xs
xsm
sm
md
lg

เด็ก มอ.เจ๋งคว้าสุดยอดไอเดียทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เด็ก มอ.โชว์เจ๋งคว้าสุดยอดไอเดียข้อเสนองานวิจัยการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า จัดแข่งขัน “นำเสนอผลงานวิจัยด้านอวกาศ ภายใต้โครงการ Space Experiment Ideas Contest หรือ SEIC” ระดับอุดมศึกษา รอบชิงชนะเลิศ ผลปรากฏว่าทีม Biolock จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้าสุดยอดไอเดียฯ ในงานมหกรรมอวกาศระดับนานาชาติ 2019 ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี

ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด ปฏิบัติงานอธิการสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศของจิสด้า กล่าวว่าการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการจุดประกายความคิดของเยาวชนไทยรุ่นใหม่ให้มีความสนใจในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์อวกาศให้มากขึ้น เนื่องจากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ณ วันนี้ มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศแทบทั้งสิ้น และให้ทุกคนได้ตระหนักว่า “อวกาศไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไปแล้ว”

สำหรับ 10 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบมาประชันความสามารถกัน ประกอบด้วย

1.ทีม BIOLOCK นำเสนอไอเดีย การควบคุมการปลดปล่อยยาจากนาโนแคปซูลภายใต้ zero-g สำหรับป้องกันแบคทีเรียที่สร้าง Biofilm 2.ทีม NANOTECHNOLOGY TEAM นำเสนอไอเดีย Photocatalytic disinfection activities on Enterobacter strains of bacteria using bio-synthesized metal doped Zinc Oxide nanocomposites at zero gravity 3.ทีม YOUNG GEN INNO-GRAVITY นำเสนอไอเดีย มิติอุจจาระในห้วงอวกาศ โดยทั้ง 3 ทีมมาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. ทีม WEIRD นำเสนอไอเดีย Biophysical analysis of effect of microgravity to vital organ in developmental phase จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. ทีม KMUTT – BEE KING นำเสนอไอเดีย การศึกษาพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของผึ้งต่อสิ่งเร้าหรือแสงภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง Relation of bee's movement and behavior to stimulus or light in zero-gravity state จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 6.ทีมส้มบางมด นำเสนอไอเดีย Hydrulic Zero-G จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. ทีม PROJECT PEGASUS นำเสนอไอเดีย Bagnosis DCN ชุดกล้องประมวลผลภาพแบคทีเรียผ่านกล้องจุลทรรศน์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. ทีม PANIC MONSTER นำเสนอไอเดีย The influence of microgravity environment on Ethanol dioxide production of Saccharomyces cerevisiae จากมหาวิทยาลัยมหิดล 9. ทีม GRAVITY TWO นำเสนอไอเดีย Sponge Powder Space จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมที่ 10 คือทีม ARCHAEO GO GO นำเสนอไอเดีย การวิเคราะห์ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินด้วยวิธีการไทเทรตในสภาวะไร้น้ำหนัก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

จากการแข่งขันดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ซึ่งจิสด้าและหน่วยงานร่วมต่างก็มุ่งหวังที่จะเห็นนิสิต นักศึกษาได้รู้จักใช้เวลาว่างที่นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน หันมาสนใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเราให้มากขึ้น โดยนำคุณค่าที่ได้รับจากงานวิจัยมาพัฒนาเป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นไอเดียใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ หรือในอีกด้านหนึ่งคือส่งเสริมและกระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆด้านอวกาศที่ ณ วันนี้จะไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป และยกระดับการศึกษาวิจัยของประเทศให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก โดยเฉพาะด้านการสำรวจอวกาศ และการทดลองวิทยาศาสตร์ในสภาพแวดล้อมอวกาศอีกด้วย

ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ฯ กล่าวว่าผลการแข่งขันในครั้งนี้เป็นไปตามคาด เมื่อทีม Biolock จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซิวรางวัลชนะเลิศไปครอง กับไอเดียผลงาน "การควบคุมการปลดปล่อยยาจากนาโนแคปซูลภายใต้ zero-g สำหรับป้องกันแบคทีเรียที่สร้าง Biofilm" โดยจะได้รับสิทธิ์การต่อยอดในโครงการ Space Experiment Ideas Contest ไปสู่การทดลองในอวกาศต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น