xs
xsm
sm
md
lg

“ขยะอาหาร” ตัวการโลกร้อนที่เรามองไม่เห็น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพการประกอบอาหารสไตล์เมริกัน ทั้งนี้การสูญเสียและทิ้งอาหารนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มักถูกมองข้าม Carl Tremblay/Americas Test Kitchen via AP
รายงานจากคณะกรรมการด้านภูมิอากาศของสหประชาชาติ เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่าเราทิ้งอาหารวันละหลายพันล้านตัน โดยในช่วง 5 ปีมานี้เราทิ้งอาหารเพิ่มขึ้นึง 40% และเป็นปริมาณที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 8% จากการประเมินขององค์การอาหารและเกษตร

รายงานเรื่องการทิ้งอาหารนี้เป็นส่วนของรายงานเกี่ยวกับการใช้ที่ดินทำมาหากินของมนุษย์ โดยการประเมินทางวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) หรือ IPCC ของสหประชาชาติ

เอเอฟพีอ้างถึงร่างสรุปรายงานของ IPCC ว่า มีปริมาณมากึง 20-30% ของอาหารที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาเพื่อบริโภคทุกปีนั้นต้องสูญเสียหรือถูกทิ้งไป ซึ่งคิดเป็นปริมาณมากถึง 1.3 พันล้านตัน โดยนับจาก ปี ค.ศ.1970 เป็นต้นมา มีปริมาณถูกทิ้งเพิ่มมากขึ้นถึง 40% หรือเป็นปริมาณพลังงานที่คนบนโลกจะได้รับเพิ่มขึ้นคนละ 200 แคลอรี่ต่อวัน

จากการประเมินขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งดังกล่าวนั้นเป็นต้นทุนที่ต้องสูญเสียของเศรษฐกิจทั่วโลก คิดเป็นเงินที่สูญเสียไปปีละ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 30 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังเป็นกลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์มากถึง 8%

รายงานจาก IPCC ยังเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมหาศาลระหว่างการผลิตอาหารและการทิ้งอาหารในประเทศที่ร่ำรวยและประเทศกำลังพัฒนา โดย FAO ระบุว่าอาหารเหลือทิ้งของประเทศที่ร่ำรวยนั้นมีมากถึงปร 222 ล้านตัน ซึ่งเกือบเท่าอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศในแอฟริกาใต้สะฮารา (sub-Saharan Africa) นั่นคือ 230 ล้านตัน

ทั้งนี้ คนในยุโรปและอเมริกาเหนือนั้นทิ้งอาหารเฉลี่ยคนละ 95-115 กิโลกรัมต่อปี ขณะที่คนในแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียนั้นทิ้งอาหารกันคนละ 6-11 กิโลกรัมต่อปี โดยการทิ้งและสูญเสียอาหารนั้นแตกต่างกันไปตามการพัฒนาของประเทศนั้นๆ โดย 40% ของอาหารที่ถูกทิ้งหรือสูญเสียไปในประเทศกำลังพัฒนานั้นเกิดขึ้นในกระบวนการเก็บเกี่ยว ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมนั้นทิ้งหรือสญเสียอาหารไปในขั้นตอนการขายปลีกหรือขั้นตอนการบริโภค

เทเรซา แอนเดอร์สัน (Teresa Anderson) ผู้ปนะสานงานนโยบายภูมิอากาศจาก ActionAid ระบว่า ในประเทศกำลังพัฒนานั้นขาดกระบวนการถนอมอาหาร ขาดระบบขนส่งที่ดี อาหารที่ถูกผลิตขึ้นในหมู่บ้านไม่สามารถส่งไปถึงตลาดได้ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมักจะสูญเสียหรือทิ้งอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างร้านต่างๆ ก็ทิ้งผักเพียงเพราะไม่สวยพอ หรือเพราะขนาดและรุปร่างของผักไม่ได้มาตรฐาน

ตอนนี้มีคนทั่วโลกกว่า 2 พันล้านคนที่มีภาวะอาหารเกิน (overnourish) หรืออ้วน ขณะที่มีคนอีกประมาณ 820 ล้านคน ที่เข้านอนพร้อมท้องที่หิวโหย ซึ่ง IPCC ก็มองว่า การบริโภคอาหารเกินความต้องการนี้ก็นับเป็นการสูญเสียอาหารอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นปริมาณมากพอๆ กับการสูญเสียในระบบแจกจ่ายอาหาร ซึ่งไม่ต่างจากการ “กินทิ้งกินขว้าง” เช่นกัน

ทว่าการทิ้งอาหารเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่ที่ IPCC พยายามชี้ให้เห็นนั่นคือการใช้พื้นที่ผลิตอาหารอย่างสิ้นเปลือง โดยระบบเกษตรในปัจจุบันนั้นใช้พื้นที่มากถึง 3 ใน 4 ในพื้นที่ทั้งหมด และยังใช้น้ำมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณน้ำจืดบนโลกด้วย ซึ่งเป็นที่กังวลว่าหากประชากรโลกพุ่งขึ้นไปถึง 1 หมื่นล้านคนในช่วงกลางศตวรรษนี้ ระบบเกษตรแบบที่เป็นอยู่จะถึงจุดล่มสลาย

นอกจากนี้จากการใช้ประโยชน์ที่ดียังพบว่า การเกษตรนั้นทำให้มีพื้นที่แห้งแล้งจนจะกลายเป็นทะเลทราย และทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมย่ำแย่มากขึ้น โดยทุกๆ ปีมีการสูญเสียพื้นที่ป่าเขตร้อนในขนาดเท่าๆ กับประเทศศรีลังกา
ภาพการประกอบอาหารสไตล์เมริกัน ทั้งนี้การสูญเสียและทิ้งอาหารนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มักถูกมองข้าม (Joe Keller/Americas Test Kitchen via AP)
ภาพชายย่างเนื้อแฮมเบอร์เกอร์และฮอตด็อก ทั้งนี้การสูญเสียและทิ้งอาหารนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มักถูกมองข้าม (AP Photo/Alex Brandon, File)
ภาพเด็กน้อยในค่ายที่ซูดาน กำลังกินใบไม้ประทังชีวิต ระหว่างรอคอยการนำส่งอาหารมายังค่าย (Alexander JOE / AFP)


กำลังโหลดความคิดเห็น