xs
xsm
sm
md
lg

ก.วิทย์ตั้งเป้าสร้างความมือวิทยาศาสตร์จากงาน ASEAN Next 2017

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กระทรวงวิทย์ฯ พร้อมลุยงาน ASEAN Next 2017 ฉลอง 50 ปี ก่อตั้งอาเซียน มุ่งพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่อนาคต

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าวความพร้อมการจัดงาน ASEAN Next 2017 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.60 ณ บริเวณหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดภายใต้แนวคิด Creating Smart Community through STI Collaboration เพื่อเป็นเวทีในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และเป็นแนวทางในการพัฒนา วทน. ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในระดับภูมิภาค และยังเป็นฉลองโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งอาเซียน และเฉลิมฉลองวาระโอกาสครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน – สหภาพยุโรป

"จากการที่ประเทศต่างๆ ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอาเซียน โดยได้กำหนดการเป็นประชาคมไว้ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในการพัฒนาทั้ง 3 ด้านนี้ จำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ วทน. เข้ามาเป็นกลไกพื้นฐานในการนำอาเซียนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน วทน. จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาประชาคมอาเซียน เนื่องจากความร่วมมือในด้านนี้ จะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาของภูมิภาคในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน การแบ่งปันข้อมูล การสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อการเป็นสมาร์ทคอมมูนิตี (Smart Community) ที่เข้มแข็งต่อไป"

สำหรับงาน ASEAN Next 2017 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีการบรรยายพิเศษและการอภิปรายกลุ่มในประเด็นต่างๆ ด้านความร่วมมือของอาเซียนและสหภาพยุโรปในการพัฒนาขีดความสามารถของ วทน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากวิทยากรทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีบาบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือ วทน. ในกรอบอาเซียน และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายพิเศษ

1. Creating Share Value on STI Collaboration Between ASEAN and EU โดยมีผู้แทนจากอาเซียน และ EU มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และองค์ความรู้ด้าน วทน. เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

2. Industrie 4.0 : ASEAN Challenges เป็นประเด็นท้าทายใหม่สำหรับอาเซียน ในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลก

3. STI Megatrend for the Future of ASEAN กระแสของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาเซียนให้เป็น Smart Community

"ทั้งนี้ จะมีการอภิปรายกลุ่มในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของอาเซียนเพื่อเป็นสมาร์คอมมูนิตีโดยใช้ วทน. เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งผู้อภิปรายจะประกอบด้วย ผู้แทนจากยุโรปและประเทศสมาชิกอาเซียน และภายในงานยังมีการจัดสัมมนาและฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรอาเซียนด้าน วทน. ภายใต้ข้อริเริ่มใหม่ของไทยที่เรียกว่า ‘ASEAN Competencies Scheme’ ในสาขาต่างๆ ดังนี้"

1. วัสดุสัมผัสอาหาร (Food Contact Material Testing)

2. เทคโนโลยีและการจัดการทรัพยากรจุลินทรีย์ (Technologies and Management of Microbial Resources)

3. การอบรมความปลอดภัยระบบราง (Railway Structural Health Monitoring)

4. Nuclear เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี (Techology and Radiation)

5. การหารือเพื่อก่อตั้งศูนย์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศ (ASEAN Hydro Informatics and Climate Data Center)

นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้าน วทน. ที่เป็นประโยชน์ต่ออาเซียน เช่น

1. TISTR: Renders testing services to empower the development of railway infrastructure for sustainable connectivity of Thailand to ASEAN

2. SLRI: Introduction to Synchrotron Light Research Institute

3. SLRI: Introduction to the Current Siam Photon Source

4. SLRI: Introduction to the Future Siam Photon Source

5. SLRI: Synchrotron Technology: Activities with ASEAN

6. NARIT: Radio Telescope

7. TINT: Regional Capacity Building and Cooperation under ASEAN Network for Nuclear Power Plants Safety Research and ASEAN Large Nuclear and Radiation Facility Network

8. OAP: Brighter ASEAN Future in Radiation & Nuclear Safety and Security

9. BIOTEC: Thailand Bioresource Research Center (TBRC)

"อีกทั้งจะมีพิธีลงปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย – เยอรมนี (Joint Declaration of Intent) และการประชุมโต๊ะกลมระดับเจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานด้าน วทน. ไทย – เยอรมนี อีกด้วย ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป ที่จะนำไปสู่โครงการความร่วมมือด้าน วทน. ในสาขาที่สนใจร่วมกันในอนาคต ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้าน วทน. ของอาเซียนให้ก้าวไกลต่อไป" ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เผย








กำลังโหลดความคิดเห็น