xs
xsm
sm
md
lg

ชี้เป็นเรื่องดีที่ไทยมีดัชนีคุณภาพอากาศ PM2.5

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ผู้เชี่ยวชาญชี้ปีที่แล้วก็มีปัญหาฝุ่นแต่ไม่ได้ยาวนานและยังไม่มีดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศสำหรับฝุ่นPM2.5เมื่อกรมควบคุมมลพิษเริ่มกำหนดในปีนี้ก็เป็นเรื่องที่ประชาชนจะได้ดูแลตัวเองแนะใส่หน้ากากป้องกัน

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเสวนาพิเศษScienceCafe ตอนตื่นรู้PM2.5มหันตภัยร้ายจริงหรือในวันพุธที่ 23..62ณห้องK102อาคารเฉลิมพระเกียรติซึ่งทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสร์ได้ร่วมฟังเสวนาดังกล่าวด้วย

รองศาสตราจารย์ดร.ประหยัดโภคฐิติยุกต์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์กล่าวว่าค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AirQuality Index)หรือAQIมาจาก6ตัวชี้วัดคือฝุ่นขนาด2.5ไมโครเมตร(PM2.5)ฝุ่นขนาด10ไมโครเมตร(PM10)โอโซน(O3)ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)และคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)

นอกจากนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ประหยัดให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าค่าAQIยังแบ่งสีตามความร้ายแรงสีแดง หมายถึงอันตรายสีเขียว หมายถึงอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ดีที่สุดคือเกณฑ์สีฟ้าส่วนโอโซนถูกนับรวมด้วยเนื่องจากเมื่อโอโซนมาอยู่บนผิวโลกจะเป็นอันตรายต่างจากโอโซนที่อยู่บนชั้นบรรยากาศ

"
ฝุ่นPM10และPM2.5คือฝุ่นขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่เกิดจากการก่อสร้างส่วนโอโซนที่เกิดขึ้นเองจากแดดจัดๆและท่อไอเสียของรถยนต์SO2เกิดจากการเผาไหม้ซัลเฟอร์ในน้ำมันดีเซลซึ่งมีกฎหมายกำหนดว่าใช้ซัลเฟอร์ได้ไม่เกินเท่าไรCoเกิดจากการเผาไหม้บางอย่างที่ไม่สมบูรณ์วิธีวัดค่าAQIของไทยต่างกับของต่างชาติซึ่งถ้ายึดแบบต่างชาติค่าAQIที่มากกว่า50จะเป็นสีส้มบ่งบอกว่าไม่ควรอยู่กลางแจ้งส่วนค่าสีส้มที่ไทยแนะนำให้ออกข้างนอกได้ต่างชาติกลับไม่แนะนำให้ออกข้างนอกเลย"รองศาสตราจารย์ดร.ประหยัดกล่าว

แพทย์หญิงนภารัตน์อมรพุฒิสถาพรสาขาวิชาโรคระบบระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบหายใจภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเผยว่าการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์กับการที่คนสูบบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างมลพิษไม่ใช่แค่รถยนต์เท่านั้นฝุ่นPM2.5สามารถเข้าไปถึงถุงลมเส้นเลือดได้ และ PM10สามารถเข้าไปถึงหลอดลมทำให้หายใจไม่สะดวกตัวขนาดใหญ่ทำให้ระคายเคืองในกรณีที่ปิดหน้ากากแล้วละคายเคืองนั้นมลพิษที่มาไม่ได้มีแค่ตัวเล็กแต่ตัวที่ต้องระวังคือตัวขนาดใหญ่เช่น ออกไปเดินถนน โดนควันหรือในที่ที่มีฝุ่นเยอะ

"PM2.5
มีการกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระออกซิแดนท์ที่เยอะขึ้นทำให้เรื่องดุลแคลเซียมเสียกระตุ้นยีนทำให้เกิดการอักเสบทำให้ไม่ได้เกิดแค่โรคที่ปอดฉะนั้นสูบเข้าไปทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอดหัวใจขาดเลือด ติดเชื้อเฉียบพลันแต่ระยะสั้นคงไม่ถึงขนาดนี้หากอยู่ในเมืองที่มีมลพิษเยอะอย่างอินเดียมีความเสี่ยงเกิดโรคง่ายขึ้น"

แพทย์หญิงนภารัตนกล่าวต่อว่าด้านเรื่องของปอดที่สารเข้าไปทำให้คนที่เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพองภูมิแพ้กำเริบขึ้นมาและเรื่องของระบบหลอดเลือดคือโรคหัวใจทำให้หัวใจหลอดเลือดเกิดการอักเสบไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้เมื่อมีการอักเสบเส้นเลือดมีการซ่อมแซมและทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและระยะยาวทำให้เกิดถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่เลยก็ตามและมีส่วนที่จะทำให้เกิดมะเร็งปอดมากขึ้น

"
ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและระบบหัวใจไม่ควรออกนอกบ้านหากจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากN95หากไม่มีควรสวมหน้ากากธรรมดาแทน"แพทย์หญิงนภารัตน์กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธงชัยขนาบแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมสุขภิบาลคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยากรชี้แจงว่า เรื่องของฝุ่นปีที่แล้วมีแต่ไม่ได้นานเหมือนกับตอนนี้ผู้คนอาจจะไม่ทราบเนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีAQIของPM2.5 มีแต่AQIPM10 และทางกรมควบคุมมลพิษได้ประกาศAQIPM 2.5 ซึ่งดีกับประชาชนเพราะจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษมากขึ้นรวมถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์ต่างๆรวมถึงการตระหนักรู้เป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ควรวิตกกังวลหากจะออกไปข้างนอกทั้งนี้การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากเป็นสิ่งสำคัญและควรดูแลตัวเองให้มาก








กำลังโหลดความคิดเห็น