ภูเขาไฟ “อานัก กรากาตัว” ปะทุกลางดึกวันที่ 22 ธ.ค.ที่อินโดนีเซีย ก่อสึนามิถล่มชายฝั่งหลังเกิดเหตุเพียง 24 นาที เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถแจ้งเตือนได้ทัน อีกทั้งไม่มีแผ่นดินไหวให้ผู้คนได้ระวังตัว เหตุการณ์นี้มีคนเสียชีวิตหลายร้อยคน ทว่าในอดีตต้นกำเนิดภูเขาไฟลูกนี้นั้นร้ายยิ่งกว่าและเคยคร่าชีวิตคนไปกว่า 36,000 คน
อานัก กรากาตัว (Anak Krakatoa) ปะทุเมื่อกลางดึกวันที่ 22 ธ.ค.2018 ซึ่งสำนักงานอุกกาบาตวิทยา, ภูมิอากาศวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (Meteorology, Climatology and Geophysics Agency: BMKG) ในอินโดนีเซีย วัดการสั่นสะเทือนได้เมื่อเวลา 21.03 น. โดยเครื่องมือวัดที่อยู่ใกล้พังเสียหาย แต่เครื่องมือวัดอื่นๆ ยังวัดการสั่นสะเทือนได้ โดยพบว่ามีการสั่นสะเทือนต่อเนื่องนาน 24 วินาที
สำนักงาน BMKG ได้ประกาศในเบื้องต้นว่า การปะทุดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสึนามิ แต่ละส่งผลให้เกิดคลื่นน้ำสูง เนื่องจากไม่มีแผ่นดินไหวหรือการปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรง ทว่าหลังภูเขาไฟปะทุไม่นานในช่วงเวลาประมาณ 21.27 น. ของวันเดียวกัน มีรายงานสึนามิซัดชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราและปลายๆ ฝั่งตะวันตกของเกาะชวา เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 280 คน และมีผู้บาดเจ็บอีกราว 800 คน
ชื่ออานัก กรากาตัว มีความหมายว่า “ลูกของกรากาตัว” ซึ่งรายงานเอเอฟพีระบุว่า ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.แล้ว แล้วได้ปลดปล่อยเถ้าปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ท้องฟ้า และเมื่อเดือน ต.ค.เรือท่องเที่ยวก็เฉียดถูกลาวาจากภูเขาไฟลูกนี้ถล่ม
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ภูเขาไฟอานักกรากาตัวอุบัติขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1928 จากปล่องภูเขาไฟกรากาตัว ซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟที่เคยระเบิดรุนแรงเมื่อปี 27 ส.ค.1883 ได้ก่อสึนามิที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 36,000 คน การระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นชุดครั้งนั้นปล่อยเถ้าภูเขาไฟสู่บรรยากาศสูงถึง 20 กิโลเมตร และเสียงระเบิดได้ยินถึงออสเตรเลีย รวมถึงบริเวณใกล้ประเทศมอริเชียสในคาบสมุทรอินเดียที่อยู่ไกลออกไปถึง 4,500 กิโลเมตร
กลุ่มหมอควันเถ้าถ่านจากภูเขาไฟกรากาตัวทำให้เกิดความมืดปกคลุมถึง 2 วัน และฝุ่นจากเถ้าภูเขาไฟยังส่งผลต่อสเปกตรัมของแสงตอนดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกไปทั่วโลกต่อเนื่องอีกหลายปี และยังปั่นป่วนสภาพอากาศอีกหลายปี เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งของโลก
จากลาวาที่ไหลออกมาภูเขาไฟอานักกรากาตัวค่อยๆก่อตัวขึ้นจากใต้น้ำจนกลายเป็นเกาะภูเขาขนาดเล็กที่ทรงรูปกรวยโผล่พ้นน้ำขึ้นมา300เมตรบนเกาะภูเขาไฟนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่แต่ที่ยอดภูเขาไฟเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวและเป็นพื้นที่สำคัญให้นักภูเขาไฟวิทยาได้ศึกษา
เกาะภูเขาไฟเกิดใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน(UjungKulon National Park) ของอินโดนีเซียซึ่งเอเอฟพีอ้างถึงข้อมูลแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก(UNESCO)ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งสาธิตวิวัฒนาการของกระบวนการทางธรณีวิทยาที่ยังครุกรุ่น
ด้านเรย์ แคส (RayCas) ศาสตราจารย์ทางด้านภูเขาไฟจากมหาวิทยาลัยโมนาช(MonashUniversity) ในออสเตรเลียเผยว่านับแต่ก่อตัวขึ้นมาภูเขาไฟอานักกรากาตัวอยู่ในสถานะที่มีการปะทุต่อเนื่องระดับกลางๆและรุนแรงขึ้นทุกๆ 2-3ปีแต่การปะทุส่วนใหญ่นั้นจัดว่าไม่รุนแรงเมื่อเทียบการระเบิดของภูเขาไฟและยังมีการปะทุที่ปล่อยลาวาไหลออกมา
สำหรับการปะทุของอานักกรากาตัวล่าสุดนี้แคสระบุว่าเป็นการปะทุที่ค่อนข้างไม่รุนแรงแต่ก็เป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ใต้น้ำอย่างดินถล่มหรือแผ่นดินไหวซึ่งเป็นสาเหตุของสึนามิที่ร้ายแรงได้
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลสึนามินานาชาติ(InternationalTsunami Information Centre) ในฮาวายสหรัฐฯ ระบุว่าสึนามีที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟนั้นค่อนพบได้ยากโดยสาเหตุของสึนามิจากภูเขาไฟคือการแทนที่อย่างฉับพลันของน้ำหรือการถล่มของพื้นที่ลาดชัน
สึนามิจากเหตุการณ์นี้ยังต่างจากสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวขณะที่สึนามิจากแผ่นดินไหวจะกระตุ้นระบบแจ้งเตือนแต่สึนามิจากภูเขาไฟระเบิดนี้เจ้าหน้าที่มีเวลาน้อยมากที่จะแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนถึงภัยที่กำลังจะมาถึง
คลื่นสึนามีจากการปะทุของภูเขาไฟอานักกรากาตัวซัดให้ต้นไม้ถอนรากถอนโคนเป็นแนวยาวและทำให้เกิดซากปรักหักพังกระจายทั่วชายหาดเศษหลังคาสังกะสีซุงและยางรถถูกกวาดเข้าไปแผ่นดินด้านในของชายหาดคาริตา(Caritabeach) แหล่งพักผ่อนที่มีชื่อเสียงทางชายฝั่งตะวันตกของเกาะชวา
ข้อมูลจากสำนักงานธรณีวิทยาของอินโดนีเซียเผยด้วยว่าภูเขาไฟกรากาตัวได้แสดงสัญญาณตื่นตัวรุนแรงมาหลายวันและปลดปล่อยเถ้าภูเขาไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงหลายพันเมตร
ทั้งนี้ อินโดนีเซียได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก เนื่องจากที่ตั้งของประเทศอยู่ในตำแหน่งคาบเกี่ยว “วงแหวนแห่งไฟ” (Pacific Ring of Fire) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แผ่นเปลือกโลกชนกัน ทำให้ประเทศแห่งนี้มีความเสี่ยงเผชิญทั้งแผ่นดินไหวและการปะทุของภูเขาไฟอยู่บ่อยครั้ง
ตัวอย่างภัยพิบัติที่อินโดนีเซียได้เผชิญเมื่อเร็วๆ ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่เมืองปาลู บนเกาะซูลาเวซี (Sulawesi island) ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน และย้อนกลับไปเมื่อ 26 ธ.ค.2004 เกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ใต้ทะเล นอกชายฝั่งสุมาตรา ทำให้ประชาชนในประเทศรอบๆ มหาสมุทรอินเดียเสียชีวิตไปประมาณ 220,000 คน ในจำนวนนั้นเป็นชาวอินโดนีเซีย 168,000 คน
“วงแหวนแห่งไฟ” เป็นแนวบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกอย่างหนาแน่น เป็นแนวโค้งจากนิวซีแลนด์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นไปถึงเกาะญี่ปุ่น และไล่ไปตามแนวขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศแห่งหมู่เกาะนี้มีภูเขาไฟที่ยังครุกรุ่นเกือบ 130 แห่ง รวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก