xs
xsm
sm
md
lg

จีนลงจอดอีกฟากของดวงจันทร์แล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ฉางเอ๋อิ 4 ที่ด้านมืดของดวงจันทร์ (China National Space Administration (CNSA) via CNS / AFP)
ยานอวกาศจีนลงจอดด้านมืดดวงจันทร์แล้วและส่งภาพกลับมายังศูนย์ควบคุมความสำเร็จนี้ส่งให้จีนเป็นอีกชาติผู้นำโลกด้านอวกาศ

เอเอฟพีอ้างรายงานข่าวที่เผยแพร่โดยCCTVของจีนว่ายานฉางเอ๋อ 4(Chang'e-4) ได้ลงจอดด้านมืดของดวงจันทร์เมื่อ09.26.ของวันที่3..2019และได้ส่งภาพถ่ายของดวงจันทร์บริเวณดังกล่าวให้ดาวเทียมเชวี่ยเฉียว (Queqiaosatellite) ซึ่งถ่ายทอดภาพดังกล่าวลงมายังห้องควบคุมบนโลก

ทั้งนี้จีนได้ทุ่มงบนับพันล้านเพื่อการแข่งขันในโครงการอวกาศและยังตั้งเป้าที่จะมีสถานีอวกาศรองรับลูกเรือภายในปี2022หรือแม้กระทั่งการส่งคนไปลงดวงจันทร์

สำหรับยานอวกาศฉางเอ๋อ4ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามเทพธิดาของจีนนั้นได้ถูกปล่อยขึ้นไปเมื่อเดือนธ..2018ที่ผ่านมาจากศูนย์อวกาศสีฉาง (Xichanglaunch centre) ทางภาคตวันตกเฉียงใต้ของจีนและนับเป็นยานอวกาศจีนลำที่2ที่ลงจอดดวงจันทร์ตามหลังยานอวกาศหยูตู้ (Yuturover) หรือยานอวกาศกระต่ายหยก(JadeRabbit) ที่ลงจอดดวงจันทร์อีกฟากเมื่อปี2013


ด้านมืดหรือด้านไกลของดวงจันทร์นี้แตกต่างจากด้านใกล้ของดวงจันทร์ตรงที่พื้วผิวบริเวณดวงจันทร์ด้านไกลนั้นค่อนข้างขรุขระและมีภูมิประเทศเป็นภูเขามากกว่าบริเวณดวงจันทร์ด้านใกล้ที่มีพื้นผิวราบเรียบและง่ายต่อการลงจอดมากกว่านอกจากนี้การหมุนของดวงจันทร์ของดวงจันทร์ยังทำให้มีด้านเดียวที่หันเข้าหาโลกตลอด

สำหรับยานฉางเอ๋อ4นั้นได้ลำเลียงอุปกรณ์ทดลอง6ชิ้นจากจีนและอีก 4ชิ้นจากต่างประเทศซึ่งในนั้นมีอุปกรณ์ศึกษาดาราศาสตร์ด้วยคลื่นวิทยุความถี่ต่ำที่อาศัยประโยชน์จากการปลอดคลื่นรบกวนของดวงจันทร์ด้านไกล

ยานโรเวอร์ของจีนลำนี้ยังจะทดสอบแร่ธาตุและการแผ่รังสีด้วยเอเอฟพีอ้างรายงานของซินฮวาตามที่องค์การบริหารอวกาศจีน(ChinaNational Space Administration) กล่าวอ้าง

ภาพปล่อยจรวดลองมัช 3บี (Long March 3B) เมื่อ 8 ธ..ค.2018 เพื่อนำส่งยานฉางเอ๋อ 4 ไปดวงจันทร์ (STR / AFP)



ก่อนหน้านี้ไม่มีใครเคยจับภาพดวงจันทร์ด้านมืดได้มาก่อนจนกระทั่งอดีตสหภาพโซเวียตจับภาพของภูมิประเทศอันลึกลับของดวงจันทร์นี้ได้เมื่อปีค..1959

ส่วนการลงจอดครั้งนี้จีนใช้เวลาเตรียมพร้อมมาหลายปีซึ่งไม่เคยมียานลงจอดหรือยานโรเวอร์ใดที่เคยลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ด้านนี้มาก่อนและไม่มีเทคโนโลยีที่ทำได้ง่ายๆซึ่งความท้าทายหลักๆของภารกิจนี้คือการสื่อสารกับยานลงจอดเนื่องจากไม่มีสัญญาณทางตรงไปถึงด้านไกลของดวงจันทร์


จีนแก้ปัญหานี้โดยการส่งดาวเทียมเชวี่ยเฉียวที่มีความหมายว่าสะพานนกกางเขนขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์จัดตำแหน่งดาวเทียมเพื่อสามารถรับถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากยานลงจอดและโลก


อีกอุปสรรคที่ยากยิ่งคือช่วงกลางคืนของดวงจันทร์ที่ยาวนานถึง14วันของบนโลกอุณหภูมิบนดวงจันทร์จะลดต่ำลงถึง-173องศาเซลเซียสส่วนระหว่างกลางวันของดวงจันทร์ที่ยาวนานถึง14วันบนโลกเช่นกันอุณหภูมิจะพุ่งสูงถึง 127องศาเซลเซียสอุปกรณ์บนยานโรเวอร์ของจีนต้องทนทานต่อความอุณหภูมิที่ขึ้นๆลงๆ ดังกล่าวและต้องผลิตพลังงานได้มากพอที่จะดำรงอยู่ได้ตลอดคืนอันยาวนาน


เท่านั้นยังไม่พอรายงานจากสื่อภาครัฐของจีนบอกด้วยว่าฉางเอ๋อ 4ยังมีอุปสรรคอีกอย่างเพราะถูกส่งไปลงจอดที่แอ่งแอตเคน(AitkenBasin) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องผาสูงชันและภูมิประเทศที่สลับซับซ้อน


ภาพจำลองการลงจอดของยานฉางเอ๋อ 4 จากจอควบคุมที่ศูนย์ควบคุมในปักกิ่ง (Xinhua/Jin Liwang)
สำนักงานบริหารอวกาศจีน (China National Space Administration) เผยอีกภาพของอีกด้านดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 4 (HANDOUT / China National Space Administration / AFP)
สำนักงานบริหารอวกาศจีน (China National Space Administration) เผยภาพแรกของอีกด้านดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 4 (HANDOUT / China National Space Administration / AFP)


กำลังโหลดความคิดเห็น