สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งมอบนวัตกรรมแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สำหรับงานทางการแพทย์และผู้สูงอายุ ผลงานประดิษฐ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ และทีมผู้วิจัย แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ โดยนวัตกรรมหุ่นยนต์จะช่วยลดการสัมผัสให้น้อยลง เว้นระยะห่าง ลดการติดเชื้อ และการกระจายแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี เข้ากับยุคนิวนอร์มอล
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านราชาวดี (หญิง) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช.
จากสถานการณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ และการแพร่ระบาดที่ขยายในวงกว้าง มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยผลการศึกษาวิจัย พบว่าอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรค COVID-19 จะพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนพิการ โดยจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดที่จะติดเชื้อและเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ในการขับเคลื่อนงานนวัตกรรมด้านคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้สาหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้คนพิการและผู้อายุได้รับการบริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การขยายผลต่อกลุ่มเป้าหมายและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
โดย วช. ได้ส่งมอบนวัตกรรมแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สำหรับงานทางการแพทย์และผู้สูงอายุ ที่เป็นผลงานประดิษฐ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ และทีมผู้วิจัย แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ โดยนวัตกรรมหุ่นยนต์จะช่วยลดการสัมผัสให้น้อยลง เว้นระยะห่าง ลดการติดเชื้อ และการกระจายแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานร่วมกันได้มีการส่งมอบผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เช่น เตียงพลิกตะแคงอัตโนมัติ เครื่องกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยสนามไฟฟ้าโคโรนา หมอนสามเหลี่ยมสำหรับจัดท่านอนตะแคง และอุปกรณ์เสียงเตือนปัสสาวะใช้ร่วมกับผ้าอ้อมผู้ใหญ่
ทั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทาง วช. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในครั้งนี้ได้มีโอกาสมาร่วม นำตัวนวัตกรรมตัวผลงานจากความรู้ความสามารถของนักวิจัยนักประดิษฐ์ไทยมาส่งให้กับผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งก็คือกรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ ได้มีการเดินหน้าร่วมกันระหว่างกระทรวง 2 กระทรวง ทาง พม. และ วช. ตั้งแต่ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นภาพของความต่อเนื่อง ในความตั้งใจและก็ความพยายาม ในการนำนวัตกรรมที่สามารถเข้าสู่การใช้ประโยชน์กับผู้ต้องการ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานอกจากในเรื่องของตัวหุ่นยนต์ที่เราจะเห็นภาพในเวทีนี้แล้ว ยังมีตัวชิ้นงานอีกหลายส่วนที่ทางวช. ได้รับความร่วมมือจากคณะการวิจัยหลายสถาบัน ในการร่วมกันนำผลสำเร็จตัวงานวิจัยนวัตกรรมมาสู่การใช้ประโยชน์จนถึงความต้องการของหน่วยงานภายใต้กระทรวงพม.
ซึ่งในวันนี้ที่ส่งมอบนวัตกรรมทั้ง 2 หุ่นยนต์สำหรับงานทางการแพทย์ในวันนี้ ถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนงบประมาณในการวิจัยที่เราได้ลงเม็ดเงินในแต่ละปี เราเห็นภาพงานต่างๆ เป็นจำนวนมาก เราคงอยากเห็นภาพในตัวผลงานวิจัยและความสำเร็จเหล่านั้นได้นำสู่มือของผู้ใช้ แล้วก็ในส่วนของการใช้ประโยชน์สามารถที่จะตอบโจทย์ให้กับหน่วยงานหรือผู้ที่จะได้รับนวัตกรรมเหล่านั้น ไปใช้ปฎิบัติหน้าที่ มองถึงนวัตกรรมที่น่าจะได้มีการนำมาสู่การทำงานได้โดยตรง ก็มีตัวหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวเป็นการตอบโจทย์ สำหรับในเรื่องการงดการสัมผัส จาการที่ต้องมีการเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการไอหรือการจาม ซึ่งการสัมผัสบนพื้นผิว หรือจากการปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆเหล่านี้ ถือว่าเป็นข้อระมัดระวังสูงมาก ซึ่งจากการศึกษาหลายๆเรื่องในส่วนมาตรการสาธารณสุขเองก็สร้างมาตรการในการมีโซเชียลดิสแทนซิ่งในการงดการสัมผัสต่างๆ ในส่วนของวช.เองก็ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในแผนงานดังกล่าว โดยเฉพาะผู้พิการและสูงอายุ ซึ่งในส่วนของกรอบความร่วมมือในเรื่องของการขับเคลื่อนนวัตกรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ที่ดีขึ้น ในส่วนของหน่วยงานต่างๆ และในตัวนักวิจัยเองก็อยากสร้างผลงานกับนโยบายต่างๆ ในนามของสำนักงานวิจัยแห่งชาติหรือวช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรืออว. เรามุ่งมันที่จะผลักดันให้เกิดผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ โดยเฉพาะในกลุ่มของสังคม และเป้าหมายสำคัญนอกเหนือจากในครั้งนี้เรายังร่วมมือกับ พม. กับทางกรม ในการสร้างนวัตกรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นและขยายสู่เป้าหมายอื่นๆตามความต้องการใช้ของทางกรมอีกต่อไป
ด้านดร.วิภารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยกระทรวง พม.และอว. ได้มีความร่วมมือกันตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ที่ได้มีการลงนาม MOU เพื่อที่จะนำนวัตกรรมผลงานวิจัยและเทคโนโลยีพร้อมใช้ จากการที่นักวิจัยท่านได้สร้างสรรค์ผลงานจนถึงผลสำเร็จโดยใช้โจทย์จากทางพม.เป็นตัวตั้งต้น โจทย์ในที่นี้ไม่ใช่การวิจัยแต่เป็นโจทย์เพื่อการใช้ประโยชน์โดยมีจุดมุ่งเน้นอยู่2ส่วนสำคัญ คือกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้นในส่วนของตัวนวัตกรรมต่างๆ ที่นำสู่การส่งมอบจากทางพม.และอว.ให้กับทางกรมต่างๆ ก็จะเป็นงานสำคัญๆในเรื่องของการงดการสัมผัสในเรื่องโซเชียลดิสแทนซิ่ง ผู้ที่จะได้รับความดูแล ในกรอบความร่วมมือปีที่ผ่านมาทางวช.ได้สะสมงบประมาณเพื่อกิจการดังกล่าวไปเกือบ20ล้านบาท ส่วนนึงท่าน ดร.วิบูลย์ แสงระวีพันธุ์ศิริ ท่านก็เป็นนักวิจัยชั้นแนวหน้าที่เข้ามาเป็นทีมวิจัยนี้ นี่ก็เป็นกรอบความร่วมมือส่วนนึงที่ได้เข้ามาช่วยสร้างนวัตกรรมเหล่านี้
ด้านนางสาว สราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของพก.เนี่ยปกติการทำงานเราจะสัมผัสกับน้องๆที่ดูแล และพอมีสถานการณ์โควิด-19 เราจะต้องลดการสัมผัสลง น้องๆที่ทำงานมีไข้เราก็ต้องแยก น้องหุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะมาช่วยในการแยกการติดเชื้อได้ง่าย ในระบบสายการแพทย์ สามารถที่จะจัดยา ในตัวผู้ดูแลก็จะลดการสัมผัสและลดการเสี่ยงในการเอาเชื้อไปแพร่กระจาย
ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงระวีพันธุ์ศิริ ผู้วิจัย กล่าวว่า แพลตฟอร์มแสดงว่าเราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ หุ่นยนต์ทั้ง2ตัว เราทำขึ้นมาเองทั้งหมด อนาคตจะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะเห็นว่าว่ามีหุ่นยนต์2ตัว ตัวนึงจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต เราเลยดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของหน่วยงานนั้นเลย เพราะฉะนั้นในโครงการนี้เราเลยใช้หุ่นยนต์คู่นี้ ตัวนึงเป็นแบบอัตโนมัติเพราะเราทำแผนที่ คนคุมสามารถควบคุมได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และเราสามารถปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับสถานที่หรือหน่วยงานที่จะใช้งานได้ และอีกตัวเป็นตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับใช้ที่บ้านใช้คนเดียว ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านต้องการคนดูแล เป็นครั้งเป็นคราว
"การใช้ชาร์จแบต 2-3ชั่วโมง สามารถใช้งานได้8ชั่วโมง จริงๆ แล้วใช้ประจำก็จะมีความร้อนปกติ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องแอร์ อุปกรณ์เหล่านี้เราทำเอง ถึงเวลาถ้าพังก็ซ่อมแค่นั้นเอง เพราะอย่างที่บอกว่าเราทำเอง เหล่ามีอะไหล่ทุกชิ้น เพราะเราทำหลายอย่าง" ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ กล่าวทิ้งท้าย