xs
xsm
sm
md
lg

เทรนด์ “สตาร์ทอัพ” มาแรงดึงเด็กเก่งเทคโนโลยีกลับอินเดีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” สตาร์ทอัพในอินเดียทดสอบโดรนจิ๋ว (Manjunath KIRAN / AFP)
ที่อินเดียมีจำนวน “เทค-สตาร์ทอัพ” สูงถึง 4,750 ราย นับเป็นจำนวนสตาร์ทอัพสูงอันดับต้นๆ ของโลก จะเป็นรองก็แค่สหรัฐฯ และอังกฤษ และแนวโน้มจะมีคนทำงานในวงการนี้เพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัวในปี 2020

ภายในชั้นใต้ดินของตึกบังกาลอร์ (Bangalore building) เป็นที่ตั้งของแหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่มีวัยรุ่นอินเดียนับร้อยชีวิตกำลังรัวคีย์บอร์ดบนโต๊ะทำงานที่เรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เอเอฟพีกำลังถ่ายทอดให้เห็นความฝันของคนรุนใหม่ในอินเดียที่มุ่งมั่นจะเป็น “สตีฟ จ็อบส์” หรือ “มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก” คนต่อไป

กลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้อาศัยเงินลงทุนจากพ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จทางการเงินจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเมื่อหลายสิบปีก่อน พวกเขาหวังจะแสวงหาความสำเร็จของตัวเองจากธุรกิจเทค-สตาร์ทอัพที่มีความเสี่ยง

คนอายุน้อยจำนวนมากขึ้นๆ ในประเทศที่มีประชากร 1.25 พันล้านคน ที่ต่างมุ่งหวังเส้นทางของตัวเอง ต่างจากคนรุ่นก่อนที่ให้ค่ากับงานที่มั่นคงอย่างสิ้นเชิง

ในจำนวนสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีที่มีมากถึง 4,750 ราย และกำลังไล่ตามอเมริกากับอังกฤษอย่างกระชั้นชิด มีผู้ประสบความสำเร็จให้เป็นตัวอย่าง เช่น ฟลิปคาร์ท (Flipkart) ซึ่งเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของอะเมซอน (Amazon) ในอินเดีย รวมถึงซูเปอร์มาเก็ตออนไลน์ “บิกบาสเกต” (Big Basket)

ขณะที่ตึกบังกาลอร์นี้ก็เป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สดในอินเดีย ภายในสำนักงานมีสตาร์ทอัพตั้งแต่ด้านหุ่นยนต์ แอปพลเคชั่นมือถือ ไปจนถึงห้องครัวอัจฉริยะและเครื่องผลิตคอคเทล และภายในห้องประชุมของแหล่งบ่มเพาะนี้ ยังแขวนภาพผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จไว้

วิคราม ราสโตจี (Vikram Rastogi) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์ คือผู้ก่อตั้ง “แฮคแล็บ” (Hacklab) แหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพขนาดเล็ก ซึ่งตั้งอยู่ภายในคลังสินค้าของแนสส์คอม (Nasscom) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ภายในตึกบังกาลอร์ หลังจากเขาได้ไปเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ (Massachusetts Institute of Technology) เมื่อปี 2014

วิครามบอกว่าเขาเห็นการทำงานทางด้านอาร์ดแวร์ที่นั่น และคิดว่าก็น่าจะทำได้แบบเดียวกันที่อินเดีย และไม่ต้องแก่งแย่งมาก ดังนั้นเขาจึงเริ่มต้นด้วยการประดิษฐ์สิ่งของในอินเดียและพยายามทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นสินค้าระดับสากล

ตอนนี้วิครามพยายามพัฒนาโดรนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฝูงบินที่จะเก็บข้อมูลและการประยุกต์ที่รวบรวมสถิติเหนือพื้นที่ขนาดใหญ่ของฟาร์มในออสเตรเลียและบราซิล แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จก็ไม่ได้ราบลื่นนัก

ระหว่างที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว วิครามได้เห็นคนจำนวนมากเดินเข้ามาพร้อมแนวคิดเริ่มต้นแบบสตาร์ทอัพ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ต้องล้มเลิกไป เพราะโดนแรงกดดันจากครอบครัวให้ไปหางานที่ได้เงินเดือนทำ

ทางด้าน ซิลเวีย วีระรักฮาวัน (Sylvia Veeraraghavan) หนึง่ในคนนับล้านที่อพยพสู่บังกาลอร์ เพื่อทำงานตั้งแต่ยุค 1990 กำลังเฝ้ามองคนรุ่นใหม่ที่พยายามเป็นนายตัวเองด้วยความสนใจ เธอบอกว่าช่วงที่เธอย้ายมานั้นเมืองบังกาลอร์เป็นศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีตะวันตก ที่มองหาแรงงานราคาถูกและการศึกษาดีเพื่อทำงานให้บริษัท เช่น อินโฟซิส (Infosys) บริษัทที่ปรึกษาทาทา (Tata Consultancy Services) และไวโปร (Wipro)

“สำหรับฉันแล้วคนรุ่นฉันนั้นถือว่าการได้งานเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ค่าของสิ่งที่เราให้นั้นแตกต่างจากค่าของเด็กรุ่นใหม่ทุกวันนี้อย่างมาก” ซิลเวีย ซึ่งผันตัวเองไปทำงานเพื่อการกุศลหลังจากเดินในเส้นทางสายไอทีนานถึง 25 ปีให้ความเห็น

ซิลเวียยังเชื่อว่า โอกาสสำหรับชนชั้นกลางในอินเดียได้เปิดเสรีภาพแก่คนรุ่นใหม่ได้กล้าลอง ทั้งไม่ถูกจำกัดและเข้มงวด เพื่อหางานหรือหาอาหารมาประทังชีวิตมื้อถัดไป ทำให้คนรุ่นใหม่สามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างที่ใจคิด

จากข้อมูลของแนสส์คอม (Nasscom) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ระบุว่า แนวโน้มจะมีคนเข้ามาทำงานสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มเป็น 200,000-250,000 คน ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นเป็นจำนวนเกือบ 2 เท่า ของจำนวนปัจจุบัน

เดิมทีหัวกะทิทางด้านเทคโนโลยีจะเข้าสู่สถาบันทางด้านไอทีของอินเดียก่อนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่การทำงานที่ “ซิลิกอนวัลเลย์” (Silicon Valley) แต่นโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาที่กีดกันผู้อพยพ ซึ่งรวมถึงคนที่มีวีซาทำงาน อาจทำให้คนเก่งของอินเดียหันกลับไปสร้างความสำเร็จที่บ้านเกิด

เช่นเดียวกับ อานีช ดูร์ก (Aneesh Durg) เด็กหนุ่มอินเดียซึ่งเป็นนักศึกษาจากชิคาโก และได้เดินทางไปยังศูนย์กลางเทคโนโลยีของบังกาลอร์ เพื่อช่วยพัฒนาอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาให้อ่านหนังสือได้ บอกว่าหลังจากเรียนจบแล้วเขาจะมุ่งหน้ากลับอินเดีย
พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” บริษัทสตาร์ทอัพอินเดีย (Manjunath KIRAN / AFP)
โซนทำงานภายใน  “แฮคแล็บ” ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย (Manjunath KIRAN / AFP)
พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” ขณะมุ่งมั่นทำงาน (Manjunath KIRAN / AFP)
พนักงานฝึกหัดบริษัทสตาร์ทอัพขณะทดสอบอุปกรณ์จำแนกคำจากหนังสือ (Manjunath KIRAN / AFP)
พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” บริษัทสตาร์ทอัพอินเดีย (Manjunath KIRAN / AFP)
พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” บริษัทสตาร์ทอัพอินเดีย (Manjunath KIRAN / AFP)
พนักงานฝึกหัดของ “แฮคแล็บ” บริษัทสตาร์ทอัพอินเดีย (Manjunath KIRAN / AFP)






กำลังโหลดความคิดเห็น