xs
xsm
sm
md
lg

นักดาราศาสตร์อาจพบดวงจันทร์นอกระบบสุริยะครั้งแรก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพจำลองจากศิลปิน ซึ่งจำลองวัตถุอากาศที่น่าจะเป็นดวงจันทร์โคจรรอบดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ (Credits: NASA/ESA/L. Hustak)
นักดาราศาสตร์เผยข้อมูลที่อาจจะเป็นหลักฐานของการค้นพบดวงจันทร์นอกระบบสุริยะครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลจากกล้องฮับเบิลและกล้องเคปเลอร์ พร้อมคาดหวังกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวใหม่จะเผยภาพของวัตถุที่น่าจะเป็นดวงจันทร์ดวงนี้

องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยข้อมูลว่า นักดาราศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ของนาซา และพบหลักฐานที่อาจจะเป็นการค้นพบดวงจันทร์โคจรรอบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งแรก

ว่าที่ดวงจันทร์นอกระบบสุริยะนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง สังเกตจากตำแหน่งท้องฟ้าในกลุ่มดาวหงส์ (Cygnus constellation) โดยโคจรรอบดาวดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเคปเลอร์ -1625 (Kepler-1625) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าดวงจันทร์นี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน และยังต้องอาศัยการสังเกตเพิ่มเติมจากกล้องฮับเบิล

ทางด้าน โทมัส ซูร์บูเกน (Thomas Zurbuchen) ผู้ช่วยผู้อำนวยการของแผนกอำนวยการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนาซาที่สำนักงานใหญ่ในวอชิงตัน กล่าวถึงการทำงานครั้งนี้ว่า เป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฎิบัติงานร่วมกันของ 2 ภารกิจของนาซา

“หากได้รับการยืนยัน การค้นพบครั้งนี้จะเขย่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการกำเนิดดวงจันทร์ และองค์ประกอบของดวงจันทร์สร้างขึ้นจากอะไร” ซูร์บูเกนกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น