xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหมว่า … นับเดือนดวงจันทร์มีตั้ง 4 แบบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดวงจันทร์ขณะผ่านหน้าดวงอาทิตย์ บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิกส์ (NASA)
แม้ปฏิทินหลักของมนุษย์โลกส่วนใหญ่ จะยึดถือตามแบบ “สุริยคติ” ที่นับเดือนตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แต่เราก็จะยังพอคุ้นเคยกับการนับวันแบบ “ข้างขึ้น-ข้างแรม” โดยอาศัยช่วงที่ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ “จันทรคติ”

ที่จริงแล้ว ผู้คนตั้งแต่สมัยโบราณมีการนับเดือนแบบ “จันทรคติ” ถึง 4 แบบด้วยกัน

1. เดือนจุดใกล้ (Anomalistic) เป็นการนับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยใช้จุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด (perigee) ไปถึงช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาที่สุดครั้งถัดไป ซึ่งมีระยะเวลา 27 วัน 13 ชั่วโมง 18 นาที และ 37.4 วินาที

2. เดือนราหู (Nodical) เป็นระยะเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการเคลื่อนที่จากโหนด (node) หรือจุดที่มีการตัดของวงโคจรหนึ่งไปยังอีกวงโคจรหนึ่ง กลับมายังโหนดเดิม ซึ่งมีระยะเวลา 27 วัน 5 ชั่วโมง 5 นาที และ 35.9 วินาที

3. เดือนดาราคติ (Sidereal) เป็นระยะเวลาที่ดวงจันทร์ใช้โคจรรอบโลก โดยอาศัยดวงดาวประจำที่เป็นจุดอ้างอิง ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที และ 11.5 วินาที

4. เดือนดิถี (Synodical) เป็นการนับวันโดยอาศัยดวงอาทิตย์เป็นจุดอ้างอิง คือระหว่างที่ดวงจันทร์ค่อยๆ เปลี่ยนจากเดือนมืดกลับสู่เดือนมืดอีกครั้ง ซึ่งมีระยะเวลา 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที 2.7 วินาที ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นเคยว่า เดือนจันทรคติ.
กำลังโหลดความคิดเห็น