"ปลาใหญ่กินปาเล็ก" เป็นกฎธรรมชาติที่เรารู้ดี แต่เราอาจไม่ค่อยได้เห็นปลาใหญ่อย่างฉลามถูกกินโดยปลาที่ใหญ่กว่าอย่างฉลามอีกตัว ซึ่งในจังหวะที่นักวิทยาศาสตร์กำลังล่อฉลามเพื่อติดสัญญาณติดตามนั้น พวกเขาก็ได้เจอชอตอันน่าทึ่งนี้
ภาพฉลามเสือทราย (sand tiger shark) ฮุบเหยื่อซึ่งเป็นฉลามหนู (smooth dogfish) นี้ บันทึกได้โดยทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการชีวภูมิศาสตร์ด้านการสำรวจมหาสมุทรด้วยการควบคุมระยะไกล ของมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ (University of Delaware) สหรัฐฯ
ไลฟ์ไซน์รายงานว่าทีมนักวิทยาศาตร์จากห้องปฎิบัติการดังกล่าว มีกำหนดออกจับฉลามเสือทรายที่ได้รับการติดแท็กติดตามผ่านดาวเทียมอีกรอบ และติดแท็กใหม่ในกรณีที่แท็กติดตามหลุดก่อนกำหนด
เพื่อจับฉลามเสือทรายหรือ คาร์ชาไรแอส ทอรัส (Carcharias taurus) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหารและดุร้ายนั้น นักวิจัยได้ใช้ปลาเมนฮาเดน (menhaden) ปลาทะเลทั่วไปเป็นเหยื่อล่อ ทว่าฉลามหนูหรือ มูเตลัส คานิส(Mustelus canis) มาฮุบเหยื่อไปก่อน
โชคร้ายที่หลังจากฮุบเหยื่อไม่นานฉลามเสือทรายที่ตัวใหญ่กว่าหลายเท่าก็ฮุบฉลามหนูไปทั้งตัว โดยฉลามตัวนั้นเป็นฉลามตัวเมียที่กำลังหิวโซ และหลังจากนักวิทยาศาสตร์ติดแท็กติดตามแล้วก็ปล่อยฉลามเสือทราย* กลับลงทะเล
ทีมวิจัยเขียนเล่าในเฟซบุ๊กว่าฉลามหนูที่ตัวดังกล่าวยาวประมาณ 1 เมตร ถูกกลืนไปทั้งตัวโดยฉลามเสือทราย* ซึ่งเรียกกันว่าฉลามฟันเลื่อยจากลักษณะฟัน 3 แถวที่เรียงยื่นออกมา ที่ใช้ในการกัดกินเหยื่ออย่างกุ้งมังกร ปลากระเบน หมึกกล้วยและปลาเล็กปลาน้อย
อย่างไรก็ตาม แม้ฉลามเสือทรายจะมีพฤติกรรมที่ดูน่ากลัว แต่ก็ไม่แสดงความก้าวร้าวต่อมนุษย์ และมักเป็นถูกเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เนื่องจากขนาดที่โตได้ถึง 3 เมตร และความสำเร็จในการผสมพันธุ์ในที่กักขัง นอกจากนี้ฉลามยังฝึกเป็นนักล่าตั้งแต่ในท้อง ด้วยการกัดกินพี่น้องกันเองขณะยังเป็นตัวอ่อน
*Edited