xs
xsm
sm
md
lg

สกัดน้ำมันจากเศษเหลือของเมล็ดฟักทอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เศษเมล็ดฟักทองที่ได้จากชาวบ้าน
เมื่อปีหรือสองปีที่การออกแคมเปญเกี่ยวกับผักหน้าตาไม่สวยกู้โลก ที่มีการเชิญชวนให้ผู้คนหันมาบริโภคผักผลไม้ที่หน้าตาไม่สวยงามเกลี้ยงเกลาบ้าง เพื่อลดปัญหาการสูญเปล่าของทรัพยากรอาหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นหลักการลดโลกร้อนด้วยหลักการ Zero Waste หรือทำขยะให้เหลือศูนย์เช่นเดียวกับงานวิจัยที่นำเศษเหลือส่วนเมล็ดของฟักทองที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายบนดอยม่อนเงาะ อย่างฟักทองญี่ปุ่นมาทำให้เกิดมูลค่าสูงสุด


ผศ.ดร. วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกล่าวในส่วนของที่มาว่า เริ่มจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้โจทย์ที่ว่าฟักทอง 1 ลูกจะทำอย่างไรให้ได้มูลค่ามากที่สุดจากเมล็ด 30% ที่ถูกทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์ในอดีต เพราะเกษตกรที่ดอยม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการปลูกฟักทองญี่ปุ่นเป็นหลักและมีปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมาก เกษตกรจะทำการตัดแต่งผลของฟักทองเพื่อส่งขายและเอาส่วนที่เมล็ดนั้นทิ้งไป โดยในฟักทอง 3 กิโลกรัมจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ทางทีมวิจัยจึงได้คิดที่จะนำเมล็ดของฟักทองมาทำให้เกิดมูลค่า โดยทำการศึกษาว่าเมล็ดสามารถทำอะไรได้บ้างและจากการทดลองพบว่าเมล็ดนั้นมีน้ำมันอยู่ จึงคิดนำมาหีบเพื่อสกัดเอาน้ำมัน

ในต่างประเทศได้มีการทำกับเมล็ดอย่างอื่นที่ไม่ใช่เมล็ดฟักทอง เช่นเมล็ดทานตะวัน รำข้าว งา ซึ่งการสกัดน้ำมันจากเมล็ดฟักทอง ทีมวิจัยของอาจารย์เป็นทีมแรกที่มีการทำ ซึ่งวิธีการทำสกัดน้ำมันคือทำความสะอาดเมล็ด จากนั้นก็นำไปตาก แล้วนำไปกะเทาะเปลือกออกด้วยเครื่องโม่เพราะเปลือกจะทำให้ได้น้ำมันลดลงในขั้นตอนการหีบ เมื่อกระเทาะเมล็ดเสร็จแล้วก็นำเล็ดไปกระตุ้นด้วยวิธีการพิเศษด้วยคลื่นไฟฟ้าเพื่อผนังเซล์ลของเมล็ดเปิดเล็กน้อย เพราะถ้านำเมล็ดที่ไม่ผ่านกระตุ้นไปหีบออกมาเป็นน้ำมันจะได้น้ำมันเพียง 26% โดยน้ำหนักของเมล็ดฟักทองหรือได้น้ำมัน 260 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัมแต่ถ้านำไปผ่านการกระตุ้นก่อนจะทำให้ได้น้ำมันออกมาประมาณ 37 % โดยน้ำหนัก

ขั้นต่อไปคือนำไปหีบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม จะได้น้ำมันกับกากเมล็ดแยกออกมา น้ำมันที่ได้ออกมานั้นจะมีสีเขียวขี้ม้าเมื่อทำปฏิกิริยากับออกิเจน น้ำมันจะกลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำ จึงต้องมีการนำไปฟอกด้วยการนำผงถ่านลงไปกวนในน้ำมันเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ แล้วนำไปกรองเพื่อแยกตัวกรองออกจากน้ำมัน และขั้นตอนสุดท้ายคือบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ตัวที่เป็นองค์ความรู้ของงานวิจัยนี้คือตัวกระตุ้นกับตัวฟอก ซึ่งตัวกำหนดในการกระตุ้นและการฟอกคือเวลาและน้ำหนัก

อาจารย์วิมลศิริ กล่าวถึงการนำไปใช้ว่าน้ำมันจากเมล็ดที่ได้ออกมานั้นสามารถนำไปประกอบอาหารได้เช่นดียวกับน้ำมันมะกอก สามารถใช้เป็นอาหารเสริมหรือยาบำรุงและยังใช้ในการผลิตเครื่องสำอางอีกด้วย โดยน้ำมันจากเมล็ดฟักทองนี้มีโอเมก้า 6 เป็นสามเท่าของน้ำมันมะกอกซึ่งช่วยลดอาการอักเสบ ลดคอสเลสเตอรอล ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีและลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้นอกจากนี้ยังมี Palmatic acid ซึ่งเป็นกรดอมิโนที่พบมากในน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นสารช่วยให้ผ่อนคลาย บำบัดโรคซึมเศร้าและช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ไม่เพียงแต่ฟักทองญี่ปุ่นที่มีสารสำคัญ จากงานวิจัยหลายๆชิ้นระบุว่าในฟักทองสายพันธ์อื่นๆพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์อย่างโอเมก้า กรดออยลิคและกรดปาล์มมาติกในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันกับฟักทองญี่ปุ่น

ตอนนี้ยังประสบปัญหาเรื่องกำลังการหีบเพื่อสกัดน้ำมันเนื่องจากเครื่องหีบเมล็ดตอนนี้มีขนาดเล็กประสิทธิภาพยังไม่ดีพอที่จะรองรับในเชิงพานิชณ์ แต่ถ้าใช้เครื่องหีบที่มีขนาดใหญ่ก็จะได้ประสิทธิภาพมากกว่านี้ ทำให้ยังไม่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงานอื่น เพราะเป็นงานวิจัยที่ทำมาเพื่อให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม ไม่ได้ต้องการทำเพื่อที่จะเป็นการค้า เพราะเมล็ดมีการทิ้งทุกวัน

ในการต่อยอดผลงานวิจัยนี้คืออาจจะต้องมีการพัฒนาเครื่องหีบโดยการติดตะแกรงเข้ากับทางออกกากทั้งสองด้านเพราะในการทดลองหีบด้วยเครื่องขนาดเล็ก ยังต้องมีการคีบกากที่ได้จากการหีบออกเรื่อยๆ เนื่องจากถ้ากากมีการตกลงไปตะแกรงทำให้น้ำมันบางส่วนติดกับกากและได้ปริมาณน้ำมันต่ำ ส่วนกากที่ได้จากการสกัดน้ำมันด้วยการหีบสามารถนำไปทำเป็นขนมขบเคี้ยวได้ หรือทำเป็นผงโรยเหมือนสาหร่าย
ผศ.ดร. วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์
ุ6 ขวดทางด้านขวาเกิดจากการฟอกสี (ซ้ายสุด) ขวดที่ยังไม่ผ่านการฟอก
น้ำสลัดจากน้ำมันเมล็ดฟักทอง
เครื่องหีบน้ำมันจากเมล็ด
กากที่ได้จากการหีบ


กำลังโหลดความคิดเห็น