xs
xsm
sm
md
lg

ชวนจับตาภารกิจสุดท้ายของ "ยานแคสสินี" ที่ท้องฟ้าจำลอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ร่วมกับ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญร่วมงาน เสวนาดาราศาสตร์ "ปิดฉากภารกิจสุดท้าย ยานอวกาศแคสสินี พ.ศ. 2540 - 2560" วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 16:30 น. - 21:00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

ยานอวกาศแคสสินี เป็นยานอวกาศจากความร่วมมือกันระหว่าง องค์การบริหารการบินและอวกาศ (นาซา) กับองค์การอวกาศยุโรป หรือ อีซา (ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี โดยเป็นโครงการสำรวจดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์ สนามแม่เหล็กดาวเสาร์ บรรยากาศดาวเสาร์ และสำรวจดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์

ยานแคสสินีถูกส่งออกนอกโลกวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ยานแคสสินีมีชื่อเต็มว่า แคสซินี - ฮอยเกนส์ (Cassini - Huygens) ยานแคสสินีเป็นยานโคจรและส่งข้อมูลถ่ายภาพมายังโลก ส่วนยานไฮเกนส์เป็นยานลูกที่ติดไปกับยานแคสสินี โดยมีภารกิจหลักคือลงไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ไททัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดวงจันทร์ดาวเสาร์

ภารกิจของยานอวกาศแคสสินีผ่านมาแล้วเป็นเวลา 20 ปี ที่ยานอวกาศแคสซินีส่งข้อมูลมายังโลกมากมายเป็นประโยชน์มหาศาลที่เราไม่รู้อีกมาก โดยเฉพาะดวงจันทร์บริวาร 2 ดวงที่อาจจะมีสิ่งมีชีวิตคือ ดวงจันทร์ไททัน และดวงจันทร์เอนเซลาดัส ที่เชื่อว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวง

ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 เป็นวันที่ทางนาซาได้กำหนดภารกิจสุดท้ายของยานอวกาศแคสสินีเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์เผาไหม้ทำลายตัวเอง ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และ สมาคมดาราศาสตร์ไทย จึงร่วมจัด เสวนาดาราศาสตร์..ปิดฉากภารกิจสุดท้าย ยานอวกาศแคสสินี ที่ปฏิบัติภารกิจสำรวจ ส่งข้อมูลของดาวเสาร์ และดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวง ไททัน และ เอนเซลาดัส มายังโลกตลอดระยะเวลาถึง 20 ปี โดยมีวิทยากรสมาคมดาราศาสตร์ไทยมาให้ข้อมูลการสำรวจดาวเสาร์ ตั้งแต่เริ่มภารกิจ และข้อมูลใหม่ๆจากยานอวกาศแคสสินี

พร้อมทั้งร่วมชมการถ่ายทอดสดจาก NASA ที่จะถ่ายทอดเวลาสำคัญยานอวกาศแคสสินีทะยานเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์จนเผาไหม้ไปในที่สุด นอกจากนี้ในช่วงค่ำยังมีกิจกรรมส่องดูวงแหวนดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ และถ่ายภาพดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์

กำหนดการ

16:00 น. - ลงทะเบียนร่วงานที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย

16:30 น. - นางตติยา ใจบุญ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กล่าวเปิดงาน เสวนาดาราศาสตร์ ปิดฉากภารกิจสุดท้าย ยานอวกาศแคสซินี พ.ศ. 2540 - 2560

16:50 น. - เริ่มเสวนามีหัวข้อดังนี้
- ยานแคสสินี - ฮอยเกนส์ เริ่มภารกิจสำรวจดาวเสาร์
- ยานแคสสินีใช้เชื้อเพลิงอะไรในการเดินทางไปดาวเสาร์
- ภารกิจสำรวจดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์เอนเซลาดัส
- ได้อะไรจากการสำรวจดาวเสาร์ของยานอวกาศแคสสินี - ฮอยเกนส์
- ทะลุทะลวงสุ่ความตายผ่านช่องว่างระหว่างวงแหวนด้านในกับตัวดาวเสาร์
- ปิดฉากภารกิจสุดท้าย ยานอวกาศแคสสินี
- ทำไมต้องให้พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์

วิทยากรร่วมเสวนา
- อาจารย์อารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย
- นายวิษณุ เอื้อชูเกียรติ กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย
- นายพรชัย รังษีธนะไพศาล กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย

17:30 น. - ชมการถ่ายทอดวินาทีสุดท้ายยานอวกาศแคสสินีพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์ ผ่านการถ่ายทอดสดจาก NASA

18:55 น. - เป็นเวลาที่ศูนย์ JPL จะ ได้รับสัญญาณมาจากยานอวกาศแคสสินีครั้งสุดท้ายก่อนถูกเผาไหม้

19:00 น. - เชิญร่วมกิจกรรมตามหาดาวเสาร์ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องดูวงแหวนดาวเสาร์ที่เอียงวงแหวนเข้าหาโลกสวยงาม หรือจะเก็บภาพถ่ายดาวเสาร์โดยถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้ ที่ลานสนามฟุตซอลข้างอาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

21:00 น - ปิดกิจกรรม

หมายเหตุ :- ผู้ที่มาลงทะเบียนร่วมกิจกรรมงานเสวนาครั้งนี้ จะได้ของที่ระลึกเป็นแบบโมเดลดาวเสาร์ 1 ท่าน/ 1 ชุด ฟรี (มีจำนวนจำกัด) และมีการจับรางวัลพิเศษ ช่วงหลังการถ่ายทอดสดจาก NASA รางวัลคือ โมเดลแบบจำลองยานอวกาศแคสสินี - ฮอยเกนส์ (แบบจาก NASA) มีจำนวน 4 รางวัล มอบให้กับผู้ที่อยู่ร่วมกิจกรรมเท่านั้น

:- กิจกรรมครั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ความความเหมาะสม และตามสภาพอากาศท้องฟ้าที่จะอำนวย

กิจกรรมนี้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

//////////////////////////

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
สมาคมดาราศาสตร์ไทย โทร : 02 - 3817409 - 10
เว็บไซท์ : http://thaiastro.nectec.or.th
Facebook : http://www.facebook.com/TheThaiAstronomicalSociety/
Facebook : http://www.facebook.com/groups/thaiastro/

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (เอกมัย)
โทร : 02 - 3910544, 02 - 3920508, 02 - 3921773
กำลังโหลดความคิดเห็น