xs
xsm
sm
md
lg

จับมือองค์กรเครื่องเร่งอนุภาคญี่ปุ่นยกระดับงานวิจัยไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ขนาดเครื่องมือวิจัยในโครงการเบลล์เมื่อเทียบกับขนาดคน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ - ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ส่งหัวหน้ากลุ่มวิจัยฟิสิกส์พลังงานสูงเข้าร่วมโครงการวิจัยองค์กรเครื่องเร่งอนุภาคของญี่ปุ่น พร้อมรับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ชี้เป็นโอกาสขยายความร่วมมือฟิสิกส์กับประเทศในกลุ่มอาเซียน และยกระดับงานวิจัยไทย

ศ.เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ แจ้งข่าวมายังทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ว่า ผศ.ดร.อุดมรัตน์ ทิพวรรณ หัวหน้ากลุ่มวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ไปร่วมโครงการวิจัยเบลล์ 2 ขององค์กรวิจัยเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง หรือ เคอีเค (KEK) ณ เมืองสึคึบะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 14 มี.ค.55 ที่ผ่านมา และยังได้ทดลองในระบบหัววัดดริฟท์แชมเบอร์ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 ระบบหัววัดหลักของเบลล์

ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคของเคอีเคใช้เร่งอิเล็กตรอนและโพสิตรอน (ปฏิอนุภาคของอิเล็กตรอน) จนมีความเร็วเกือบเท่าแสง แล้วบีบบังคับให้มาชนันเพื่อสร้างคู่อนุภาค “บีมีซอน” และปฏิอนุภาคของบีมีซอน และภายในเวลาสั้นกว่าเสี้ยววินาทีก็จะสลายตัวเป็นอนุภาคมูลฐานอื่นๆ ซึ่งจากการทดลองวัดการสลายตัวแบบต่างๆ ที่มีลักษณธเป็นปฏิสมมาตรนั้นจะเป็นหนทางไปสู่คำตอบว่า “เหตุเอกภพจึงมีมวลสารในสัดส่วนที่มากกว่าปฏิมวลสาร

“ผลสำเร็จของการทำวิจัยร่วมกับเคอีเคในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางด้านฟิสิกส์อนุภาคและฟิสิก์พลังงานสูงของประเทศไทยไปสู่ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เคอีเคเป็นองค์กรวิจัยคล้ายกับองค์กรความร่วมมือวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปหรือเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยระดับโลกของสภาพยุโรป” รายงานข่าวจากศูนย์ความเป็นเลิศฟิสิกส์ระบุ

นอกจากนั้น อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของไทยยังได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับโลก และยังเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้ขยายความร่วมมือด้านฟิสิกส์กับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียและเวียดนาม ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเบลล์ 2 อยู่แล้ว ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้ศูนย์ความเป็นเลิศทางฟิสิกส์ถือว่าเป็นการยกระดับการวิจัยเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ฟิสิกส์อนุภาคและฟิสิกส์พลังงานสูงของไทย

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เป้นผลจากการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการของ ศ.เกียรติคถุณ ดร.ถิรพัฒน์ กับทางเคอีเค ญี่ปุ่น เมื่อเดือน พ.ย. 54 ที่ผ่านมา และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการระหว่างกันเมื่อ 22 ธ.ค.54 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เครื่องอนุภาคภายในโครงดารเบลล์ 2 ของเคอีเค
กำลังโหลดความคิดเห็น