เมื่อต้นสัปดาห์เริ่มต้นเดือน พ.ย. ปรากฏการณ์ “หลุมเมฆ” ได้สร้างความฮือฮาแก่ชาวออสเตรเลียและโลกโซเชียลมีเดีย และนับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หายาก
ไมเคิล เอฟรอน (Michael Efron) จากกรมอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย ให้ความเห็นแก่เว็บไซต์เทคไทม์สถึงปรากฏการณ์เมฆรูปทรงประหลาดที่คล้ายเกิดรูกลางเมฆและมีแสงรุ้งพาดผ่านเหนือท้องฟ้าเมืองวิคตอเรีย ออสเตรเลียเมื่อต้นสัปดาห์นั้น น่าจะเป็นปรากฏการณ์หลุมเมฆ “ฟอลสตรีค” (fallstreak cloud) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำในเมฆต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แต่ยังไม่แข็งตัวเนื่องจากไม่มีอนุภาคแกนกลาง ทำให้เมื่อน้ำเริ่มแข็งตัวก็ตกลงมาแล้วทิ้งรูโหว่ไว้ แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ยังเกิดขึ้นได้เมื่อมีเครื่องบินผ่านบริเวณดังกล่าว
ทางด้านเนชันแนลจีโอกราฟิกอธิบายว่า ปกติละอองน้ำในบรรยากาศจะยึดติดกับอนุภาคแกนกลางเพื่อก่อตัวเป็นผลึกน้ำแข็งหรือหิมะ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ขนาดใหญ่ระหว่างเกิดพายุหิมะ แต่ในกรณีที่ไม่มีอนุภาคยึดละอองน้ำจะกลายเป็นผลึกน้ำแข็งได้เมื่ออุณหภูมิลดลงเหลือราวๆ -40 องศาเซลเซียส และปรากฏการณ์เมฆหลุมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์ขนาดย่อย
@JohnMoralesNBC6 how does this form? pic.twitter.com/j0hgNz87V7
— Jose Morales (@JOSE97LUIS) November 4, 2014
What's going on over Wonthaggi? pic.twitter.com/UZQXkvdgb2
— Cameron Thornton (@cammo_t) November 3, 2014
@3AW693 @ABCNews24 @MikeLarkan any idea what was going on in the sky over wonthaggi this afternoon? pic.twitter.com/jOFb7gpgan
— Tim Smith (@TimSmithYV) November 3, 2014