เริ่มต้นหน้าหนาวกับเทศการถ่ายดาวด้วยวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object สำหรับใครที่เรียนรู้การถ่ายภาพดวงดาวมาสักพักหนึ่งแล้ว อาจเคยถ่ายภาพพวกทางช้างเผือก เส้นแสงดาวหรือพวกแสงจักรราศี ก็อาจจะเริ่มอยากถ่ายวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึกกันดูบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
สำหรับคอลัมน์นี้จะยังไม่กล่าวถึงการถ่ายภาพ Deep Sky ในแบบที่ Advance แต่จะแนะนำวัตถุเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ที่เหมาะกับการฝึกการถ่ายภาพประเภทนี้ โดยในช่วงต้นฤดูหนาวนี้ ซึ่งผู้เริ่มต้นถ่ายภาพประเภทนี้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางดาราศาสตร์ทางด้านการดูดาวเบื้องต้น เพื่อสามารถหาตำแหน่งวัตถุท้องฟ้าได้ถูกต้อง ทั้งยังต้องมีความรู้เรื่องการตั้งฐานกล้องแบบติดตามวัตถุท้องฟ้าร่วมด้วย เนื่องจากภาพถ่ายแต่ละภาพจำเป็นต้องใช้เวลาในการถ่ายภาพในแต่ละภาพนานหลายนาที และในขั้น Advance นั้นยังจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการโปรเซสภาพอีกด้วย
สำหรับการแนะนำเบื้องต้น จะขอนำเสนอ 3 วัตถุ หลักที่สามารถสังเกตได้ง่าย และมีความสว่างของวัตถุที่ถ่ายภาพได้ไม่ยากนัก ดังต่อไปนี้
วัตถุแรก : เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42 Orion Nebula)
เกร็ดความรู้
เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42 Orion Nebula) จัดเป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) เป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจน เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์ภายในเนบิวลา เนบิวลากลุ่มดาวนายพราน (ประกอบด้วย Orion Nebula: M42, Surrounding Nebula: M43 ,Running Man Nebula : NGC1977) ถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาที่สว่างที่สุด และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีการก่อตัวของดาวฤกษ์หรือดาวฤกษ์เกิดใหม่ภายในเนบิวลากลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ อยู่ไกลออกไป 1,500 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวนายพรานโอไรออน หรือกลุ่มดาวเต่าของไทย มีกระจุกดาวฤกษ์ 4 ดวง (Trapezium) อุณหภูมิสูงมากอยู่ภายในแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตกระตุ้นให้ก๊าซและฝุ่นเรืองแสงสว่างขึ้น
ตำแหน่งของ เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน
เนบิวลากลุ่มดาวนายพราน หรือที่รู้จักกันว่า M42 เป็นเนบิวลาประเภทเปล่งแสง (Emission nebula) ซึ่งเป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างในตัวเอง และมีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 1 องศา ซึ่งถือว่าใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวง (ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาด 0.5 องศา) ทำให้สามารถสังเกตเห็นผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก หากใครมีเลนส์ทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 200 mm. ขึ้นไปก็สามารถมองเห็นได้แล้ว
โดยตำแหน่งของเนบิวลา M42 นั้น สามารถเริ่มต้นหาจากกลุ่มดาวนายพราน จากนั้นสังเกตที่บริเวณเข็มขัดนายพราน หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามกลุ่มดาวไถ จากนั้นให้ลองสังเกตบริเวณดาบนายพราน ซึ่งจะมีดาวสว่างไม่มากนัก 3 ดวงเรียงกันอยู่ บริเวณดาวดวงตรงกลางคือตำแหน่งของเนบิวลา M42 นั่นเองครับ
นอกจากการรู้จักตำแหน่งของวัตถุแล้ว ช่วงเวลาที่วัตถุท้องฟ้าจะปรากฏก็เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพควรทราบล่วงหน้า โดยเนบิวลากลุ่มดาวนายพราน จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันออก
การหาขนาดมุมรับภาพล่วงหน้า
การหามุมรับภาพก่อนการออกไปถ่ายภาพ จะช่วยให้เราสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เราสามารถเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม และไม่ทำให้เสียเวลาในการเปลี่ยนอุปกรณ์ รายละเอียดสามารถศึกษาได้ตามลิงค์ https://goo.gl/ZCLMko
วัตถุที่สอง : กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy, M31)
เกร็ดความรู้
กาแล็กซีแอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านรูปก้นหอยคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่มีขนาดใหญ่กว่า อยู่ห่างออกไปราว 2.2 ล้านปีแสง ซึ่งมีกาแล็กซี M32 และ M110 (NGC 205) เป็นบริวาร ในทิศทางของกลุ่มดาวแอนโดรเมดาถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์พบว่า กาแล็กซีแอนโดรเมดามีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในกาแล็กซีของเรา กาแล็กซีแอนโดรเมดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นกาแล็กซีเป็นดวงเล็กๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของกาแล็กซีกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงเลยทีเดียว
ตำแหน่งของ กาแล็กซีแอนโดรเมดา
กาแล็กซีแอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีรูปก้นหอยคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก และมีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 3 องศา สามารถสังเกตเห็นผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก หากใครมีเลนส์ทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 200 mm. ขึ้นไปก็สามารถมองเห็นได้ โดยจะกฎคล้ายกับกลุ่มฝ้าขาว มัวๆ บนท้องฟ้า หากถ่ายภาพออกมาก็จะเห็นรายละเอียดต่างๆ ของกาแล็กซีได้ไม่ยากนัก
ตำแหน่งของกาแล็กซีแอนโดรเมดา M31 นั้น สามารถเริ่มต้นหาจากกลุ่มดาวม้าปีก โดยเราอาจจินตนากรจากบริเวณขาหลังขอม้า ตามภาพข้างต้น จากนั้นใช้ดาวสว่างเพื่อโยงหาตำแหน่งของกาแล็กซีได้ไม่ยาก ซึ่งหากใครพอมีกล้องส่องทางไกล หรือกล้องสองตา ก็สามารถนำมาใช้ในการค้นหาตำแหน่งได้เช่นกัน
สำหรับช่วงเวลาที่สามารถสังเกตเห็นกาแล็กซีได้ จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศเหนือ แต่จะกฎบนท้องฟ้าไม่เกินเที่ยงคืน ก็จะตกลับขอบฟ้าไป ดังนั้นหากใครจะถ่ายกาแล็กซีแอนโดรเมดา ต้องรีบถ่ายกันหน่อยหล่ะครับ
การหาขนาดมุมรับภาพ
วัตถุสุดท้าย : กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades, M45)
เกร็ดความรู้
กระจุกดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ 7 ดวงรวมกลุ่มกัน อยู่ในบริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) ถ้าหากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ดูจะพบว่ากระจุกดาวลูกไก่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนหลายร้อยดวง อยู่กันด้วยแรงโน้มถ่วงของกันและกัน และเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา กระจุกดาวลูกไก่กินอาณาบริเวณกว้างประมาณ 13 ปีแสง มีอายุราว 100 ล้านปี ห่างออกไปประมาณ 400 ปีแสง เนบิวลาที่พบในกระจุกดาวลูกไก่ มีแสงเรืองสีน้ำเงินเนื่องจาก สะท้อนแสงจากดวงดาวที่อยู่ใกล้เคียง จัดเป็นเนบิวลาประเภทสะท้อนแสง (Reflection Nebula)
ตำแหน่งของ กระจุกดาวลูกไก่
กระจุกดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในบริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) มีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 1.5 องศา สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย โดยปรากฏเป็น ดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ 7 ดวงรวมกลุ่มกัน ด้วยตาเปล่านั้นเราไม่สามารถมองเห็นเนบิวลาได้ ต้องอาศัยการถ่ายภาพมาเท่านั้น เนื่องจากเนบิวลาของกระจุกดาวลูกไก่เป็นเนบิวลาประเภทสะท้อนแสง (Reflection Nebula) ต้องอาศัยการสะท้อนแสงจากดวงดาวที่อยู่ใกล้เคียง
ดังนั้นการถ่ายภาพกระจุกดาวลูกไก่ ถือเป็นความท้าทายของนักถ่ายภาพที่จะต้องถ่ายภาพให้ได้เวลานานมากพอที่จะเก็บแสงของเนบิวลาเรืองแสงนี้ได้
สำหรับช่วงเวลาที่สามารถสังเกตเห็นกาแล็กซีได้ จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันออก และสามารถถ่ายได้เกือบตลอดทั้งคืน ดั้งนั้นหากต้องการฝึกฝนการถ่ายภาพ Deep Sky ทั้ง 3 วัตถุนี้ก็อาจเลือกกระจุกดาวลูกไก่เป็นวัตถุสุดท้ายในการถ่ายภาพได้เลยครับ
การหาขนาดมุมรับภาพ
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
สำหรับคอลัมน์นี้จะยังไม่กล่าวถึงการถ่ายภาพ Deep Sky ในแบบที่ Advance แต่จะแนะนำวัตถุเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ที่เหมาะกับการฝึกการถ่ายภาพประเภทนี้ โดยในช่วงต้นฤดูหนาวนี้ ซึ่งผู้เริ่มต้นถ่ายภาพประเภทนี้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางดาราศาสตร์ทางด้านการดูดาวเบื้องต้น เพื่อสามารถหาตำแหน่งวัตถุท้องฟ้าได้ถูกต้อง ทั้งยังต้องมีความรู้เรื่องการตั้งฐานกล้องแบบติดตามวัตถุท้องฟ้าร่วมด้วย เนื่องจากภาพถ่ายแต่ละภาพจำเป็นต้องใช้เวลาในการถ่ายภาพในแต่ละภาพนานหลายนาที และในขั้น Advance นั้นยังจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการโปรเซสภาพอีกด้วย
สำหรับการแนะนำเบื้องต้น จะขอนำเสนอ 3 วัตถุ หลักที่สามารถสังเกตได้ง่าย และมีความสว่างของวัตถุที่ถ่ายภาพได้ไม่ยากนัก ดังต่อไปนี้
วัตถุแรก : เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42 Orion Nebula)
เกร็ดความรู้
เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42 Orion Nebula) จัดเป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) เป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจน เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์ภายในเนบิวลา เนบิวลากลุ่มดาวนายพราน (ประกอบด้วย Orion Nebula: M42, Surrounding Nebula: M43 ,Running Man Nebula : NGC1977) ถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาที่สว่างที่สุด และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีการก่อตัวของดาวฤกษ์หรือดาวฤกษ์เกิดใหม่ภายในเนบิวลากลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ อยู่ไกลออกไป 1,500 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวนายพรานโอไรออน หรือกลุ่มดาวเต่าของไทย มีกระจุกดาวฤกษ์ 4 ดวง (Trapezium) อุณหภูมิสูงมากอยู่ภายในแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตกระตุ้นให้ก๊าซและฝุ่นเรืองแสงสว่างขึ้น
ตำแหน่งของ เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน
เนบิวลากลุ่มดาวนายพราน หรือที่รู้จักกันว่า M42 เป็นเนบิวลาประเภทเปล่งแสง (Emission nebula) ซึ่งเป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างในตัวเอง และมีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 1 องศา ซึ่งถือว่าใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวง (ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาด 0.5 องศา) ทำให้สามารถสังเกตเห็นผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก หากใครมีเลนส์ทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 200 mm. ขึ้นไปก็สามารถมองเห็นได้แล้ว
โดยตำแหน่งของเนบิวลา M42 นั้น สามารถเริ่มต้นหาจากกลุ่มดาวนายพราน จากนั้นสังเกตที่บริเวณเข็มขัดนายพราน หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามกลุ่มดาวไถ จากนั้นให้ลองสังเกตบริเวณดาบนายพราน ซึ่งจะมีดาวสว่างไม่มากนัก 3 ดวงเรียงกันอยู่ บริเวณดาวดวงตรงกลางคือตำแหน่งของเนบิวลา M42 นั่นเองครับ
นอกจากการรู้จักตำแหน่งของวัตถุแล้ว ช่วงเวลาที่วัตถุท้องฟ้าจะปรากฏก็เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพควรทราบล่วงหน้า โดยเนบิวลากลุ่มดาวนายพราน จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันออก
การหาขนาดมุมรับภาพล่วงหน้า
การหามุมรับภาพก่อนการออกไปถ่ายภาพ จะช่วยให้เราสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เราสามารถเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม และไม่ทำให้เสียเวลาในการเปลี่ยนอุปกรณ์ รายละเอียดสามารถศึกษาได้ตามลิงค์ https://goo.gl/ZCLMko
วัตถุที่สอง : กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy, M31)
เกร็ดความรู้
กาแล็กซีแอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านรูปก้นหอยคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่มีขนาดใหญ่กว่า อยู่ห่างออกไปราว 2.2 ล้านปีแสง ซึ่งมีกาแล็กซี M32 และ M110 (NGC 205) เป็นบริวาร ในทิศทางของกลุ่มดาวแอนโดรเมดาถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์พบว่า กาแล็กซีแอนโดรเมดามีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในกาแล็กซีของเรา กาแล็กซีแอนโดรเมดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นกาแล็กซีเป็นดวงเล็กๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของกาแล็กซีกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงเลยทีเดียว
ตำแหน่งของ กาแล็กซีแอนโดรเมดา
กาแล็กซีแอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีรูปก้นหอยคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก และมีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 3 องศา สามารถสังเกตเห็นผ่านเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก หากใครมีเลนส์ทางยาวโฟกัสตั้งแต่ 200 mm. ขึ้นไปก็สามารถมองเห็นได้ โดยจะกฎคล้ายกับกลุ่มฝ้าขาว มัวๆ บนท้องฟ้า หากถ่ายภาพออกมาก็จะเห็นรายละเอียดต่างๆ ของกาแล็กซีได้ไม่ยากนัก
ตำแหน่งของกาแล็กซีแอนโดรเมดา M31 นั้น สามารถเริ่มต้นหาจากกลุ่มดาวม้าปีก โดยเราอาจจินตนากรจากบริเวณขาหลังขอม้า ตามภาพข้างต้น จากนั้นใช้ดาวสว่างเพื่อโยงหาตำแหน่งของกาแล็กซีได้ไม่ยาก ซึ่งหากใครพอมีกล้องส่องทางไกล หรือกล้องสองตา ก็สามารถนำมาใช้ในการค้นหาตำแหน่งได้เช่นกัน
สำหรับช่วงเวลาที่สามารถสังเกตเห็นกาแล็กซีได้ จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศเหนือ แต่จะกฎบนท้องฟ้าไม่เกินเที่ยงคืน ก็จะตกลับขอบฟ้าไป ดังนั้นหากใครจะถ่ายกาแล็กซีแอนโดรเมดา ต้องรีบถ่ายกันหน่อยหล่ะครับ
การหาขนาดมุมรับภาพ
วัตถุสุดท้าย : กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades, M45)
เกร็ดความรู้
กระจุกดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ 7 ดวงรวมกลุ่มกัน อยู่ในบริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) ถ้าหากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ดูจะพบว่ากระจุกดาวลูกไก่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนหลายร้อยดวง อยู่กันด้วยแรงโน้มถ่วงของกันและกัน และเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา กระจุกดาวลูกไก่กินอาณาบริเวณกว้างประมาณ 13 ปีแสง มีอายุราว 100 ล้านปี ห่างออกไปประมาณ 400 ปีแสง เนบิวลาที่พบในกระจุกดาวลูกไก่ มีแสงเรืองสีน้ำเงินเนื่องจาก สะท้อนแสงจากดวงดาวที่อยู่ใกล้เคียง จัดเป็นเนบิวลาประเภทสะท้อนแสง (Reflection Nebula)
ตำแหน่งของ กระจุกดาวลูกไก่
กระจุกดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในบริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) มีขนาดปรากฏเชิงมุมบนท้องฟ้ากว่า 1.5 องศา สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย โดยปรากฏเป็น ดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ 7 ดวงรวมกลุ่มกัน ด้วยตาเปล่านั้นเราไม่สามารถมองเห็นเนบิวลาได้ ต้องอาศัยการถ่ายภาพมาเท่านั้น เนื่องจากเนบิวลาของกระจุกดาวลูกไก่เป็นเนบิวลาประเภทสะท้อนแสง (Reflection Nebula) ต้องอาศัยการสะท้อนแสงจากดวงดาวที่อยู่ใกล้เคียง
ดังนั้นการถ่ายภาพกระจุกดาวลูกไก่ ถือเป็นความท้าทายของนักถ่ายภาพที่จะต้องถ่ายภาพให้ได้เวลานานมากพอที่จะเก็บแสงของเนบิวลาเรืองแสงนี้ได้
สำหรับช่วงเวลาที่สามารถสังเกตเห็นกาแล็กซีได้ จะปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเดือนมกราคม ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันออก และสามารถถ่ายได้เกือบตลอดทั้งคืน ดั้งนั้นหากต้องการฝึกฝนการถ่ายภาพ Deep Sky ทั้ง 3 วัตถุนี้ก็อาจเลือกกระจุกดาวลูกไก่เป็นวัตถุสุดท้ายในการถ่ายภาพได้เลยครับ
การหาขนาดมุมรับภาพ
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน