xs
xsm
sm
md
lg

สกว.วอนหยุดวิจารณ์ "งานวิจัยขึ้นหิ้ง" พร้อมชูผลงานเด่นพร้อมขาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติการบนกระดาษสำหรับการตรวจวัดสารบ่งชี้ชีวภาพจากเลือด ผลงานการพัฒนาของ ดร.เต็มศิริ ทรงเจริญทและ ผศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ยกระดับการตรวจเลือดจากห้องปฏิบัติการให้สามารถรู้ผลได้บนกระดาษ ทำให้สามารถนำไปใช้ในภาคสนามหรือพื้นที่ห่างไกลได้ โดยพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดคือ กระดาษตรวจหมู่เลือดและกระดาษตรวจแยกสารในน้ำเลือด
สกว.มอบโล่ผลงานวิจัยเด่นปี' 57 พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์ อาทิ ยาสีฟันเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน-ไดโอดเรืองแสงโค้งงอ-กระดาษตรวจเลือดภาคสนาม-ถุงพลาสติกปลูกต้นไม้ย่อยสลายสมบูรณ์-ระบบนำส่งสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์ ด้าน ผอ.สกว.วอนคนไทยหยุดวิจารณ์งานวิจัยไทยมีแต่ขึ้นหิ้ง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2557 แก่ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 21 พ.ค.58 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพมหานคร

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผลงานวิจัยเด่นทั้งสิ้น 23 ผลงาน ซึ่งจำแนกตามแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ของ สกว.รวม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านสาธารณะ ด้านพาณิชย์ ด้านชุมชนและพื้นที่ และด้านวิชาการ

ตัวอย่างผลงานด้านนโยบายที่น่าสนใจ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยหลักการของประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดย รศ.ดร.กิติกร จามรดุสิต มหาวิทยาลัยมหิดล, การวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลวารสารวิชาการในประเทศและยกระดับวารสารไทยเข้าสํ่มาตรฐานสากล โดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผลงานด้านสาธารณะ อาทิ การวิจัยและพัฒนาเกราะป้องกันกระสุนปืนพกทุกขนาด โดย ผศ.ดร.ชัยณรงค์ ศรีกุลวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนให้มีน้ำหนักเบาลงและมีราคาถูกขึ้น โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเหล็ก เซรามิกส์และอะลูมิเนียมในประเทศเป็นหลักเพื่อนำมาใช้งานกับกองทัพไทย

ด้านพาณิชย์มีผลงานน่าสนใจ อาทิ การพัฒนาพลาสติกทางการเกษตรที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างสมบูรณ์ โดย ดร.อุทัย วิชัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้สังเคราะห์ตัวควบคุมการสลายของพลาสติก ให้เกิดการย่อยสลายเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดและไม่เป็นพิษต่อดิน และขณะนี้ผลิตใช้ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว, เทคโนโลยีการเคลือบสระกักเก็บน้ำด้วยน้ำยางเข้มข้นชนิดครีม โดย รศ.ดร.เจริญ นาคะสรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมุ่งพัฒนาน้ำยางชนิดครีมสำหรับรองก้นบ่อกักเก็บน้ำเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ขาดแคลนแหล่งน้ำมีน้ำใช้ตลอดปี อีกทั้งยังเป็นอีกกรรมวิธีที่ช่วยทำให้น้ำยางพารามีราคาที่สูงขึ้

ด้านชุมชนและพื้นที่มีผลงานน่าสนใจ อาทิ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจ.กระบี่ โดย ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนโดยชุมชนเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชนโบราณ เมืองบางขลัง จ.สุโขทัย และชุมชนนครชุม จ.กำแพงเพชร โดย ผศ.ดร.ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ส่วนด้านวิชาการมีผลงานน่าสนใจ อาทิ การพัฒนาไดโอดเรืองแสงสารอินทรีย์ โดย รศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งดัดแปลงโครงสร้างของธาตุที่พบในสารอินทรีย์ เช่น คาร์บอนมาพัฒนาให้เป็นไดโอดเรืองแสงคุณภาพสูงหลากสีสัน ประหยัดพลังงานและสามารถบิดงอได้ เป็นต้น, งานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่คลินิกเพื่อรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อเอดส์ โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พยายามศึกษาวิจัยเพื่อหาขนาดยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสมกับคนไทย เป็นต้น

ศ.นพ.สุทธิพันธ์กล่าวว่า คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้คัดเลือกผลงานที่ประสบผลสำเร็จเห็นผลชัดเจนและใช้ได้จริงระหว่างปี 2557 เป็นหลัก รวมไปถึงคุณภาพของวิธีการวิจัย ความถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนคุณประโยชน์ที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ เพราะ สกว.มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนงานวิจัยใช้ได้จริง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ไม่ใช่เพียงการทำวิจัยแต่ภายในห้องปฏิบัติการอย่างที่แล้วมา

"ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา สกว.ให้การสนับสนุนงานวิจัยมานับพันนับหมื่นเรื่อง แต่ในแต่ละปีจะมีงานวิจัยเพียงหนึ่งใน 100 ส่วนเท่านั้นที่จะถูกคัดเลือกให้ได้รับโล่เกียรติยศ สกว. ซึ่งในปี 2557 ที่ผ่านมา มีผลงานที่ได้รับการคัดเลือก 23 รางวัล และล้วนเป็นผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวงกว้าง บางผลงานยังถูกต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักวิจัยไทยเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาและประยุกต์งานวิจัยทางสาขาวิชาของตัวเอง จนเกิดเป็นนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะแก้ข้อครหาของประชาชนที่ว่า นักวิจัยไทยทำแต่งานวิจัยขึ้นหิ้งได้เป็นอย่างดี" ผู้อำนวยการ สกว.กล่าว และวอนคนไทยหยุดวิจารณ์งานวิจัยไทยมีแต่ขึ้นหิ้ง

บรรยากาศระหว่างพิธีมอบโล่รางวัลยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิจัยและผู้สนใจทั่วไปที่มาร่วมชมผลงานที่ทางนักวิจัยได้นำมาจัดแสดงด้วย นอกจากนี้ยังมีการติดต่อประสานงานระหว่างนักวิจัยและผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ที่สนใจนำงานวิจัยไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์อีกด้วย
พลาสติกปลูกต้นย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างสมบูรณ์ ผลงาน ดร,อุทัย วิชัย ม.นเรศวร ที่พัฒนากระบวนการผลิตสารย่อยสลายพลาสติกให้ย่อยสลายได้ภายในเวลา  1 เดือน และ 3 เดือน
งานวิจัยระบบนำส่งสารออกฤทธิ์สำคัญเพื่อผระโยชน์ทางการแพทย์และด้านสุขภาพ ผลงานจาก รศ.ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง คณะวิทยาศาสตร์  จุฬา ผู้พยายามพัฒนาระบบสารนำส่งออกฤทธิ์เพื่อให้สารสกัดจากขสิ้นชันและเปลือกมังคุดสามารถทำงานมุ่งเป้าไปทีีเซลล์เป้าหมายได้ประสิทธิภาพดีและคงระยะเวลาการปลดปล่อยสารได้นานขึ้น
ผศ.ดร.พิชญอร ไหมสุทธิสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หอการค้ากับผลงานผลิตภัณฑ์ยาสีฟันภาวะเหงือกอักเสบในผู้ป่วยเบาหวาน ที่เธอและคณะได้พัฒนาขึ้นจากสมุนไพร 12 ชนิดเพื่อแก้ปัญหาในช่องปากให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มักมีปัญหากลิ่นปากและโรคเหงือกแทรกซ้อน
เกราะป้องกันกระสุนปืนพกทุกขนาดและกระสุนปืนเล็กยาวที่เป็นอาวุธสงคราม ผลงาน ผศ.ดร.ชัยณรงค์  ศรีกุลวงศ์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
งานศึกษาวิจัยเพื่อหาขนาดยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสมกับคนไทย โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับนาในปริมาณที่เหมาะสมโดยไม่เปลืองงบประมาณของรัฐ
เทคโนโลยีการเคลือบสระกักเก็บน้ำด้วยน้ำยางเข้มข้นชนิดครีม โดย รศ.ดร.เจริญ นาคะสรรค์ ม.สงขลานครินทร์ ที่มุ่งพัฒนาน้ำยางชนิดครีมสำหรับรองก้นบ่อกักเก็บน้ำเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ขาดแคลนแหล่งน้ำมีน้ำใช้ตลอดปี อีกทั้งยังเป็นอีกกรรมวิธีที่ช่วยทำให้น้ำยางพารามีราคาที่สูงขึ้น
งานวิจัยขั้นสูงทางการไหลสองสถานะและการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน โดยศ.ดร.สมชาย วงษ์วิเศษ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการนโยบายสกว. เป็นประธานในการมอบโล่รางวัล






*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น