี่ปุ่นที่นิยมใช้สีสดใส จึงได้หันมาลองใช้สีที่สดสว่างมากขึ้นในงานวาดภาพบ้าง แต่ก็ยังคงความหนักแน่นของฝีแปรง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ van Gogh เอง
ในส่วนที่เกี่ยวกับแรงดลใจให้ van Gogh วาดภาพนั้น คนรุ่นหลังได้เข้าใจจิตใจ ในการทำงานสร้างสรรค์ของ van Gogh จากการได้อ่านจดหมายจำนวนมากที่ van Gogh เขียนถึงน้องชายอย่างสม่ำเสมอ เพราะ Theo เป็นคนที่เข้าอกเข้าใจพี่ชายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เขาก็ยังเป็นคนที่ให้ทั้งความช่วยเหลือ และปิยวาจาที่เป็นกำลังใจให้พี่ชายตลอดเวลา
ตามปกติ van Gogh ชอบวาดภาพโดยใช้สิ่งที่ตนคุ้นเคยเป็นฉาก ดังนั้นโลกจึงได้เห็นภาพของบุรุษไปรษณีย์ในเมือง Arles ภาพแพทย์ประจำตัว ชื่อ Paul Gachet ภาพร้านกาแฟ ที่ van Gogh เช่าห้องพักอาศัยอยู่ ส่วนสีที่ใช้ในการระบายภาพก็มีเอกลักษณ์ที่สำคัญ คือ เป็นสีหนา ซึ่งได้จากการบีบหลอดสี แล้วใช้แปรงระบายสีนั้นในทันที โดยไม่ได้นำไปผสมกับสีอื่น สีที่ใช้จึงเป็นสีดิบ การใช้สีในปริมาณมาก ทำให้ van Gogh ตกอยู่ในภาวะขาดแคลนสีที่จะใช้วาดบ่อย สไตล์การปาดแปรงที่รวดเร็วและคมของ van Gogh แสดงให้เห็นความรู้สึก และอารมณ์ที่รุนแรงในเวลานั้น ภาพทุกภาพจึงให้ความมีชีวิตชีวา ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นศิลปินผู้วาดต้องอดอาหาร เพื่อเก็บเงินมาใช้ในการซื้อสีวาดภาพเอง
ผลงานชิ้นสุดท้ายของ van Gogh คือ ภาพ Wheatfield with Crows ที่เขาวาดในปี 1890 เป็นภาพทุ่งข้าวสาลีที่มีรวงข้าวสีเหลืองอร่าม ครึ่งบนของภาพเป็นท้องฟ้าที่มีเมฆลอยอยู่อย่างปั่นป่วน กลางภาพมีถนนที่ตัดผ่านทุ่งข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้วาดมีความหวังในชีวิตอยู่บ้าง แต่ฝูงกาที่โบยบินอยู่เหนือทุ่ง มีลักษณะเหมือนฝูงค้างคาวมากกว่าฝูงนก นี่แสดงให้เห็นความสิ้นหวังในชีวิตและจิตใจที่ไม่เป็นปกติของ van Gogh เพราะหลังจากที่วาดภาพนี้แล้ว van Gogh ก็ได้ยิงตัวตาย และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา
จากภาพวาดทั้งหมด ภาพ Sunflowers เป็นภาพที่ขายได้ในราคาสูงสุด ส่วนภาพอื่น ๆ ก็เป็นที่ต้องการของพิพิธภัณฑ์ และมหาเศรษฐีทั่วโลก เพราะ van Gogh เป็นศิลปินดัตช์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก
ทานตะวันเป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาว่า เทพนิยายกรีกได้กล่าวถึงการถือกำเนิดของดอกทานตะวันว่า มีนางไม้องค์หนึ่ง ชื่อ Clytie ซึ่งได้ตกหลุมรักสุริยเทพ Apollo แต่นางก็ต้องประสบความผิดหวัง เพราะนางแอบรักเขาข้างเดียว จึงได้แต่ชะเง้อคอยองค์เทพ ตั้งแต่วินาทีที่ทรงปรากฏพระองค์พ้นขอบฟ้าในยามเช้า จนกระทั่งถึงเวลาที่ทรงตกลับขอบฟ้าในยามเย็น โดยพระองค์มิได้เสด็จมาใกล้กรายนางเลย การเฝ้าคอยอย่างตรอมใจทุกวัน ทำให้ร่างกายของนางกลายสภาพ ใบหน้ากลมของนางได้กลายเป็นดอกไม้ และเส้นผมสีทองได้กลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองของทานตะวัน เมื่อที่มาเป็นเช่นนี้ ชื่อสกุล (genus) ของทานตะวันจึงเป็น helianthus (จากคำ helios ในภาษากรีก ที่แปลว่า ดวงอาทิตย์ และ anthos ที่แปลว่า ดอกไม้)
แต่เทพนิยายมิได้กล่าวถึงสถานที่และเวลาที่ทานตะวันถือกำเนิด นี่จึงเป็นปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องตอบ
ในปี 2003 V.D. Barreda แห่งพิพิธภัณฑ์ Argentinian Museum of Natural Sciences ที่ประเทศ Argentina ได้รายงานในวารสาร Science ว่าทานตะวันต้นแรกของโลก ได้ถือกำเนิดเมื่อ 50 ล้านปีก่อนในดินแดนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ จากที่นั่นทานตะวันได้แพร่พันธุ์ขึ้นทางทิศเหนือ ผ่านประเทศเปรู ไปจนถึงประเทศเม็กซิโก ในที่สุดก็ได้เป็นที่นิยมปลูกในสวนของชาว Aztec ซึ่งได้ใช้เมล็ดของดอกเป็นยาสมุนไพร และได้ใช้ดอกที่มีสีเหลืองสวยสะดุดตาในการตบแต่งเรือนผมของสาวพรมจารีด้วย
ในปี 1581 (รัชสมัยพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) กองทัพล่าอาณานิคมภายใต้การนำของนายพล Hernando Cortez แห่งอาณาจักรสเปน หลังจากที่บุกยึดครองอาณาจักร Aztec ได้แล้ว ได้ทดลองนำต้นทานตะวันไปปลูกในยุโรปบ้าง และพบว่าชาวยุโรปชื่นชมดอกไม้ชนิดนี้มาก ไม่เพียงแต่คนธรรมดาทั่วไปเท่านั้นที่สนใจความสวยสดชื่นของดอกทานตะวัน แม้แต่สมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นทุ่งทานตะวันที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก็ทรงโปรดปรานมากเช่นกัน จึงทรงโปรดให้สร้างสวนส่วนพระองค์สำหรับปลูกทานตะวันโดยเฉพาะ และเวลาพระองค์เสด็จชมสวน ได้ทรงเห็นดอกทานตะวันทุกดอกหันดอกมาต้อนรับพระองค์ จึงดูเสมือนว่าทุกดอกกำลังถวายความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพรียงกัน การทรงเห็นเช่นนี้ ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกปิติยินดีมาก ในเวลาต่อมาพสกนิกรจึงถวายพระนามพระองค์ว่า สุริยะกษัตริย์ (Sun King)
ส่วนในประเทศอังกฤษ นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง ชื่อ Oscar Wilde แห่งสมาคม Aesthetic Movement ได้ชักนำให้สมาคมที่ตนจัดตั้ง ใช้ดอกทานตะวันเป็นสัญลักษณ์ของสมาคม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ศิลปิน Vincent van Gogh ก็ได้วาดภาพดอกทานตะวันไว้หลายภาพ เพราะสีเหลืองสดใสของดอกทานตะวันสามารถช่วย van Gogh ซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าให้รู้สึกดีขึ้นได้
van Gogh ได้วาดภาพดอกทานตะวันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 2 ปีสุดท้ายก่อนจะเสียชีวิต ขณะยังพำนักอยู่ที่เมือง Arles ภาพที่วาดเป็นภาพดอกทานตะวันจำนวนมากปักอยู่ในแจกัน และดอกมีสีเหลืองที่สดใสแตกต่างกัน เช่น มีสีเหลืองอร่าม เหลืองอ่อน เหลืองซีด เหลืองเข้ม และได้วาดภาพของแจกัน 5 รูปแบบที่มีลักษณะแตกต่างกัน การเน้นเรื่องสีของดอก โดยใช้สีที่แตกต่างกันในภาพเดียวกัน ไม่เคยมีจิตรกรคนใดทำมาก่อน นั่นเสมือนแสดงจุดประสงค์หลักของการวาด คือ van Gogh ต้องการให้โลกรู้ว่า เขาเป็นจิตรกรผู้วาดภาพดอกทานตะวันได้ดีที่สุด จนทานตะวันได้กลายเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของ van Gogh และการยอมรับก็ได้มีจนถึงระดับที่ในงานครบรอบการเสียชีวิตของ van Gogh ในงานจะมีดอกทานตะวันประดับมากมาย
เมื่อ van Gogh ได้เห็น Gauguin แสดงความชื่นชมภาพดอกทานตะวันที่เขาวาด ก็รู้สึกดีใจมาก จึงได้วาดภาพดอกทานตะวันอีกหลายภาพ เพื่อแสดงความขอบคุณที่ Gauguin เข้าใจและรักภาพที่เขาวาด
ทานตะวัน (Helianthus annuus) เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่ ในวงศ์ Asteraceae ลำต้นขึ้นตรงและสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร ลำต้นมีขนเล็ก ๆ ปกคลุมเต็ม สามารถอุ้มน้ำได้ดี ดังนั้นขณะที่มีอายุยังน้อย ลำต้นจะหักง่าย แต่เมื่ออายุมากขึ้น ลำต้นจะแข็งแรง ใบมีสีเขียว ลักษณะเป็นรูปหัวใจที่มีความยาวตั้งแต่ 10-15 เซนติเมตร ต้นหนึ่ง ๆ อาจมีใบได้ตั้งแต่ 10-70 ใบ โดยใบจะแตกจากลำต้นเป็นคู่ ๆ แยกเป็นมุมที่ตั้งฉากกัน เพื่อให้ใบสามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด
ครั้นเมื่อต้นมีดอกแล้ว การแตกใบจะลดน้อยลง ๆ ดอกที่ออกเป็นกลุ่มดอก (inflorescence) ที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ทานตะวันจึงไม่จำเป็นต้องใช้แมลงในการผสมเกสร หัวดอกที่กลมอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 30 เซนติเมตร และกลุ่มดอกหนึ่งกลุ่มอาจจะมีดอกย่อยได้มากนับพัน ซึ่งอัดเรียงรายกันแน่นบนช่อดอก
ตามปกติดินที่เหมาะสำหรับการปลูกทานตะวันมักจะมี pH ในช่วง 5.7-8.0 เป็นดินร่วนปนทราย และเดือนที่เหมาะสำหรับการปลูก คือ ช่วงเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูฝน ทานตะวันชอบขึ้นในที่ ๆ ไม่มีน้ำขัง ในที่ ๆ อากาศมีอุณหภูมิตั้งแต่ 18-25 องศาเซลเซียส รากทานตะวันตามปกติสามารถลงลึกได้ตั้งแต่ 1.5-2.7 เมตร แม้เป็นพืชที่ไม่ต้องการความเอาใจใส่มาก แต่ทานตะวันก็ยังต้องการปุ๋ย และยากำจัดวัชพืช เช่นยา alachlor สำหรับพ่นฉีดกันโรคราสนิมและโรคเหี่ยว และแมลงที่ชอบทำร้ายต้น คือ เต่าทอง
โดยทั่วไปหลังจากที่ต้นออกดอกแล้วหนึ่งเดือน กลีบดอกทานตะวันก็มักจะเปลี่ยนจากเหลืองสดเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่า ดอกกำลังจะแก่เต็มที่และพร้อมที่จะให้ตัดไปผึ่งแดด ส่วนลำต้นที่ตากแดดแห้งแล้วก็เหมาะสำหรับการนำไปใช้ทำกระดาษ และเป็นเชื้อเพลิง ส่วนรากก็ใช้ทำแป้ง
ทานตะวันมักแพร่พันธุ์ โดยใช้เมล็ดที่มีสีดำแกมเทา ดอก ๆ หนึ่งสามารถมีเมล็ดได้มากตั้งแต่ 250-1,500 เมล็ด โดยที่เมล็ดมีการอัดเรียงกันเต็มหน้าดอก เมล็ดมีความยาวตั้งแต่ 7-25 มิลลิเมตร และกว้างตั้งแต่ 4-13 มิลลิเมตร มีสารอาหารประเภทโปรตีนที่อาจจะมีมากถึง 50% ของน้ำหนัก
ในปี 1716 Arthur Bunyan ได้วิจัยพบว่า น้ำมันพืชที่สกัดได้จากเมล็ดทานตะวัน นอกจากจะใช้ทำเนยเทียม น้ำสลัด ปรุงอาหาร ทำสีและทำพลาสติกได้แล้ว กากที่เหลือจากการใช้ยังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย เพราะน้ำมันทานตะวัน มีกรดไขมันที่สามารถลด cholesterol ได้ดี นักโภชนาการยังได้พบว่า น้ำมันทานตะวันเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณภาพดีรองจากน้ำมันถั่วเหลือง ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โลกผลิตน้ำมันทานตะวันได้ปีละ 1 แสนตัน ปัจจุบันรัสเซียประเทศเดียวก็ผลิตได้ปีละ 10 ล้านตันแล้ว
นักคณิตศาสตร์ก็ได้พบว่า หลังจากที่ศึกษาหัวดอกทานตะวันอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว ได้เห็นดอกย่อยเรียงกันเป็นเกลียวก้นหอย (helix) 2 เกลียว โดยเกลียวหนึ่งจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ด้วยการเริ่มต้นจากจุดศูนย์กลางของดอก ส่วนอีกเกลียวหนึ่งก็ออกจากจุดศูนย์กลางของดอกเช่นกัน แต่หมุนทวนเข็มนาฬิกา การนับจำนวนเกลียวที่หมุนตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา จะได้ 34 หรือ 55 เกลียว ในกรณีที่ดอกมีขนาดใหญ่มาก จำนวนเกลียวที่หมุนทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกาก็อาจจะมีมากถึง 89 เกลียว และ 144 เกลียวก็ได้
ตัวเลข 34 , 55 ,89 ,144 … เหล่านี้ นักคณิตศาสตร์รู้จักดีในนามของจำนวน Fibonacci ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์คนสำคัญในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ผู้ได้คิดสร้างอนุกรมหนึ่งขึ้นมา คือ 1 , 1 , 2 , 3 , 5 , 8 , 13 , 21 , 34 , 55 , 89 , 144 … ซึ่งตัวเลขตั้งแต่ตัวที่ 3 ขึ้นไป เป็นตัวเลขที่ได้จากการรวม 2 จำนวนข้างหน้าที่อยู่ติดกัน เช่น 5 = 2+3 และ 34 = 13+21 เป็นต้น
ดังนั้น ทานตะวันจึงอาจได้ชื่อว่า ดอกไม้ของ Fibonacci ก็ได้
Leonardo Pisano Fibonacci หรือ Leonardo of Pisa เกิดเมื่อปี 1170 ที่เมือง Pisa ในประเทศอิตาลี บิดามีอาชีพเป็นเลขานุการของเจ้าของโรงงานทอผ้า คำว่า Fibonacci มาจากการรวมคำ Filius กับ Bonacci จึงแปลว่าบุตรของ Bonacci
เมื่อ Fibonacci อายุได้ 12 ปี บิดาได้งานใหม่เป็นหัวหน้าบริษัทธุรกิจที่เมือง Bugia ในประเทศ Algeria เพราะงานใหม่ต้องการคนที่คำนวณเก่ง ดังนั้นบิดาจึงนำลูกชายหัวแก้วหัวแหวนที่เก่งคณิตศาสตร์ไปช่วย และได้จัดให้มีครูมาสอน Fibonacci ให้รู้จักใช้ลูกคิดในการคำนวณด้วย
เพราะครูที่สอนเป็นแขก Moor ที่นิยมใช้เลขฮินดูอารบิก (0,1,2,…,9) ในการคำนวณ แทนที่จะใช้เลขโรมันเจ็ดตัวคือ I , V , X , L , C , D และ M แทนจำนวน 1 , 5 , 10 , 50 , 100 , 500 และ 1,000 ตามลำดับ การเขียนเลขในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ชาวยุโรปตะวันตกในเวลานั้นนิยมใช้กันทั่วไป เมื่อระบบเลขโรมันไม่มีเลขศูนย์ ดังนั้นการเขียนและใช้จำนวนในการคูณ หาร บวก และลบ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากมาก เช่น 8 ต้องเขียน VIII เป็นต้น ผู้คนจึงหันไปใช้ลูกคิดแทน แม้การคำนวณโดยลูกคิดจะสะดวกขึ้น แต่การตรวจสอบไม่สามารถกระทำได้ เพราะลูกคิดมิได้มีอุปกรณ์บันทึกผลคำนวณ
Fibonacci ได้เรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้เลขฮินดูอารบิกจนเก่งอย่างคล่องแคล่ว จึงสามารถช่วยบิดาทำธุรกิจใน Egypt , Syria , Greece , Turkey และ France ได้ดี แล้วได้เดินทางกลับอิตาลีในปี 1200 เพื่อทำหน้าที่เป็นโหรในจักรพรรดิ Frederick ที่ 2 แห่งอาณาจักรโรมัน เพราะมีความสามารถในการคำนวณ และดูดวงชะตาของคนที่มาหาได้อย่างน่าเลื่อมใส
ในปี 1202 Fibonacci ได้เรียบเรียงตำรา ชื่อ Liber Abaci (The Book of Calculation) ซึ่งเป็นตำราเรื่องการนับ โดยได้นำความรู้คณิตศาสตร์ของชาวอาหรับมาบอกกล่าว และชักชวนให้ชาวยุโรปหันมาใช้เลขฮินดูอารบิกแทนเลขโรมัน เพื่อความสะดวกในการซื้อขายและทำธุรกิจ จุดเด่นของตำราเล่มนี้ คือ การได้นำเลขศูนย์ของนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียมาใช้เป็นครั้งแรกในยุโรป และได้รับการต่อต้านมาก เพราะนักบวชและพ่อค้าไม่พอใจด้วยการกล่าวหาว่า เป็นความรู้ของพวกนอกรีต จนกระทั่งถึงปี 1299 พ่อค้าในเมือง Florence จึงได้เริ่มทำบัญชี โดยใช้เลขอารบิกแทนเลขโรมัน
ผลงานตำรา Practica Geometriae ที่มีความรู้เรื่องเรขาคณิต และตรีโกณมิติ ในเวลาต่อมาได้ทำให้ชื่อเสียงของ Fibonacci โด่งดังยิ่งขึ้นไปอีก จนจักรพรรดิ Frederick ที่ 2 ทรงโปรดให้เป็นปราชญ์แห่งราชสำนัก
แต่เมื่อเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดเหตุการณ์กาฬโรคระบาดในยุโรป มีผลทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในอิตาลีก็มีสงครามกลางเมืองในปี 1338 อิตาลีได้ทำสงคราม 100 ปี กับฝรั่งเศส ครั้นถึงปี 1453 กรุง Constantinople ก็แตก มีผลทำให้อาณาจักร Byzantine ต้องล่มสลาย ในอังกฤษมีสงครามดอกกุหลาบ เมื่อการสงครามสู้รบได้เกิดขึ้นทุกหนแห่งเช่นนี้ จึงไม่มีใครสนใจเรื่องวิชาการเลย ยุโรปจึงก้าวเข้าสู่ยุคมืด (Dark Ages) แต่ได้หวนกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกในยุค Renaissance
Fibonacci ได้เสียชีวิตลงในปี 1250 และทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนเมือง Pisa นอกจากจะได้เห็นหอเอนแล้ว ที่ตรงข้ามหอเอนก็มีอนุสาวรีย์ของ Fibonacci ตั้งอยู่ด้วย
ในฐานะนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุโรปยุคกลาง นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกต่างก็รู้จักชื่อของ Fibonacci ในเรื่องลำดับ Fibonacci (Fibonacci sequence)ที่ประกอบด้วยอนุกรมของเลขจำนวนเต็ม ที่ Fibonacci พบ จากความพยายามตอบโจทย์ เรื่องประชากรของกระต่าย ซึ่งในแต่ละเดือนที่เพิ่มจากการสืบพันธุ์ นั่นคือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144 แสดงว่าในเดือนที่ 12 จะมีกระต่ายทั้งหมด 144 คู่
ปริศนาที่คนทั่วไปทุกคนสนใจเกี่ยวกับดอกทานตะวัน คือ ก่อนจะออกดอก ลำต้นของมัน จะทำหน้าที่ควบคุมปลายยอดของต้นให้หันไปทางทิศตะวันออกในเวลากลางวัน และให้หันไปทางทิศตะวันตกในเวลาบ่าย กระบวนการ “บิดตัว” ตามดวงอาทิตย์ในลักษณะนี้ นักพฤกษศาสตร์ เรียกว่า heliotropism และเมื่อถึงเวลากลางคืน ยอดต้นก็จะหันตัวกลับไปทางทิศตะวันออก เพื่อเตรียมตัวรับดวงอาทิตย์ในยามเช้าอีก การที่มันทำเช่นนี้ได้ เพราะทานตะวันมีฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง ชื่อ auxin ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปทางด้านของต้นที่ไม่ถูกแดด ทำให้ลำต้นโค้งกลับ และตั้งตรงในเวลาเที่ยงวัน ครั้นเมื่อพระอาทิตย์จะตกดิน ส่วนปลายของต้นก็จะโค้งกลับทางทิศตะวันตก เพราะ auxin ได้เคลื่อนที่กลับแล้ว และจะกลับมาตั้งตรงอีกในเวลาเที่ยงคืน แต่เมื่อต้นทานตะวันโตเต็มที่ ดอกทานตะวันจะไม่หันหน้าตามแสงอาทิตย์อีกต่อไป
นี่คือรายงานการวิจัยของ Hagop Atamian แห่งมหาวิทยาลัย California ที่ Davies ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Science ฉบับที่ 353 หน้า 587 เมื่อปี 2016 คำถามที่ตามมาคือ กระบวนการ heliotropism มีประโยชน์สำหรับต้นพืชอย่างไร เหตุใดพืชทุกชนิด จึงไม่ได้ใช้กระบวนการนี้ในการดำรงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการสร้างพลังงานของพืชมีบทบาทเพียงใด ในการควบคุมปริมาณ heliotropism
ในวารสาร Nature ฉบับที่ 546 หน้า 148-152 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2017 H. Badouin กับคณะได้รายงานการถอดรหัส genome ของทานตะวัน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้เมล็ดน้ำมันในปริมาณมาก ขณะตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ในภูมิประเทศที่แห้งแล้ง หรือมีฝนตกมาก และได้พบว่า genome ของทานตะวัน (Helianthus annuus) มี 3.6 gigabase (3.6x109 bases) การรู้ genome อย่างละเอียดครบถ้วน ทำให้นักพฤกษศาสตร์สามารถรู้เส้นทางวิวัฒนาการของทานตะวัน และรู้ gene ที่มีบทบาทต่าง ๆ ในการควบคุมการเจริญเติบโตของทั้งราก ลำต้น ใบ และดอก เวลาที่ต้นทานตะวันประสบปัญหา เช่น ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งมาก เพื่อให้มันสามารถออกดอกที่ให้เมล็ดจำนวนมาก เพื่อใช้ในการผลิตน้ำมันทานตะวันที่มีคุณภาพต่อไป
อ่านเพิ่มเติมจาก Environmental analysis of sunflower production with different forms of mineral nitrogen fertilizers. โดย D. Spinelli et al. ใน International Journal of Life Cycle Assessment. Journal of Environmental Management ฉบับที่ 22 (4) ปี 2017
สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" จาก "ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน" ได้ทุกวันศุกร์