xs
xsm
sm
md
lg

ชม “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” จากมุมมองในอวกาศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพขณะดาวศุกร์กำลังจะผ่านหน้าดวงอาทิตย์บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิค (Solar Dynamics Observatory) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 (นาซา/สเปซด็อทคอม)
นอกจากการการสังเกต “ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” จากบนพื้นโลกแล้ว สูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศยังสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษซึ่งเกิดในวันที่ 6 มิ.ย. 55 นี้ได้ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศสามารถบันทึกภาพปรากฏการณ์ครั้งนี้ไว้ได้

สำหรับปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยจะเกิดขึ้นเพียง 4 ครั้งในรอบ 243 ปี โดยมีรอบการเกิดปรากฏการณ์เป็นคู่ แต่ละคู่จะห่างกัน 121.5 (+/- 8) ปี (และแต่ละครั้งใน 1 คู่นั้นจะเกิดห่างกัน 8 ปี) หากครั้งแรกของคู่แรกเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่หลัง 129.5 ปี ครั้งแรกของคู่หลังจากห่างจากครั้งแรกของรอบถัดไป 113.5 ปี

ตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งแรกของคู่วันที่ 6 มิ.ย. 55 นี้ คือ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47 ซึ่งเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่ก่อนหน้าในปี 9 ธ.ค. 2417 เป็นเวลา 129.5 ปี และห่างจากครั้งแรกของคู่ถัดไปซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธ.ค. 2660 เป็นเวลา 113.5 ปี ส่วนอีกครั้งถัดไปหลังจากนั้นจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค. 2668

สำหรับปรากฏการณ์ในวันที่ 6 มิ.ย. 55 คนไทยสามารถรับชมปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์พ้นขอบฟ้าจนถึงเวลา 11.49 น.
ภาพขณะดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์มาถึงครึ่งปรากฏการณ์ บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิค (Solar Dynamics Observatory) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 (นาซา)
ภาพขณะดาวศุกร์ใกล้จะผ่านหน้าดวงอาทิตย์ บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิค (Solar Dynamics Observatory) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 (นาซา)
ภาพขณะดาวศุกร์เริ่มผ่านหน้าดวงอาทิตย์ บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิค (Solar Dynamics Observatory) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 (นาซา)
ภาพสัมผัสแรกของดาวศุกร์ก่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิค (Solar Dynamic Observatory) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
กำลังโหลดความคิดเห็น