xs
xsm
sm
md
lg

ไม่ต้องเรียน “ฮอกวอตส์” ก็ขี่ไม้กวาดลอยตัวได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ไม่น่าเชื่อว่า “กระจก” จะเป็นเครื่องมือทำให้เกิดภาพมายาได้ไม่รู้จบ ตั้งแต่ภาพลวงตาทำให้เราขี่ไม้กวาดเหาะได้ เสกคนให้เหลือแต่ศีรษะ รวมทั้งรูปร่างแปลกๆ ทั้งยืดขยายและหดสั้น รวมทั้งกระจกในห้องชี้ตัวที่ซ่อนใบหน้าเหยื่อจากผู้ร้าย ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ออนไลน์ จะพาไปชมอีกนิทรรศการเก๋ๆ ในงาน “มหกรรมวิทย์”

นิทรรศการภาพสะท้อน (Reflection Exhibition) ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554 ใช้กระจกชนิดต่างๆ มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้เล่นกับหลักการ “สะท้อนแสง” ซึ่งทำให้เกิดภาพแปลกตาหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ภาพสะท้อน (Reflection) เป็นภาพที่เรามองเห็นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาสู่สายตาเรา แต่ภาพนั้นก็มีบิดเบือนหรือกลายเป็นภาพลวงตาได้
อาศัยหลักการสะท้อนแสงจากกระจกเงาด้านล่าง ทำให้คล้ายว่าผู้หญิงในภาพกำลังขี่ไม้กวาดเหาะ
กระจกเว้าทำให้เห็นภาพหัวกลับและมีขนาดเล็กลง เพราะทำให้แสงตกกระทบไปรวมกันที่จุดๆ หนึ่ง ทำให้เห็นภาพกลับหัว
ภาพจากกระโค้งเว้า (กระจกกลาง) ทำให้ภาพตัวคนยืดสูงขึ้น และภาพกระจกโค้งนูน (กระจกขวา) ทำให้ภาพตัวคนผอมลง
ภาพสะท้อนไม่รู้จบจากกระจกเงา 2 บ้านที่วางขนานกัน หรือทำมุมต่อกัน  180 องศา
กระจกในห้องชี้ตัวผู้ต้องหา มีคุณสมบัติกรองแสง เนื่องจากนำไปเคลือบแผ่นฟิล์มโลหะอะลูมิเนียม หรือฟิล์มฉาบปรอท ซึ่งผู้ยืนอยู่หน้ากระจกฝั่งที่เปิดไฟสว่างจะมองไม่เห็นผู้ที่อยู่อีกด้านที่ไม่ได้เปิดไฟสว่าง แต่หากเปิดไฟทั้ง 2 ฝั่ง ผู้ยืนทั้งสองด้านจะมองเห็นกันและกัน
ศีรษะลอยได้! เิกิดจากเทคนิคสะท้อนภาพโดยนำกระจก 2 บานมาประกบตั้งฉากกันเพื่อให้สะท้อนฉากพื้นเบื้องหน้า และมีพื้นที่ให้เอาตัวเข้าไปนั่งอยู่ระหว่างกระจก 2 บานได้
นอกจากภาพจากกระจกซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์แล้ว สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติก็มีสีสันอันสวยงามจากลักษณะภายนอกที่สะท้อนแสงในรูปแบบต่างๆ ได้
แมลงทับ มีสีสันสวยงามจากลักษณะพื้นผิวไม่เรียบ มีขนเล็กๆ สันนูนหรือหลุมที่ทำให้แสงตกกระทบและสะท้อนแสงออกมา
งูแสงอาทิตย์ (Sunbeam Snake) เป็นงูไม่มีพิษ เมื่ออยู่ในที่มืดมีสีดำ แต่เมื่อต้องแสงอาทิตย์จะสะท้อนเป็นสีรุ้ง
สำหรับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-21 ส.ค.54 เวลา 09.00-20.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยการเดินทางตลอดทั้งงานมีรถรับส่งฟรีจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อ่อนนุช ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. และในวันที่ 12 ส.ค.เป็นต้น สามารถเดินทางเข้าร่วมงานโดยลงรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางนา สอบถามเส้นทางเพิ่มเติม ติดต่อ ไบเทค โทร.0-2749-3939 และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร.0-2577-9960 หรือ www.nsm.or.th




อ่านเพิ่มเติม
- วางแผนเที่ยวมหกรรมวิทย์ '54
กำลังโหลดความคิดเห็น