xs
xsm
sm
md
lg

สุดยอด “กระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2016” ตัวแทนดวงอาทิตย์หมุนด้วยพลังงานลม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

กระถางคบเพลิงโอลิมปิก ริโอ 2016 ที่ใช้ก๊าซในปริมาณน้อย และเคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานลม ออกแบบโดย แอนโธนี โฮวี ศิลปินชาวเมริกัน (JAVIER SORIANO / AFP)
สร้างความตื่นตาไม่น้อยสำหรับ “กระถางคบเพลิงโอลิมปิก” ปี 2016 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ งานนี้ไม่เน้นใหญ่แต่อลังและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังส่งความไปทั่วโลกว่า “ลม” และ “แดด” คือพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน

กระถางคบเพลิงโอลิมปิกในริโอ 2016 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพนั้น ออกแบบโดย แอนโธนี โฮวี (Anthony Howe) ศิลปินอเมริกัน ซึ่งเป็นงานศิลปะวัตถุเคลื่อนไหว (kinetic sculpture) ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก (ริโอ 2016) ระบุว่า กระถางคบเพลิงดังกล่าวเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ และพลังงานลมที่หมุนให้กระถางมีการเคลื่อนไหว โดยวิสัยทัศน์ของศิลปินคือควรใช้แหล่งกำเนิดพลังงานหมุนเวียน 2 แหล่งนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง

แอนดรูชา แวดดิงตัน (Andrucha Waddington) ผู้ผลิตและกำกับภาพยนตร์ชาวบราซิล และเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการจัดงานโอลิมปิกที่กรุงริโอเดจาเนโร กล่าวว่า กระถางคบเพลิงโอลิมปิกในมหกรรมโอลิมปิกครั้งนี้เป็นแบบไฮบริดที่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ด้วยแรงลม และยังสะท้อนเปลวเพลิง ส่วนเพลิงจริงๆ นั้นใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในปริมาณที่น้อยมาก
 วานเดอร์เล โคเดโร เดอ ลิมา นักวิ่งมาราธอน ชาวบราซิล ระหว่างจุดกระถางคบเพลิงโอลิมปิก 2016 (Emmanuel DUNAND / AFP)
กระถางคบเพลิงโอลิมปิกที่แสดงสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ เคลื่อนไหวด้วยลม (Juan Mabromata / AFP)
กระถางคบเพลิงโอลิมปิกที่แสดงสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ เคลื่อนไหวด้วยลม (Juan Mabromata / AFP)
กระถางคบเพลิงโอลิมปิกที่แสดงสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ เคลื่อนไหวด้วยลม (Fabrice COFFRINI / AFP)
กระถางคบเพลิงโอลิมปิกอีกแห่งที่หน้าโบสถ์แคนเดอลาเรีย (Candelaria Church) ในกรุงริโอ จุดโดย จอร์จ อัลเบอร์โต โกเมส (Jorge Alberto Gomes) นักกรีฑาชาวบราซิลวัย 14 ปี (Mark RALSTON / AFP)









กำลังโหลดความคิดเห็น