xs
xsm
sm
md
lg

ยินดีด้วยนายจ๋า “จันทรา 2” ยานอวกาศอินเดียมุ่งหน้าไปดวงจันทร์แล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จรวดนำส่งดาวเทียมทะยานฟ้านำจันทรายาน 2 ขึ้นจากฐานปล่อยจรวดมุ่งสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)
ยานอวกาศจันทรา 2 ของอินเดียทะยานฟ้ามุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์แล้วและเป็นอีกวันประวัติศาสตร์สำหรับชาวอินเดียที่จะส่งยานไปลงจอดดวงจันทร์

ยานอวกาศจันทรายาน 2 (Chandrayaan-2) ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (The Indian Space Research Organisation) หรือISROที่มีความหมายว่าสารถีดวงจันทร์ได้ทะยานไปพร้อมจรวดนำส่งดาวเทียมจีโอซิงโครนัส (Geosynchronous SatelliteLaunch Vehicle) หรือ GSLV-mark III-M1 จากฐานปล่อยจรวดในศรีหาริโคตร (Sriharikota) ของรัฐอันทราประเทศ (Andhra Pradesh) เมื่อวันที่ 22 ..2019

การปล่อยจรวดครั้งนี้มีประชาชนนักเรียน นักศึกษาเฝ้าติดตามและโห่ร้องยินดีไปพร้อมๆ กับการโบกธงชาติอย่างภาคภูมิใจหลังจากการปล่อยจรวดเป็นไปอย่างราบรื่นความสำเร็จครั้งนี้ทำให้อินเดียก้าวเข้าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจด้านอวกาศโดยเมื่อไปถึงดวงจันทร์แล้วจันทรายาน2จะปล่อยยานลงจอดสู่พื้นผิวดวงจันทร์

ก่อนนี้อินเดียได้เลื่อนปล่อยยานอวกาศต้นทุนต่ำนี้ซึ่งมีกำหนดปล่อยในช่วง14-16 ..2019เนื่องจากเหตุขัดข้องทางเทคนิคแต่ล่าสุดได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยยานจากศูนย์อวกาศสาทิชธาวัน (Satish Dhawan Space Centre) ซึ่งทะยานฟ้าไปพร้อมกับความภาคภูมิใจของคนในชาติและความหวังของนักวิทยาศาสตร์อินเดีย

ทั้งนี้อินเดียมุ่งหมายที่จะเป็นชาติที่ 4 ตามหลังรัสเซียสหรัฐฯ และจีน ตามลำดับที่นำยานอวกาศลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์หากปฏิบัติการที่เหลือเป็นไปตามแผนยานสำรวจของอินเดียจะลงจอดที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ในช่วงต้นเดือนก..นี้

จันทรายาน2ทะยานฟ้าจากการนำส่งของจรวดนำส่งดาวเทียจีโอซิงโครนัส GSLVMkIII ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ที่สุดของอินเดียโดยยานอวกาศซึ่งบรรทุกยานโคจร (orbiter) ยานลงจอด (lander) และยานเคลื่อนที่โรเวอร์ (rover) มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ลำนี้ได้รับการออกแบบและสร้างในอินเดียเกือบทั้งหมด

ไกลาสวาดิวู สิวัน (Kailasavadivoo Sivan) ผู้อำนวยการองค์การวิจัยอวกาศอินเดียกล่าวว่าวันปล่อยจรวดครั้งนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ของวงการอวกาศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอินเดียพร้อมทั้งกล่าวว่าขั้นต่อไปของปฏิบัติการส่งยานไปดวงจันทร์นี้จะเป็นตัวตัดสินความสำเร็จของภารกิจโดยอีกเดือนครั้งนักวิทยาศาสตร์ต้องควบคุม 15 ขั้นตอนสำคัญของยานอวกาศเพื่อวางตำแหน่งให้ยานอยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์

หลังจากนั้น“วันดีเดย์” จะตามมาเมื่อถึงวันนั้นเราจะสัมผัสประสบการณ์ 15 นาทีแห่งความระทึกเพื่อความมั่นใจว่าการลงจอดของยานอวกาศนั้นปลอดภัย โดยยานลงจอดตั้งชื่อตาม“วิกรม เอ สารภัย” (Vikram A. Sarabhai) บิดาแห่งโครงการอวกาศของอินเดียซึ่งยานลงจอดจาดบรรทุกยานโรเวอร์ไปยังบริเวณใกล้ๆ ขั้วใต้ของดวงจันทร์ด้วย

ยานโรเวอร์ของจันทรายาน 2 มีชื่อว่า “ปรคยาน” (Pragyaan) ที่มีความหมายว่า “สติปัญญา” ในภาษาสันสกฤต เนื่องจากยานแบ่งเครื่องมือสำหรับทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยยานโรเวอร์ มีเวลาทำงาน 1 วันบนดวงจันทร์ หรือ 14 วันตามเวลาบนโลกเพื่อศึกษาหิน และดินบนพื้นผิวดวงจันทร์

ส่วนยานโคจรที่หนัก 2.4 ตันนั้นจะโคจรรอบๆ ดวงจันทร์ประมาณ1 ปีเพื่อถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์และเสาะหาร่องรอยของน้ำรวมถึงศึกษาบรรยากาศของดวงจันทร์ด้วย

สำหรับจันทรายาน 2 นี้เอเอฟพีระบุว่ามีความโดดเด่น เนื่องจากใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ โดยใช้งบประมาณเพียง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ *(แก้ไข) เพื่อเตรียมการภารกิจโดยนับว่าเป็น “เศษเงิน”เมื่อเทียบกับปฏิบัติการลักษณะเดียวที่ดำเนินการโดยประเทศอื่นๆ

มองกลับไปที่สหรัฐฯซึ่งกำลังฉลอง 50 ปีของการที่ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) กลายเป็นมนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ ใช้งบถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงการอะพอลโล (Apollo) ที่พามนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์

ปฏิบัติการส่งยานไปดวงจันทร์ของอินเดียครั้งนี้ห่างจากปฏิบัติการส่งจันทรายาน 1 ไปดวงจันทร์ประมาณ 11 ปีโดยปฏิบัติการก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นโครงการไปเยือนดวงจันทร์ครั้งแรกของอินเดีย โดยครั้งนั้นอินเดียได้ส่งยานไปโคจรรอบดวงจันทร์และค้นหาน้ำบนดวงจันทร์ด้วย
จรวดนำส่งดาวเทียมทะยานฟ้านำจันทรายาน 2 ขึ้นจากฐานปล่อยจรวดมุ่งสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)
จรวดนำส่งดาวเทียมทะยานฟ้านำจันทรายาน 2 ขึ้นจากฐานปล่อยจรวดมุ่งสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)
จรวดนำส่งดาวเทียมทะยานฟ้านำจันทรายาน 2 ขึ้นจากฐานปล่อยจรวดมุ่งสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)
ประชาชน นักเรียน นักศึกษา รอชมการปล่อยจรวดส่งจันทรายาน 2 ไปดวงจันทร์  (ARUN SANKAR / AFP)
นักเรียนนักศึกษาแสดงความยินดีหลังจรวดทะยานฟ้าพาจันทรายาน 2 มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)
นักเรียนนักศึกษาแสดงความยินดีหลังจรวดทะยานฟ้าพาจันทรายาน 2 มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์  (ARUN SANKAR / AFP)
สื่อมวลชนติดตามการปล่อยจรวดนำส่งจันทรายาน 2 มุ่งสู่ดวงจันทร์  (ARUN SANKAR / AFP)
สื่อมวลชนติดตามการปล่อยจรวดนำส่งจันทรายาน 2 มุ่งสู่ดวงจันทร์ (ARUN SANKAR / AFP)


กำลังโหลดความคิดเห็น