xs
xsm
sm
md
lg

เผยด้านขวาของพายุ “ปาบึก” มีความรุนแรงกว่าด้านซ้าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

(แฟ้มภาพ)  ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ผอ.จิสด้าเผยใช้ดาวเทียมอุตุหลายดวงติดตามพายุปาบึกมาตั้งแต่ยังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำระบุคาดการณ์ทิศทางขึ้นฝั่งยากเพราะเคลื่อนที่ช้าพื้นที่คาดการณ์ค่อนข้างกว้างตั้งแต่นครฯไปถึงชุมพร และด้านขวาของพายุจะรุนแรงกว่าด้านซ้าย

ดร.อานนท์สนิทวงศ์ ณ อยุธยาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(จิสด้า)ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการติดตามสถานการณ์พายุปาบึกที่กำลังจะขึ้นฝั่งภาคใต้ว่าได้ใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาหลายดวงในการติดตามโดยมี 3-5ดวงที่เป็นดาวเทียมประจำที่และยังได้รับข้อมูลค่อนข้างมากทั้งของญี่ปุ่นเกาหลี จีน อเมริกาซึ่งตามพายุนี้มาหลายวันแล้วตั้งแต่ยังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าการคาดการณ์ทิศทางค่อนข้างจะยากเนื่องจากเคลื่อนที่ช้าพายุที่เคลื่อนที่เร็วจะสามารถบอกทิศทางได้แน่นอนการเคลื่อนที่ช้าอาจจะมีแกว่งบ้างตำแหน่งที่จะขึ้นฝั่งอาจจะกว้างการคาดการณ์น่าจะตั้งแต่นครศรีธรรมราชไปจนถึงชุมพรอยู่ที่ว่าพายุจะขึ้นบริเวณไหนหากขึ้นที่ชุมพรอาจจะได้รับผลกระทบมาจนถึงนครศรีธรรมราชโดยเฉพาะด้านขวามือของพายุจะมีความรุนแรงมากกว่าด้านซ้ายมือของพายุการเปลี่ยนแปลงอาจจะเบี่ยงไปประมาณ3-5 องศาอาจจะทำให้จุดศูนย์กลางของพายุคลาดเคลื่อนไปได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร”

สำหรับคาดการณ์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากพายุปาบึกดร.อานนท์ระบุจากข้อมูลดาวเทียมพอจะบอกได้โดยแนวหน้าที่จะถึงฝั่งก่อนคือฝนแต่ต้องใช้ข้อมูลอื่นประกอบด้วยเช่น ความเร็วลม ซึ่งจากข้อมูลต่างๆคาดการณ์ว่า ความเร็วลมอยู่ที่50-60 นอตหรือเกือบ 100กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นคาดการณ์ที่คาดสูงๆไว้ก่อน แต่อาจจะต่ำกว่านี้ได้

ความเร็วของพายุไต้ฝุ่นจะอยู่ที่ความเร็วรวม120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมีวิธีการคาดการณ์หลายๆวิธี อาจจะมีช่วงตั้งแต่60-80 กม./ชม.ลมแรงเป็นเพียงส่วนหนึ่งส่วนใหญ่ผลกระทบมาจาก 2ส่วน คือฝนที่ตกหนักและระดับน้ำทะเลคลื่นลมที่ยกตัวเสริมขึ้นมาทำให้เอ่อท่วมขึ้นมาบริเวณชายฝั่งที่เป็นที่ลุ่มต่ำ”ดร.อานนท์ระบุ

พร้อมกันนี้ดร.อานนท์ยังได้อธิบายปรากฏการณ์ในทะเลที่เรียกว่า“สตอร์มเซิร์จ” (StormSurge) หรือปรากฏการณ์น้ำหนุนซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วแต่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพราะบริเวณที่เป็นใกล้ศูนย์กลางพายุความกดอากาศจะต่ำน้ำทะเลก็จะยกตัวขึ้นมาอยู่แล้วบวกกับคลื่นอาจจะยกขึ้นไปอีก1-2 เมตรจะทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำเอ่อหนุนขึ้นไป

มีการวิเคราะห์ชายฝั่งหลายๆจุดในภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ต่ำเช่น สุราษฎร์ธานีมีบางส่วนในบริเวณจังหวัดชุมพรและนครศรีธรรมราชมีหลายพื้นที่เป็นพื้นที่ต่ำเอ่อท่วมได้หน่วยงานในพื้นที่รับทราบข้อมูลประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่ำแถบชายทะเลหลักการง่ายๆหากท่านอยู่ในพื้นที่ต่ำแถบชายทะเลอยู่ห่างจากชายฝั่ง ไม่ถึง300-500 เมตรระดับน้ำทะเลคลื่นสูงไม่เกิน1 เมตรถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำที่เอ่อเข้ามาไม่ได้เป็นสึนามิสิ่งของอาจจะหลุดลอยได้พายุที่เกิดขึ้นเป็นพายุขนาดกลาง”

ส่วนความแตกต่างระหว่างปรากฏการณ์น้ำหนุนกับสึนามินั้นดร.อานนท์อธิบายว่าสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวหากไม่มีพายุหรือลมแรงผิวหน้าของน้ำจะไม่เป็นคลื่นใหญ่น้ำทะเลจะเอ่อเป็นคลื่นโตๆแล้วมาวูบเดียว ใหญ่ ลึกกำลังแรงสูง กวาดล้างได้ทั้งหมดแต่ปรากฏการณ์น้ำหนุนนั้นน้ำทะเลจะค่อยๆเอ่อเป็นเวลานานและใช้เวลาหลายๆชั่วโมง ขีดความสามารถในการกวาดล้างต่ำกว่าสึนามิทำให้น้ำทะเลอยู่นานกว่าหลายชั่วโมงหรืออาจจะอยู่เป็นวัน


กำลังโหลดความคิดเห็น