xs
xsm
sm
md
lg

ฟ้องด้วยภาพ “นกแต้วแร้วท้องดำ” ขาดตัวผู้ ต้องจับคู่ข้ามสปีชีส์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นกแต้วแร้วท้องดำตัวเมีย (ซ้าย) จับคู่ผสมพันธุ์กับนกแต้วแร้วลายตัวผู้ (ขวา)
“สาวน้อย ร้อยชั่ง” ช่างภาพนกชื่อดังเผยภาพ “นกแต้วแร้วท้องดำ” ตัวเมียขาดแคลนตัวผู้ จนต้องจับคู่กับ “นกแต้วแร้วลาย” สายพันธุ์ใกล้เคียง ห่วงสัตว์ป่าสงวนชนิดนี้จะสูญพันธุ์

คณิต คณีกุล สถาปนิกผู้ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก เผยแพร่ภาพการจับคู่ผสมพันธุ์ของนกแต้วแร้วท้องดำตัวเมีย กับนกแต้วแร้วลายตัวผู้ พร้อมเผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ไม่พบนกแต้วแร้วท้องดำตัวผู้ในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เขาประ-บางคราม จ.กระบี่ หรือเขานอจู้จี้มาเกือบ 1 ปีแล้ว ทำให้นกแต้วแร้วท้องดำที่เป็นสัตว์ป่าสงวนต้องหันไปจับคู่กับสายพันธุ์ใกล้เคียง

เขาให้สัมภาษณ์แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ได้ลงไปถ่ายภาพนกที่เขานอจู้จี้ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ และได้ทราบจากไกด์ท้องถิ่นว่า ไม่พบนกแต้วแร้วท้องตัวผู้มาตั้งแต่เดือน พ.ค.55 กระทั่งเขาสามารถบันทึกภาพการจับคู่ของนกแต้วแร้วทั้งสองชนิดได้ ซึ่งการผสมข้ามสายพันธุ์นี้ไม่น่าห่วง แต่เกรงว่าหากไม่เหลือนกตัวผู้ให้ขยายพันธุ์ จึงห่วงว่าจะมีโอกาสสูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ 
 
ทั้งนี้ เขายังให้ข้อมูลด้วยว่าเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบนกแต้วแร้วทองดำในพื้นที่ดังกล่าว และมีงานวิจัยจากภาครัฐลงไปเก็บข้อมูลแล้วพบรังนกจึงทำการ “เต้ารัง” หรือเก็บเอาไข่ในรังเพาะเลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูตามธรรมชาติเข้าไปทำอันตราย แต่การกระทำดังกล่าวเป็นความลับและไม่การเปิดเผย แต่ปรากฏว่าลูกนกที่ฟักออกมาเป็นตัวผู้ และมีข้อมูลจากชาวบ้านว่าทีมวิจัยขอให้ช่วยหานักแต้วแร้วทองดำตัวเมียไปให้ ซึ่งยังไม่ทราบว่านำไปแล้วหรือไม่

คณิตหรือฉายา “สาวน้อย ร้อยชั่ง” กล่าวว่า มีการการกล่าวว่าคนในธุรกิจท่องเที่ยวเสียประโยชน์จากการวิจัย แต่เขาแย้งว่า หากไม่มีธุรกิจนี้นกแต้วแร้วท้องดำอาจสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว และยังติงด้วยว่านักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ที่ลงพื้นที่ไม่สนใจข้อมูลงานวิจัยเก่าๆ เช่น เคย มีงานวิจัยเกี่ยวกับการป้อนเหยื่อของนก แต่นักวิจัยใหม่ๆ ก็ทิ้งข้อมูลเหล่านั้นไป ไม่นำมาศึกษาด้วย พร้อมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยงานวิจัยด้วย

“การวิจัยนกชนิดนี้ควรวิจัยในนกที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงก่อน วิจัยในนกแต้วแร้วลาย ซึ่งมีอยู่เยอะและไม่ใช่สัตว์ป่าสงวนก่อนก็ได้ และนกแต้วแร้วท้องดำนี้มีความเปรอะบางสูงมา การนำไปเพาะเลยจึงมีความเสี่ยงสูงมาก” คณิตให้ความเห็น

อย่างไรก็ดี หากมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมหรือข้อมูลอีกด้านทีมข่าววิทยาศาสตร์จะรายงานให้ทราบต่อไป 

 
นกแต้วแร้วลายตัวผู้
 นกแต้วแร้วท้องดำตัวเมีย (แก้ไขภาพ)






กำลังโหลดความคิดเห็น