xs
xsm
sm
md
lg

“เกาะลิบง” แหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในไทยมีมากถึง 11 ชนิด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายคะนอง แสงสว่าง (เสื้อแดง) นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นเครือข่ายอนุรักษ์พะยูน กำลังอธิบายเรื่องราว “หญ้าทะเล”

“เกาะลิบง” กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นภายหลังการตายของ “มาเรียม” พะยูนน้อย โดยเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งที่อาศัยของพะยูนมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย


นายคะนอง แสงสว่าง นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นเครือข่ายอนุรักษ์พะยูน จังหวัดตรัง ได้เล่าให้ฟังว่า เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง และยังเป็นที่ตั้งของแหล่งหญ้าทะเลอันกว้างใหญ่กินพื้นที่กว่า 16,000 ไร่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งหญ้าทะเลนั้นก็เป็นอาหารของพะยูน จึงทำให้ที่เกาะลิบงแห่งนี้ เป็นแหล่งอาศัยของพะยูนเป็นจำนวนมาก โดยจากการสำรวจพบมีจำนวนประมาณ 200 ตัวในบริเวณรอบๆ เกาะ


หลายคนคิดว่าหญ้าทะเลนั้นคงมีอยู่เพียงแค่ชนิดเดียว และมีรูปร่างหน้าตาคล้ายๆ กับหญ้าที่อยู่บนบกแต่ไปเติบโตอยู่ในน้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หญ้าทะเลนั้นมีหลากหลายชนิดและมีหลากหลายลักษณะ ในน่านน้ำทั่วโลกพบหญ้าทะเลทั้งสิ้นประมาณ 60 ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ตามบริเวณชายฝั่งน้ำตื้นทั่วไป


เราพบแหล่งหญ้าทะเลบริเวณต่อเนื่องจากป่าชายเลนปากแม่น้ำ หรือพบใกล้ๆ กับแนวปะการัง และในน่านน้ำไทยก็พบหญ้าทะเลถึง 12 ชนิด โดยในฝั่งทะเลฝั่งอันดามันจะพบหญ้าทะเลทั้งหมด 11 ชนิด ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ “หญ้าตะกานน้ำเค็ม” จะพบได้เฉพาะในทะเลทางฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น


สำหรับแหล่งหญ้าทะเลที่เกาะลิบงนั้นพบหญ้าทะเลได้ครบทั้ง 11 ชนิด โดยเติบโตปะปนกัน ตัวอย่างเช่น “หญ้าคาทะเล” ที่มีหน้าตาเหมือนใบหญ้าคาบนบก มองเห็นได้โดยง่าย, "หญ้าใบมะกรูด" ที่มีใบบางๆ ขนาดเล็กคล้ายกับใบของต้นมะกรูด “หญ้าเงาใบเล็ก" ที่มีลักษณะใบที่คล้ายกับหญ้าใบมะกรูดมาก แต่จะมีเส้นกลางใบที่แตกต่างกัน และ “หญ้าชะเงาใบมน” ที่คล้ายกับหญ้าคาทะเลแต่ใบอ่อนกว่าและมีปลายมน


“ความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลในบริเวณนี้ เกิดขึ้นจากตะกอนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเกาะลิบง โดยมีดินปะปนกันอยากหลากหลายชนิด ดูง่ายๆ คือการหยิบดินขึ้นมาดู ถ้าทรายมากกว่า ก็จะเป็นทรายปนโคลน โคลนมากกว่าก็จะเป็นโคลนปนทราย บางแห่งก็เป็นดินเลนไปเลย" นายคะนอง นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นอธิบาย


นายคะนองอธิบายต่อว่า ดินจะเป็นปัจจัยบ่งบอกว่าจุดนั้นจะพบหญ้าชนิดใด เช่น บริเวณดินเลนจะพบ “หญ้าเงาแคระ” ที่มีใบคล้ายๆ เมล็ดข้าว และระดับน้ำทะเลบริเวณนี้ก็ยังพอเหมาะไม่ลึกไปหรือตื้นไป ช่วงที่หญ้าทะเลเติบโตดีที่สุดจะเป็นช่วงเดือน พฤศจิกายน - มีนาคม เพราะช่วงนี้ทะเลมีแดด ไม่มีมรสุมคลื่นลม จึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเลเป็นอย่างมาก


"หากเป็นช่วงเวลาน้ำลงแล้ว ก็จะสามารถมองเห็นทุ่งหญ้าทะเลกว้างใหญ่สุดลุกหูลูกตา และยังมีบางส่วนที่น้ำลดระดับลงไม่ถึง พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่สามรถศึกษาข้อมูล และดูความแตกต่างของหญ้าทะเลได้ครบทุกชนิด” นายคะนอง นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้อธิบายให้ฟัง


ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลที่มีหลากหลายสายพันธุ์ จึงทำให้จุดนี้ กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์มากมาย ในยามที่น้ำขึ้นก็จะเป็นแหล่งหากินของเต่า ปลานานาชนิด และพะยูน โดยหญ้าทะเลทุกชนิดนั้นเป็นอาหารของของพะยูน ซึ่งพะยูนจะกินทุกส่วนโดยจะใช้ปากดุนพื้นแล้วไถไปตามพื้นเพื่อกินหญ้าทะเล


"เราจะเห็นร่องรอยการกินของพะยูนได้ในช่วงน้ำลด ซึ่งจะเป็นร่องที่เป็นแนวยาวตามพื้น ระหว่างกินอาหารนี่เองที่เป็นช่วงพะยูนเผลอกินขยะเข้าไป เพราะในบางจุดมีขยะปะปนอยู่ จึงทำให้พะยูนที่กินเข้าไปป่วยและตายในที่สุด และในช่วงน้ำลงนี้ ก็ยังเป็นแหล่งหาอาหารของนกทะเลนานาชนิดๆ ซึ่งคนที่ชอบดูนกก็สามารถมาชมได้ในจุดนี้ด้วย”


นายคะนอง กล่าวเสริมว่า นอกจากหญ้าทะเลจะเป็นอาหารของพะยูนแล้ว ระบบนิเวศหญ้าทะเลยังมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งวางไข่ อนุบาลตัวอ่อนสัตว์น้ำ และยังมีส่วนช่วยในการรักษาหน้าดิน เพราะหญ้าทะเลมีระบบรากที่คอยยึดจับเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน การอนุรักษ์หญ้าทะเลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถือเป็นการอนุรักษ์สัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดที่พึ่งพาหญ้าทะเลไปในตัว ธรรมชาติก็จะยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ไม่มีสิ่งใดขาดหายไป
รูปลักษณ์ “หญ้าทะเล” ที่แตกต่างกันตามแต่ละชนิด
แหล่งหญ้าทะเลที่เกาะลิบงแห่งนี้ สามารถพบหญ้าทะเลได้ครบทั้ง 11 ชนิด เติบโตปะปนกัน อาทิ “หญ้าคาทะเล” ที่มีหน้าตาเหมือนใบหญ้าคาบนบก มองเห็นได้โดยง่าย , หญ้าใบมะกรูด ที่มีใบบางๆ ขนาดเล็กคล้ายกับใบของต้นมะกรูด , “หญ้าเงาใบเล็ก" ที่มีลักษณะใบที่คล้ายกับหญ้าใบมะกรูดมาก แต่จะมีเส้นกลางใบที่แตกต่างกัน “หญ้าชะเงาใบมน” ที่คล้ายกับหญ้าคาทะเลแต่ใบอ่อนกว่ามีปลายมน

“ความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลในบริเวณนี้ เกิดขึ้นจากตะกอนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเกาะลิบง โดยมีดินปะปนกันอยากหลากหลายชนิด ดูง่ายๆ คือการหยิบดินขึ้นมาดู ถ้าทรายมากกว่า ก็จะเป็นทรายปนโคลน โคลนมากกว่าก็จะเป็นโคลนปนทราย บางแห่งก้เป็นดินเลนไปเลย และดินจะเป็นตัวบอกได้ว่าจุดนี้จะพบหญ้าชนิดไหน เช่น หากเป็นดินเลนก็จะพบ “หญ้าเงาแคระ” ที่มีใบคล้ายๆ เมล็ดข้าว และระดับน้ำทะเลบริเวณนี้ก็ยังพอเหมาะไม่ลึกไปหรือตื้นไป ช่วงที่หญ้าทะเลเติบโตดีที่สุดจะเป็นช่วงเดือน พฤศจิกายน - มีนาคม เพราะช่วงนี้ทะเลมีแดด ไม่มีมรสุมคลื่นลม จึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเลเป็นอย่างมาก หากเป็นช่วงเวลาน้ำลงแล้ว ก็จะสามารถมองเห็นทุ่งหญ้าทะเลกว้างใหญ่สุดลุกหูลูกตา และยังมีบางส่วนที่น้ำลดระดับลงไม่ถึง พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่สามรถศึกษาข้อมูล และดูความแตกต่างของหญ้าทะเลได้ครบทุกชนิด” นายคะนอง นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้อธิบายให้ฟัง
นายคะนอง แสงสว่าง อธิบายรูปลักษณ์ “หญ้าทะเล” ที่แตกต่างกันตามแต่ละชนิด
หญ้าทะเลหลากหลายชนิด ณ แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง
“หญ้าคาทะเล” ที่มีหน้าตาเหมือนใบหญ้าคาบนบก มองเห็นได้โดยง่าย
ทัศนียภาพทุ่งหญ้าทะเลกว้างใหญ่ เนื้อที่กว่า 16,000 ไร่
ทัศนียภาพทุ่งหญ้าทะเล
ร่องรอย “พะยูนกินหญ้าทะเล” เห็นได้ในช่วงน้ำลด
ทุ่งหญ้าทะเลกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ณ เกาะลิบง
กำลังโหลดความคิดเห็น