xs
xsm
sm
md
lg

ตามไปดู "วงแหวนดวงตะวัน" แห่งสหัสวรรษ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"วงแหวนแห่งดวงตะวัน" ในวัน "สุริยุปราคาวงแหวน" 15 ม.ค. 53 สุดงดงาม แม้คนไทยจะไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง แต่เราตามไปดูภาพที่นักดาราศาสตร์จากประเทศต่างๆ บันทึกไว้กัน รวมทั้งทีมนักดาราศาสตร์ไทยที่ไปร่วมสังเกตการณ์สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ที่ตอนใต้ของประเทศจีนด้วย

ทั้งนี้ สุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดขึ้นในวันที่ 15 ม.ค. นี้ นับเป็นครั้งที่เกิดวงแหวนยาวนานที่สุดในสหัสวรรษ หรือในรอบพันปี โดยแนวคราสวงแหวนเริ่มต้นขึ้นในทวีปแอฟริกา ผ่านเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย และผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ทางตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในมหาสมุทรอินเดีย ที่ตำแหน่งละติจูด 1 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 69 องศา 17 ลิปดาตะวันออก เป็นตำแหน่งที่เกิดสุริยุปราคานานที่สุด คือ 11 นาที 8 วินาที



ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 16.41 น. ขณะที่เงาดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบดบังดวงอาทิตย์จนเกือบจะกลายเป็นวงแหวนในอีกไม่กี่นาทีถัดจากนี้ บันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่เดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนทาง ณ เมืองต้าหลี่ ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน





ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 16.45 น. ซึ่งเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่สมบูรณ์แบบ บันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่เดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาวงแหวน ณ เมืองต้าหลี่ ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน





ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 16.48 น. ขณะที่เงาดวงจันทร์ค่อยๆ เคลื่อนออกจากการบดบังดวงอาทิตย์ หลังสิ้นสุดการเกิดวงแหวนเมื่อไม่กี่นาทีก่อนหน้า บันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่เดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาวงแหวน ณ เมืองต้าหลี่ ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน





ภาพเงาของสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อเวลา 16.46 น. ซึ่งลอดผ่านจากช่องว่างระหว่างใบไม้ของต้นไม้ใหญ่ และตกกระทบลงบนพื้นเบื้องล่าง บันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่เดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาวงแหวน ณ เมืองต้าหลี่ ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน




สองหนุ่มชาวจีน นั่งชมความงามของสุริยุปราคาวงแหวนในเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน (รอยเตอร์)





วงแหวนแห่งดวงตะวัน เหนือท้องฟ้าเมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่เกิดวงแหวนยาวนานที่สุดในสหัสวรรษนี้ (รอยเตอร์)





สุริยุปราคาวงแหวนที่มองจากท้องฟ้าเมืองเหลียนหยุนกั่ง มณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน (รอยเตอร์)





สุริยุปราคาวงแหวนเหนือเกาะราเมศวรัม (Rameshwaram island) ประเทศอินเดีย (เอเอฟพี)

กำลังโหลดความคิดเห็น